อาหารภาคเหนือ




อาหารภาคเหนือ ขนมจีนน้ำเงี้ยว




เครื่องปรุง
ซี่โครงหมู ตัดเป็นชิ้น 1x1 นิ้ว (ต้มให้นุ่ม) 1/2 กิโลกรัม
เลือดหมู หั่นสี่เหลี่ยม 1/2x1/2 นิ้ว 1/2 กิโลกรัม
มะเขือเทศลูกเล็ก ผ่าครึ่ง 1/2 กิโลกรัม เ
กลือ 2 ช้อนโต๊ะ
น้ำมันพืช 2 ช้อนโต๊ะ
น้ำซุป (น้ำต้มกระดูกหมู กรองเอาเฉพาะน้ำ) 6 ถ้วย
เครื่องแกง พริกแห้ง 7 เม็ด
รากผักชีหั่นฝอย 1 ช้อนชา
ข่าหั่นละเอียด 1 ช้อนชา
ตะไคร้ซอย 2 ช้อนชา
กะปิ 2 ช้อนชา
หอมแดง 7 หัว
กระเทียม 3 หัว
วิธีทำ
1 โขลกเครื่องแกงให้ละเอียด นำลงผัดในน้ำมันพืช พอหอม ใส่หมูสับ
2 เทลงในหม้อน้ำต้มกระดูกหมู ใส่ซี่โครงหมู แล้วใส่เลือดหมู และมะเขือเทศ
3 ปรุงรสด้วยเกลือ พอเดือดอีกครั้ง ยกลง เสร็จขั้นตอนทำน้ำเงี้ยว
4 จัดขนมจีนใส่จานพร้อมเครื่องเคียง ราดด้วยน้ำเงี้ยวที่ทำไว้ รับประทานกับแคบหมู ผักกาดดอง ถั่วงอก ต้นหอม ผักชี พริกทอด กระเทียมเจียว




อาหารภาคเหนือ (ไส้อั่ว)




เครื่องปรุง
1.หมูสันคอบดละเอียด 1 กิโลกรัม
2.ไส้หมู (ไส้เล็ก ล้างสะอาด) 1/3 กิโลกรัม
เครื่องแกง
1.พริกแห้ง 5 เม็ด
2.รากผักชี 2 ช้อนโต๊ะ
3.ผิวมะกรูดหั่นละเอียด 1 ช้อนชา
4.ใบมะกรูดหั่นฝอย 2 ช้อนโต๊ะ
5.ตะไคร้หั่นฝอย 3 ช้อนโต๊ะ
6.หอมแดง 5 หัว
7.กระเทียม 2 หัว
8.กะปิ 2 ช้อนชา
9.เกลือ 1 ช้อนชา
วิธีทำ
1 โขลกเครื่องแกงทั้งหมดให้ละเอียด
2 ผสมเนื้อหมูที่บดไว้ กับเครื่องแกงให้เข้ากัน ใส่ใบมะกรูดเคล้าให้ทั่ว
3 บรรจุใส่ในไส่ อย่าให้แน่นนัก มัดเป็นท่อนๆ
4 นำไปทอดหรือปิ้งให้สุก อาจนำหมูที่ผสมแล้ว ปั้นเป็นก้อนแล้วทอด โดยไม่บรรจุในไส้ก็ได้
อ้างอิง http://suppalak-am.blogspot.com/2008/02/blog-post_8179.html







อาหารภาคเหนือน้ำพริกหนุ่ม
เครื่องปรุง
พริกสด ๗ เม็ด ปลาร้าสับ ๑ ช้อนโต๊ะ หัวหอม กระเทียม ๑ หัว กะปิครึ่งช้อนโต๊ะ เกลือ ๑/๔ ช้อนโต๊ะ
>> วิธีทำ
ต้มปลาร้า กะปิใส่น้ำเล็กน้อย นำพริกสด หัวหอม กระเทียมไปเผาให้สุก แกะเปลือกออก นำมาตำในครกพร้อมกับเกลือและกะปิ ตำให้ละเอียด ใส่น้ำปลาร้าพอขลุกขลิกแล้วชิมรสหากชอบรสเปรี้ยวก็เอามะเขือเทศลูกขนาดกลางสัก ๒ ลูก ย่างไฟให้สุกปอกเปลือกออกทิ้ง บดรวมกันกับเครื่องปรุงที่โขลกแล้ว เติมน้ำปลาร้าทีหลัง น้ำพริกหนุ่มถือเป็นอาหารพื้นบ้านที่มีวิธีง่าย ๆ และใช้ส่วนประกอบที่มีราคาถูกและหาได้ง่าย นิยมกินผักต่าง ๆ เช่น ถั่วผักยาว ผักกาด กะหล่ำปลี มะเขือ ทั้งอาจลวกหรือกินสดก็ได้





น้ำพริกอ่อง


น้ำพริกอ่อง
น้ำพริกอ่องเป็นอาหารภาคเหนือที่คนทั่วไปติดใจในรสชาติเช่นเดียวกับอาหารชนิดอื่น การปรุงน้ำพริกอ่องนี้
จะต่างไปจากน้ำพริกทั่วไป คือ น้ำพริกอ่องจะมีหมูสับเป็นส่วนประกอบคล้ายกับน้ำพริกมะขามหรือน้ำพริก
ลงเรือของภาคกลาง การปรุงน้ำพริกอ่องจะไม่ใช้น้ำตาล รสหวานจะได้จากความหวานของมะเขือเทศ ส่วนรส
เปรี้ยวนั้นได้จากมะเขือส้ม คือมะเขือเทศผลเล็กชนิดพวง ซึ่งจะมีรสเปรี้ยวกว่ามะเขือเทศโดยทั่วไป นอกจากนั้น
จะใช้ถั่วเน่า คือ ถั่วเหลืองที่เอามาหมักแล้วทำเป็นแผ่นตากแดดให้แห้งใช้แทนกะปิ หรือถ้าไม่มีถั่วเน่าก็จะใช้กะปิ 1
ช้อนชาแทน หรือใช้เต้าเจี้ยวดำสัก 3 ช้อนโต๊ะ ล้างน้ำให้หายเค็มแทนก็ได้เช่นกัน



http://61.19.145.8/student/web42106/512/512-0607/namprikaong.html
http://pirun.ku.ac.th/~b5043105/page2.html
http://beaubiw.blogspot.com/2009/07/1.html

การแต่งกายของคนภาคเหนือ


วัฒนธรรมการแต่งกายของชนภูเขาเผ่าลีซอ




การแต่งกาย
ลักษณะการแต่งกายของหญิงลีซอมีความโดดเด่นมาก ตั้งแต่ผ้าโพกหัว ที่เป็นทรงป้านกลม ตกแต่งด้วยลูกปัดและพู่ประดับหลากสี เวลาสวมใส่จะส่งให้ใบหน้าของผู้หญิงดูโดดเด่น สวยงาม เสื้อตัวยาวตัดเย็บด้วยผ้าสีสดใสตกแต่งด้วยริ้วผ้าเล็กๆ สลับสี สวมทับ กางเกงขายาว ครึ่งน่องสีดำ มีผ้าคาดเอวที่เมื่อคาดแล้วจะทิ้งชายไปทางด้านหลังเป็นพู่หางม้า ทำจากผ้าหลากสีเย็บเป็นไส้ไก่เส้นเล็กๆ จำนวนกว่า 100 เส้นขึ้นไปเมื่อเคลื่อนไหว พู่จะกวักแกว่งไปด้วยดูน่ารักสวยงามมากและสวมสนับแข้งสีสด
หญิงสาวและหญิงสูงอายุแต่งกายคล้ายกันต่างกันเฉพาะการใช้สี ซึ่งในกลุ่มหญิงสูงอายุจะใช้สีขรึมเข้มกว่า และผ้าโพกหัวก็ใช้ผ้าสีดำโพกพันไว้ ไม่มีลูกปัดและพู่ประดับ
ผู้ชายสวมกางเกงสีสด และสาวเสื้อสีดำตกแต่งด้วยเม็ดเงินคาดเอว ประดับด้วยพู่หางม้าทำจากผ้าเย็บเป็นไส้ไก่สลับสี เวลาคาดเอวจะทิ้งชายลงมาทางด้านหน้า เด็กๆ ยังคงสวมใส่ชุดประจำเผ่าให้เห็นโดยทั่วไป
ผ้าหม้อฮ่อม

หม้อฮ่อม เป็นคำในภาษาพื้นเมืองเหนือมาจากการรวมคำ 2 คำคือคำว่า “หม้อ” และคำว่า “ฮ่อม” เข้าไว้ด้วยกัน โดยหม้อเป็นภาชนะอย่างหนึ่งที่ใช้ในการบรรจุน้ำหรือของเหลวต่างๆ มีทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ส่วนฮ่อมนั้นเป็นพืชล้มลุกชนิดหนึ่ง ที่ชาวบ้านนำเอาลำต้นและใบมาหมักในน้ำตามกรรมวิธีที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ จะให้น้ำเป็นสีกรมท่า และได้สีที่จะนำมาใช้ในการย้อมผ้าขาว ให้เป็นสีกรมท่าที่เรียกกันว่า “ผ้าหม้อฮ่อม”

ผ้าหม้อฮ่อม เป็นชื่อผ้าย้อมพื้นเมืองสีกรมท่าที่สร้างชื่อเสียงให้กับเมืองแพร่มานานแล้ว ในอดีตผ้าหม้อฮ่อมเป็นผ้าฝ้ายทอมือ ที่นำดอกฝ้ายขาวมาทำเป็นเส้นใยแล้วทอด้วยกี่พื้นเมืองเป็นผ้าพื้นสีขาว หลังจากนั้นจึงนำไปตัดเย็บให้เป็นเสื้อแบบต่าง ๆ กางเกงเตี่ยวสะตอ จากนั้นนำมาย้อมในน้ำฮ่อม ที่ได้จากการหมักต้นฮ่อมเอาไว้ในหม้อในปัจจุบันมีการทอผ้าด้วยกี่แบบพื้นเมืองน้อยลงทำให้ผ้าทอมีราคาแพง ในการตัดเย็บเสื้อผ้าหม้อฮ่อมจึงมีการใช้ผ้าดิบจากโรงงานตัดเย็บ ย้อมด้วยน้ำฮ่อมธรรมชาติหรือสีหม้อฮ่อมวิทยาศาสตร์
ผ้าหม้อฮ่อมเป็นสิ่งหนึ่งที่แสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์ของชาวเมืองแพร่ซึ่งจะเห็นได้จากชุดการแต่งกายพื้นเมืองของชาวแพร่จะนิยมสวมใส่เสื้อผ้าหม้อฮ่อมโดยการแต่งกายของชายนั้นนิยมสวมเสื้อหม้อฮ่อมคอกลม แขนสั้น ผ่าอกติดกระดุมหรือใช้สายมัด ลักษณะคล้ายเสื้อกุยเฮงของชาวจีน และกางเกงหม้อฮ่อมขาก้วย ใช้ผ้าขาวม้ามัดเอว
ส่วนการแต่งกายพื้นเมืองของผู้หญิงเป็นเสื้อผ้าหม้อฮ่อมคอกลมแขนยาวทรงกระบอก ผ่าอกติดกระดุม และสวมผ้าถุงที่มีชื่อเรียกว่า “ซิ่นแหล้” ซึ่งเป็นพื้นสีดำมีแถบสีแดงคาดบริเวณใกล้เชิงผ้า ชาวพื้นเมืองต่าง ๆ ในภาคเหนือตั้งแต่อดีตจนปัจจุบันนิยมใช้เสื้อผ้าหม้อฮ่อมที่มาจากแพร่ และถ้าพูดถึงหม้อฮ่อมแท้ต้องเป็นหม้อฮ่อมแพร่เท่านั้น ซื่อเสียงของผ้าหม้อฮ่อมเมืองแพร่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป ทั้งนี้เนื่องจากมีคุณภาพ ความคงทนของเนื้อผ้าและสีหม้อฮ่อมที่ใช้ย้อมผ้า ตลอดจนรูปแบบเรียบง่ายสะดวกต่อการสวมใส่ได้ในหลายโอกาส
ในปัจจุบันแหล่งผลิตเสื้อผ้าหม้อฮ่อมที่บ้านทุ่งโฮ้ง ตำบลทุ่งโฮ้ง อำเภอเมืองแพร่ เป็นแหล่งผลิตที่ใหญ่ที่สุดและมีชื่อเสียงที่สุดประวัติของบ้านทุ่งโฮ้ง ตามคำบอกเล่าของคนแก่ในหมู่บ้าน เล่าว่าบ้านทุ่งโฮ้งเป็นหมู่บ้านของชาวไทพวนที่ถูกกวาดต้อน และอพยพมาจากแขวงเชียงขวาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เมื่อประมาณ พ.ศ. 2340 – 2350 โดยคนกลุ่มแรกได้เดินทางมาถึงเมืองแพร่และได้ตั้งบ้านเรือนอยู่นอกกำแพงเมืองแพร่ ทางทิศเหนือด้านประตูเลี้ยงมา ต่อมาจึงได้ย้ายจากที่เดิม มาตั้งหมู่บ้านขึ้นใหม่บริเวณที่เป็นตั้งบ้านทุ่งโฮ้งใต้ในปัจจุบัน และอยู่กันเรื่อยมา จนประมาณ พ.ศ. 2360 – 2380 จึงมีกลุ่มไทยพวนกลุ่มใหม่อพยพเข้ามาและตั้งหมู่บ้านห่างจากเดิมประมาณ 200 เมตร เป็นหมู่บ้านทุ่งโฮ้งเหนือในปัจจุบัน
ผู้ที่เข้ามาอาศัยอยู่เหล่านี้มีอาชีพทางด้านการตีเหล็ก โดยมีเตาตีเหล็กกันแทบทุกหลังคาเรือน ชาวบ้านที่ตีเหล็กมาเป็นเวลานานได้ตีเหล็กจน “ทั่ง” ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้รองรับการตีเหล็กลึกกร่อนลึกเป็นแอ่งซึ่งภาษาไทพวนเรียกว่า “โห้ง” จึงเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้านทั่งโฮ้ง และต่อมาได้เรียกเสียงเพี้ยนไปเป็นทุ่งโห้ง และทางการได้เขียนเป็นทุ่งโฮ้ง ซึ่งเป็นชื่อของหมู่บ้านในปัจจุบันส่วนอาชีพการตีเหล็กได้เลิกไปประมาณปี พ.ศ. 2450 – 2460 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีบริษัทอิสเชียติคเข้ามาทำไม้ในภาคเหนือ ชาวบ้านทุ่งโฮ้งจึงได้ไปรับจ้างในการชักลากซุงโดยใช้ ล้อเวิ้น เทียมด้วยควายไปชักลาก ชาวไทพวนทุ่งโฮ้งยังคงสืบทอดประเพณีวัฒนธรรมดั้งเดิมของตนหลายอย่างมาจนถึงปัจจุบัน เช่น ประเพณีกำฟ้า แหล่งผลิตเสื้อผ้าหม้อฮ่อมในเมืองแพร่ ผ้าหม้อฮ่อมในเมืองแพร่มีแหล่งผลิตที่สำคัญ 3 แหล่งใหญ่ ๆดังนี้ บ้านพระหลวง ตำบลพระหลวง อำเภอสูงเม่น บ้านเวียงทอง ตำบลเวียงทอง อำเภอสูงเม่น บ้านทุ่งโฮ้ง ตำบลทุ่งโฮ้ง อำเภอเมืองแพร่ การย้อมผ้าด้วยหม้อฮ่อม เพื่อใช้ตัดเย็บเป็นเครื่องนุ่งห่มสำหรับสวมใส่จึงเป็นที่มาของผ้าหม้อฮ่อมในปัจจุบัน วัตถุดิบที่ใช้ในการทำผ้าหม้อฮ่อมแบบโบราณ ใช้วัตถุดิบสำคัญ 2 อย่างดังนี้ คือ ต้นครามหรือต้นฮ่อม น้ำด่างจากขี้เถ้า แหล่งผลิตเสื้อผ้าหม้อฮ่อมในเมืองแพร่ ผ้าหม้อฮ่อมในเมืองแพร่มีแหล่งผลิตที่สำคัญ 3 แหล่งใหญ่ ๆดังนี้ บ้านพระหลวง ตำบลพระหลวง อำเภอสูงเม่น บ้านเวียงทอง ตำบลเวียงทอง อำเภอสูงเม่น บ้านทุ่งโฮ้ง ตำบลทุ่งโฮ้ง อำเภอเมืองแพร่ การย้อมผ้าด้วยหม้อฮ่อม เพื่อใช้ตัดเย็บเป็นเครื่องนุ่งห่มสำหรับสวมใส่จึงเป็นที่มาของผ้าหม้อฮ่อมในปัจจุบัน วัตถุดิบที่ใช้ในการทำผ้าหม้อฮ่อมแบบโบราณ ใช้วัตถุดิบสำคัญ 2 อย่างดังนี้ คือ ต้นครามหรือต้นฮ่อม น้ำด่างจากขี้เถ้า
แหล่งผลิตเสื้อผ้าหม้อฮ่อมในเมืองแพร่ ผ้าหม้อฮ่อมในเมืองแพร่มีแหล่งผลิตที่สำคัญ 3 แหล่งใหญ่ ๆดังนี้ บ้านพระหลวง ตำบลพระหลวง อำเภอสูงเม่น บ้านเวียงทอง ตำบลเวียงทอง อำเภอสูงเม่น บ้านทุ่งโฮ้ง ตำบลทุ่งโฮ้ง อำเภอเมืองแพร่ การย้อมผ้าด้วยหม้อฮ่อม เพื่อใช้ตัดเย็บเป็นเครื่องนุ่งห่มสำหรับสวมใส่จึงเป็นที่มาของผ้าหม้อฮ่อมในปัจจุบัน วัตถุดิบที่ใช้ในการทำผ้าหม้อฮ่อมแบบโบราณ ใช้วัตถุดิบสำคัญ 2 อย่างดังนี้ คือ ต้นครามหรือต้นฮ่อม น้ำด่างจากขี้เถ้า
ขั้นตอน ผ้าฝ้ายทอมือ หรือผ้าดิบ สำหรับตัดเย็บเสื้อ กางเกงแล้วนำมาย้อมด้วยน้ำฮ่อม ต้นครามหรือต้นฮ่อม เพื่อสกัดให้ได้สีสำหรับการย้อมผ้า โดยใช้วิธีการหมักให้เป็นน้ำฮ่อม น้ำด่าง โดยใช้ขี้เถ้าเป็นส่วนผสมของสีฮ่อมที่ได้จากต้นฮ่อม หม้อโอ่งขนาดใหญ่ สำหรับการหมักฮ่อมสำหรับย้อมผ้า ถังแช่ขี้เถ้าและหม้อน้ำด่าง สำหรับแช่ขี้เถ้าทำเป็นน้ำด่างเพื่อใช้ผสมสีฮ่อม หม้อโอ่งขนาดใหญ่ สำหรับการย้อมผ้า ตระกร้าตาห่างๆ ครอบปากหม้อโอ่งสำหรับใส่ผ้าที่จะย้อม ถุงมือเป็นเครื่องมือสมัยใหม่ที่ใช้ป้องกันไม่ให้สีดำติดมือ ในอดีตผู้ที่มีอาชีพย้อมผ้าจะใช้มือกลับผ้าที่ย้อมฮ่อม การย้อมที่ไม่สวมถุงมือทำให้มือของผู้ที่มีอาชีพนี้ติดสีย้อม ราวตากผ้าสำหรับตากผ้าที่ได้ทำการย้อมแล้วให้แห้ง
กรรมวิธี ตัดเย็บผ้าทอหรือผ้าดิบให้เป็นเสื้อกางเกงตามขนาดที่ต้องการให้เรียบร้อย จะได้เสื้อ กางเกง สีขาวที่จะนำไปย้อมฮ่อม โดยนำผ้าเหล่านี้ไปแช่น้ำธรรมดาเป็นเวลา 1 – 2 คืน แล้วนำขึ้นจากน้ำมาผึ่งให้หมาดๆ เตรียมผ้าที่จะย้อมโดยนำตระกร้าตาห่าง ๆ มาวางที่ปากหม้อโอ่ง นำผ้าลงย้อม โดยใส่ลงในตระกร้าตาห่างๆ สวมถุงมือแล้วขยำผ้าให้สีย้อมติดให้ทั่ว นำผ้าที่ย้อมฮ่อมจนทั่วแล้วไปผึ่งแดดจนแห้ง แล้วย้อมซ้ำอีก 5 ครั้ง เมื่อได้สีที่ย้อมติดดีติดทั่วผืน ให้มีความทนทาน ควรนำไปตากแดดจนแห้ง หลังจากการย้อมครั้งสุดท้าย เสื้อ กางเกง แห้งดีแล้ว ซักน้ำครั้งสุดท้ายแล้วลงแป้งข้าวเจ้าในเสื้อกางเกงผ้าหม้อฮ่อม เพื่อรีดให้เรียบได้ง่าย ๆ ก่อนนำไปพับและมัดเป็นมัดๆ เตรียมบรรจุถุงพลาสติก พร้อมที่จะส่งให้กับพ่อค้าที่รับไปจำหน่าย
ในปัจจุบันการตัดเย็บเสื้อผ้าหม้อฮ่อม นับได้ว่าสร้างงานและทำรายได้ ให้กับชาวบ้านทุ่ง โฮ้งเป็นอย่างมาก ทำให้หมู่บ้านนี้ประชาชนมีฐานะทางเศรษฐกิจดีบ้านทุ่งโฮ้งได้เป็นเขตสุขาภิบาลแห่งหนึ่งของจังหวัดแพร่ ซึ่งมีร้านตัดเย็บเสื้อผ้าหม้อฮ่อมตั้งอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งแต่ละร้านต่างก็มีเครื่องหมายและชื่อร้านแตกต่างกันออกไป ส่วนในด้านรูปแบบ ได้มีการปรับปรุงเสื้อผ้าหม้อฮ่อมให้มีแบบที่แตกต่างไปจากเดิมตามความต้องการของตลาดผู้บริโภค ตัดเย็บเป็นเสื้อซาฟารี เสื้อคอเชิร์ต มีทั้งที่เป็นแบบแขนสั้นและแขนยาว เป็นต้น
ตีนจกหม้อฮ่อม การพัฒนางานทอผ้าพื้นเมือง โดยเฉพาะตีนจกในจังหวัดแพร่ ในขณะนี้มีการพัฒนาผ้าตีนจกที่ใช้เส้นใยฝ้ายแท้ๆ ย้อมด้วยฮ่อม และสีธรรมชาติที่ได้จากเปลือกของต้นไม้หลายชนิด ถึงแม้ลวดลายยังไม่เข้าขั้น แต่ก็เคยได้รางวัลประเภทความคิดสร้างสรรค์มาแล้ว หากการทอผ้าตีนจกหม้อฮ่อมนำโดย นางรัตนา เรือนศักดิ์ จากกลุ่มอาชีพบ้านน้ำรัด ตำบลน้ำรัด อำเภอหนองม่วงไข่ จังหวัดแพร่ได้รับการพัฒนาลวดลายอย่างในอำเภอลอง ผ้าจกหม้อฮ่อมก็จะสวยงามและมีเอกลักษณ์ของท้องถิ่นอีกแห่งของจังหวัดแพร่ สีคราม ได้จากฮ่อม สีน้ำตาลอ่อน ได้จากเปลือกต้นลำใย เปลือกต้นสะเดา เปลือกต้นประดู่ สีน้ำตาลอมส้ม ได้จากเปลือกต้นกระท้อนและสีเสียด
ผ้าจกที่ย้อมสีธรรมชาติ บ้านน้ำรัด จ.แพร่
ขอขอบคุณหนังสือ ผ้าทอพื้นเมืองในภาคเหนือ มหาวิทยาศิลปากร




<

เครื่องแต่งกายชาติพันธุ์ล้านนา ไทยวน-โยนก

ไทยวน-โยนก เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในดินแดนล้านนามาเป็นเวลาช้านาน มักเรียกขาน ตัวเองว่า “คน เมือง” อาศัยอยู่แถวพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ในเขตจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน เชียงราย แม่ฮ่องสอน มีภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นเอกลักษณ์ของตน
การแต่งกายของสตรีไทยวน-โยนก สมัยก่อนนิยมเปลือยอกท่อนบน หรือมีการเคียน อก ด้วยผ้าสีเข้ม นิยมนุ่งผ้าที่เย็บเป็นลักษณะกระสอบ เรียกว่า ผ้าซิ่น และส่วนของผ้าซิ่นนั้น ถ้าใช้สวมใส่ในงานโอกาสสำคัญๆ ก็จะนิยมต่อด้วยตีนจก ซึ่งเป็นการทอลายที่เป็นเอกลักษณ์ของไทยวนโบราณ ทรงผมนิยมเกล้ามวยผมไว้กลางศรีษะ หรือส่วนของท้ายทอย นิยมเหน็บดอกไม้ต่างๆเพื่อเป็นการสักการะบูชาเทวดาที่คอยดูแลขวัญหัว เครื่องประดับนิยมเครื่องประดับที่ทำจากเงิน อาทิกำไลเงิน สร้อยเงิน ฯลฯ
การแต่งกายของบุรุษไทยวน-โยนก นิยมเปลือยอกบน นุ่งด้วยผ้าฝ้ายสีเข้ม ลักษณะการนุ่งเป็นการนุ่งแบบ แก๊ตม้าม หรือ แคทมั่ม เพื่อให้สะดวกในการเคลื่อนไหวร่างกาย หรือ คล่องตัวในการทำงานต่างๆที่อาจต้องใช้แรง ผู้ชายไทยวนสมัยโบราณนิยมการสัก ตามแขน ต้นขา เนื่องด้วยความเชื่อเกี่ยวกับไสยศาสตร์ ความคงกระพัน และเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจในการออกรบ



ขอขอบคุณข้อมูลจาก : กองส่งเสริมเสริมศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย



การแต่งกายประจำภาคเหนือภาคเหนือ
มีภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นของตนเอง หรือที่เรียกว่า “คำเมือง” จะใช้กันแพร่หลายในภาคเหนือตอนบน ส่วยภาคเหนือตอนล่างเคยอยู่ร่วมกับสุโขทัย อยุธยาทำให้ประเพณี และวัฒนธรรมมีลักษณะคล้ายกับภาคกลาง
ภาษาพูดจะมีลักษณะช้าและนุ่มนวล เช่น อู้ (พูด) เจ้า (ค่ะ) แอ่ว (เที่ยว) กิ๊ดฮอด (คิดถึง)
การแต่งกายภาคเหนือ ชาวพื้นเมืองจะแต่งกายตามเชื้อชาติโดยทั่วไป
ลักษณะการแต่งกายของคนภาคเหนือการแต่งกาย

เป็นสิ่งสำคัญสิ่งหนึ่ง ที่บ่งบอกเอกลักษณ์ของคนแต่ละพื้นถิ่น สำหรับในเขตภาคเหนือหรือดินแดนล้านนาในอดีต ปัจจุบันการแต่งกายแบบพื้นเมืองได้รับความสนใจมากขึ้น แต่เนื่องจากในท้องถิ่นนี้มีผู้คนหลากหลายชาติพันธุ์อาศัยอยู่ เช่น ไทยวน ไทลื้อ ไทเขิน ไทใหญ่ และอิทธิพลจากละครโทรทัศน์ ทำให้การแต่งกายแบบพื้นเมืองมีความสับสนเกิดขึ้น ดังนั้นคณะทำงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม กลุ่มสถาบันอุดมศึกษาภาคเหนือ จึงได้ระบุข้อไม่ควรกระทำในการแต่งกายชุดพื้นเมือง ของ “แม่ญิงล้านนา” เอาไว้ว่า






ที่มา : http://www.thainame.net/weblampang/fourthai/page2/nort.html

http://www.thaifolk.com/doc/northen.htm

ศิลปวัฒนธรรมของภาคเหนือ:กลุ่มชาติพันธ์ล้านนา

กะเหรี่ยง (ปกาเกอะญอ)









ชนเผ่ากะเหรี่ยง (Karen) เรียกตัวเองว่า ปกาเกอะญอ คนไทยในล้านนามักเรียกว่า ยาง ทางตะวันตกของภาคกลางเรียกว่า กะหร่าง มี ประวัติความเป็นมา ที่กล่าวไว้ว่าเดิมปกาเกอะญออาศัยอยู่ในดินแดนด้านทิศตะวันออกของธิเบต ด้วยนิสัยรักอิสระและชอบชีวิตสันโดษ จึงหนีการรุกรานของชนกลุ่มอื่นมาตลอด ปกาเกอะญอในประเทศไทยแบ่งออกเป็น กลุ่มย่อย ได้ 4 กลุ่มคือ สะกอ โปว บะเวหรือคะยาห์ และ ตองสู การแต่งกาย ของปกาเกอะญอนอกจากจะมีเอกลักษณ์ของความเรียบง่ายแล้วยังแสดงถึงสถานภาพการครองเรือนที่ชัดเจนด้วย ปกาเกอะญอมี ความเชื่อ ที่เน้นเรื่องการเคารพสิ่งศักดิ์สิทธ์ตามรอยบรรพบุรุษที่มีการสืบทอดมาทางมารดา และนำไปสู่การประกอบ พิธีกรรมที่สำคัญ ในวิถีชีวิตเช่นเดียวกับชนเผ่าอื่นๆ การเข้าไปชุมชนปกาเกอะญอควรคำนึงถึง ข้อควรปฏิบัติ ด้วยเช่นกัน

ประวัติความเป็นมา
กะเหรี่ยงเรียกตนเองว่า "ปกาเกอะญอ" ชาวไทยพื้นราบเรียกว่า "ยาง ยางกะเลอ ยางเปียง ยางป่า" บางทีเรียก "กะหร่าง" ในแถบ จ.เพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์ ในพม่าเรียกว่า "กะยิ่น" นับเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ส่วนน้อยที่มีจำนวนมากที่สุดและ ได้อาศัยอยู่ในประเทศไทยนานที่สุดเมื่อเทียบกับกลุ่มอื่นๆ เดิมกะเหรี่ยงอาศัยอยู่ในดินแดนด้านทิศตะวันออกของทิเบตและจีน ต่อมาเมื่อถูกจีนรุกราน จึงหนีถอยร่นมาทางใต้เข้ามาในพม่าและประเทศไทย ในพงศาวดารของเมืองเหนือหลายฉบับกล่าวไว้ว่า "นอกจากพวกลัวะ หรือละว้า ยังมีพวกยางหรือกะเหรี่ยงอยู่ตามป่ารอบๆเมือง" จึงสันนิษฐานว่า กะเหรี่ยงได้เข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยก่อนชนกลุ่มน้อยอื่นๆ คือประมาณ 200 ปีมาแล้ว

กลุ่มย่อย
กะเหรี่ยงในประเทศไทย แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มย่อยคือ
สะกอ (Skaw Karen) เรียกตัวเองว่า "จะกอ" หรือ "ปกาเกอะญอ" หมายความว่า "คนเรียบง่าย" เป็นกลุ่มที่มีประชากรมากที่สุด
โปว ( Pwo Karen) เรียกตัวเองว่า "พล่ง" อาศัยอยู่ในแถบตะวันตกของ อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ ลำพูน แพร่ อุทัยธานี และกาญจนบุรี
บะเว หรือ คะยา (Bwe or Kayah) ในภาษาอังกฤษเรียกว่า Red Karen หรือ Karenni คนในภาคเหนือและไทใหญ่เรียกว่า ยางแดง อาศัยอยู่ในพื้นที่ อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน
ตองสู หรือ ตองตู (Taungthu) เรียกตัวเองว่า "พะโอ" (Pa-O) อาศัยอยู่ในเขต อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน

การแต่งกาย
ปกติหญิงสะกอที่ยังไม่ได้แต่งงานจะสวมชุดสีขาวทรงกระสอบยาวคลุมถึงข้อเท้า คอวี แขนสั้น ทอเส้นสีแดงเล็กๆรอบเอวและชายกระโปรง ปักพู่ไหมพรมสั้นๆตรงชายกระโปรง รอบคอประดับด้วยสร้อยลูกเดือย หิน หรือลูกปัดหลายๆเส้น
ส่วนหญิงสะกอที่แต่งงานแล้ว จะแต่งกายแบบ 2 ท่อน สวมผ้าซิ่นสีแดงสลับขาวเล็กน้อย เสื้อเป็นทรงกระบอกคอวีแขนสั้น พื้นสีดำ ครึ่งอกล่างปักด้วยด้ายสีแดงและลูกเดือยสีขาวเป็นตารางหมากรุก โพกศีรษะด้วยผ้าขาวหรือผ้าขนหนู
หญิงกะเหรี่ยงโปวที่ยังไม่แต่งงาน สวมชุดทรงกระบอกมีลายสีแดงเข้มตรงชายกระโปรงยาวประมาณ 1 ฟุต ด้านบนตรงอกมีลายเส้นขวางสีขาวสลับแดง
หญิงโปวที่แต่งงานแล้ว จะสวมชุด 2 ท่อนคือ เสื้อทรงกระบอกคอวี แขนสอบสั้น พื้นแดง ปักลวดลายด้วยเม็ดเดือยหรือหิน ผ้านุ่งสีแดงมีเส้นตัดขวางสีขาวและดำเล็กน้อย นิยมเกล้าผมมวยเป็นทรงกระพุ่มและขมวดจุกไว้ คาดรอบศีรษะด้วยผ้าแถบสีขาวหรือชมพู สวมสร้อยคอ ลูกปัดและลูกเดือยหิน สวมกำไลข้อมือ และลูกพรวนที่ข้อมือและข้อเท้า
ผู้ชายกะเหรี่ยงสะกอและกะเหรี่ยงโปว จะสวมกางเกงยาวสีดำทรงแบบจีน ชายสะกอสวมเสื้อทรงกระสอบคอวี พื้นขาวทางตั้งสีแดง ส่วนชาวกะเหรี่ยงโปว สวมเสื้อพื้นสีแดง ชายที่ยังไม่แต่งงานนิยมไว้ผมยาวแล้วเกล้ารวมไว้ที่หูข้างซ้ายหรือขวา ประดับด้วยกิ๊บหรือหวี และคาดผ้าแพรรอบศีรษะ
ความเชื่อ
กะเหรี่ยงส่วนมากยังคงนับถือผีเป็นหลัก และผสมผสานกับพุทธศาสนา บางแห่งได้รับอิทธิพลของคริสต์ศาสนาด้วย กะเหรี่ยงเชื่อกันว่า ทุกหนทุกแห่งจะมีผีประจำอยู่ มีทั้งผีดีและผีร้าย เช่น ผีบ้าน ผีไร่ ผีป่า ผีเรือน ผีที่สำคัญคือ ผีบ้าน ผีเรือน เชื่อว่าเป็นวิญญาณของบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วมาเฝ้าวนเวียนคอยให้ความคุ้มครองดูแลลูกหลานให้อยู่ดีมีสุข
กะเหรี่ยงเชื่อว่า ชีวิตหลังจากตายไปแล้ว วิญญาณจะต้องไปเกิดในภพชาติใหม่ ขวัญจะออกไปจากร่างกายและจะเดินทางไปอยู่ในอีกโลกหนึ่งคือ โลกของคนตายซึ่งมีสิ่งต่างๆเหมือนในโลกมนุษย์ ในพิธีศพจึงรวบรวมสิ่งของเครื่องใช้ของผู้ตายฝังรวมไปในหลุมฝังศพ ในเวลากลางคืนจะมีการขับลำนำพื้นบ้าน (อื่อทา แต่ในงานศพเรียกว่าทาปรือ) เพื่อให้ผู้ตายไปสู่สถานที่แห่งความสุขในชั้นสวรรค์
พิธีกรรมที่สำคัญ
พิธีกรรมส่วนใหญ่ของ กะเหรี่ยงจะเน้นไปที่การเซ่นไหว้ผี หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ โดยเฉพาะผีบรรพบุรุษที่มีการสืบทอดทางฝ่ายมารดา เพื่อเป็นการขอบคุณและขอขมาในการล่วงเกิน มีการมัดข้อมือในเวลาเจ็บป่วย เป็นการเรียกขวัญและขอให้ผีช่วยปกป้องคุ้มครองให้หายจากการเจ็บป่วย นอกจากนี้ก็มีพิธีกรรมเช่นเดียวกับชนกลุ่มอื่นๆคือ พิธีแต่งงาน พิธีศพ พิธีกินข้าวใหม่ พิธีขึ้นบ้านใหม่ และพิธีปีใหม่ (ซึ่งมีขึ้นในช่วงเดือนกุมภาพันธ์)
ข้อควรปฏิบัติ
ห้ามกระทำผิดในเรื่องชู้สาว กะเหรี่ยงมีความเชื่อเรื่อง ผัวเดียวเมียเดียว อย่างเคร่งครัด
ห้ามพักค้างคืนบนบ้านใหม่ที่ยังไม่ได้ทำพิธีโดยหัวหน้าสายผีผู้หญิง
ห้ามฆ่าสัตว์และดื่มสุราในเขตสถานที่สำคัญของชุมชน
ห้ามเข้าไปในบริเวณที่กำลังทำการเลี้ยงผี
ควรแสดงความเป็นกันเองกับเจ้าของบ้าน ด้วยการไม่ปฏิเสธที่จะดื่มสุราที่เขารินให้




ลาหู่ (มูเซอ)




ประวัติความเป็นมา
ชนกลุ่มนี้เรียกตนเองว่า ลาฝู่ หรือ ลาหู่ แปลว่า "คน" เคยมีอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่อยู่บริเวณตอนกลางและตอนใต้ของมณฑลยูนนาน เมื่อถูกรุกรานก็จะอพยพเคลื่อนย้ายไปเรื่อยๆในบริเวณประเทศจีน พม่า ลาว และไทย สันนิษฐานว่า คำว่า "มูเซอ" เป็นคำที่ชาวพม่าและไทใหญ่ในรัฐฉานใช้เรียก แปลว่า "นายพราน" เนื่องจากลาหู่มีความชำนาญในการล่าสัตว์

กลุ่มย่อย
ในประเทศไทยลาหู่มีกลุ่มย่อยอยู่ 7 กลุ่มดังนี้คือ
มูเซอดำ หรือ ลาหู่นะ (Lahu Na) ส่วนใหญ่นับถือคริสต์ศาสนา อาศัยอยู่ในเขต อ.ฝาง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ และจังหวัดเชียงราย
มูเซอแดง หรือ ลาหู่ญี (Lahu Nyi) เป็นกลุ่มที่มีประชากรมากที่สุด อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ และ อ.เมือง อ.แม่สรวย จ.เชียงราย
มูเซอเฌเล หรือ ลาหู่เชเล (Lahu Shehleh) บางทีเรียกว่า ลาหู่นะเหมี่ยว อาศัยอยู่ในเขต จ.เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน และตาก
มูเซอฌีบาหลา หรือ มูเซอเหลือง (Lahu Shi) นับถือศาสนาคริสต์ อาศัยอยู่ใน จ.เชียงราย และเชียงใหม่
มูเซอลาบา หรือ ลาหู่ลาบา (Lahu Laba or Laban) เป็นกลุ่มที่เพิ่งอพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในเขต อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
มูเซอกุเลา หรือมูเซอขาว หรือ ลาหู่ฟู มีจำนวนเพียงเล็กน้อย อาศัยอยู่ใน จ.เชียงราย
มูเซอกุ้ย หรือ ลาหู่ฌีบาเกียว (Lahu Shibakio) อาศัยอยู่กับกลุ่มอื่น พบใน จ.เชียงราย

การแต่งกาย
เนื่องจากมูเซอ มีการแบ่งกลุ่มย่อยออกเป็นหลายกลุ่ม การแต่งกายของแต่ละกลุ่ม โดยเฉพาะของผู้หญิงมีลักษณะแตกต่างกันออกไปมาก จะขอกล่าวถึงเฉพาะกลุ่มใหญ่ๆบางกลุ่มเท่านั้น
มูเซอแดง ผู้หญิงนิยมสวมเสื้อแขนยาวสีดำหรือสีฟ้า เย็บแถบผ้าสีแดงทาบบนผืนผ้าสีดำ เป็นแถบใหญ่เล็กหลายตอนตรงรอบคอ ชายผ้าและแขนเสื้อ ผ้านุ่งนอกจากจะมีลายสีแดงแล้ว ยังมีสีขาว เหลือง และน้ำเงิน สลับกันอีกด้วย ลักษณะเสื้อเป็นเสื้อแขนยาวทรงกระบอก ใช้ผ้าสีดำ ตัวเสื้อสั้น เปิดให้เห็นหน้าท้อง ผ่าอกกลางติดแถบผ้าสีแดงริมคอลงมาถึงข้างล่าง
มูเซอดำ ใช้ผ้าสีดำเป็นกางเกง เสื้อเป็นแบบแขนยาวเหนือข้อมือเล็กน้อย และยาวลงมาถึงครึ่งน่อง นิยมใช้ผ้าสีดำโพกศีรษะ ปล่อยชายผ้าห้อยไปข้างหลัง

มูเซอเฌเล ผู้หญิงนุ่งกางเกงขายาวสีดำ สวมเสื้อสีดำยาวลงมาเกือบถึงข้อเท้า มีกระดุมโลหะสีเงินเป็นแถบยาวลงมา แขนเสื้อมีผ้าแถบสีเหลือง แดง ขาว เย็บสลับติดกัน และโพกผ้าสีดำ
ส่วนผู้ชาย จะแต่งกายแบบง่ายๆ ส่วนมากใส่เสื้อดำแขนยาว และใส่กางเกงทรงจีนสีดำหลวมๆ ยาวลงไปถึงแค่เข่าหรือใต้เข่าเล็กน้อย
เครื่องประดับ ผู้หญิงนิยมเจาะหูใส่ตุ้มหูเงิน ใช้เข็มขัดเงินคาดเอว ประดับเครื่องเงินที่คอ และหน้าอก กำไลแขน คอ ทำด้วยเงิน

ความเชื่อ
มูเซอมีความเชื่อและเคารพในพระเจ้าองค์เดียวคือ กื่อซา ซึ่งถือว่า เป็นผู้สร้างโลก สร้างความดีทั้งมวล นอกจากนี้ยังให้ความเชื่อถือในผู้นำทางศาสนา คือ ปู่จอง หรือ ตูโบ ในปัจจุบันอาจกล่าวได้ว่า มูเซอในประเทศไทยนับถือศาสนาอยู่ 2 กลุ่มคือ
กลุ่มที่นับถือผีและพุทธ กลุ่มนี้ยังคงปฏิบัติตามความเชื่อดั้งเดิมของตน บูชาเทพเจ้า กื่อซา ต่อมาก็ได้รับเอาพุทธศาสนาไว้ด้วย ได้แก่ มูเซอเฌเล มูเซอแดง มูเซอกุเลา
กลุ่มที่นับถือศาสนาคริสต์ ได้แก่ กลุ่มมูเซอดำ มูเซอเหลือง มูเซอแดง และมูเซอลาบา
มูเซอเชื่อว่า เมื่อตายไปแล้ว วิญญาณจะกลับไปอยู่กับ กื่อซา อีก หากเมื่อมีชีวิตได้กระทำแต่ความดี ก็จะได้ไปอยู่ในดินแดนของพระเจ้า มีแต่ความสุข หากกระทำความชั่ว วิญญาณก็จะล่องลอยไปตามป่าเขา


ลีซอ



ประวัติความเป็นมา
ชนเผ่าลีซอ หรือที่เรียกตนเองว่า ลีซู มีถิ่นเดิมอยู่บริเวณต้นน้ำสาละวิน และแม่น้ำโขง ทางเหนือของประเทศทิเบต และได้อพยพถอยร่นลงมาทางใต้กระจายกันอยู่ในประเทศจีน พม่า อินเดีย และประเทศไทยสำหรับลีซอในประเทศไทยนั้น อพยพมาจากรัฐฉานและตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณดอยช้าง อ.แม่สรวย จ.เชียงราย
ความเชื่อ
ลีซอ นับถือผีมาแต่ประเพณีเดิม ภายในบ้านที่ข้างฝาตรงข้ามกับประตูบ้านมีหิ้งบูชาผีติดอยู่ และจะมีการเซ่นไหว้ผีในพิธีกรรมต่างๆ เช่น พิธีกินข้าวใหม่ พิธีกินข้าวโพดใหม่ พิธีแต่งงาน พิธีปีใหม่ เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีศาลผีประจำหมู่บ้าน ซึ่งเป็นที่สถิตของผีหมู่บ้านหรือผีเมือง และศาลผีภูเขาใหญ่หรือผีหลวง ซึ่งอยู่บนยอดเขา ห่างจากหมู่บ้าน ผีทั้งสองประเภทนี้เป็นผีที่ลีซอเกรงกลัวและให้ความเคารพมาก
ลีซอเชื่อว่า เมื่อมนุษย์ตายไปแล้ว วิญญาณจะออกจากร่าง แต่ยังคงวนเวียนอยู่ไม่สูญหายไปไหน มองไม่เห็นและจับต้องไม่ได้ หลังจากที่ทำพิธีฝังหรือเผาแล้ว วิญญาณจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งญาติพี่น้องจะเชิญให้ไปอยู่บนหิ้งบูชาผีที่บ้าน อีกส่วนหนึ่ง ยังคงอยู่บริเวณหลุมฝังศพหรือสุสานจนกว่าญาติจะได้ทำการเซ่นไหว้ประจำปีครบ 3 ครั้งแล้ว วิญญาณจึงจะได้ไปเกิดใหม่ ณ ดินแดนผู้เสียชีวิตที่เรียกว่า ดินแดนเทพเจ้า
ประเพณีพิธีกรรมที่สำคัญ
พิธีกรรมที่สำคัญในสังคมลีซอมีดังนี
วันขึ้นปีใหม่ ตรงกับวันตรุษจีนมีการเซ่นไหว้ผี และร้องเพลงเต้นรำรอบๆต้นไม้ปีใหม่ในเวลากลางคืน มีการจุดประทัดและยิงปืนเป็นระยะๆ
วันกินข้าวโพดใหม่ ทุกครอบครัวจะจัดพิธีกรรมเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษและผีประจำหมู่บ้านเป็นประจำทุกปีในช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม มีกำหนดเวลา 3 วัน
วันศีลหรือวันกรรม มีขึ้นทุกๆ 15 วัน ตามจันทรคติ คือวันพระจันทร์เต็มดวงหรือวันเดือนดับ เป็นวันที่ห้ามใช้ของมีคมทุกชนิด ห้ามทำงานในไร่ ห้ามตัดฟืน ห้ามฆ่าสัตว์ทุกชนิด
วันไหว้ผีบรรพบุรุษที่หลุมฝังศพ จัดขึ้นหลังจากวันปีใหม่ล่วงไปแล้วได้ 2 เดือน 2 วัน ปกติลีซอมีพิธีไหว้ศพ 3 ครั้ง จัดขึ้นในวันไหว้ผีบรรพบุรุษประจำปีทีเวียนมาถึง เมื่อไหว้ครบ 3 ครั้งแล้ว วิญญาณของผู้ตายจะได้ไปเกิดในภพใหม่
พิธีทานศาลา (ซาลาหลู่) และพิธีเรียกขวัญ (ชอฮาคัว) เป็นพิธีกรรมเพื่อเสริมขวัญให้เข้มแข็งในภาวะที่จิตใจไม่เข้มแข็งหรือยามเจ็บป่วย
การแต่งกาย
ผู้หญิงลีซอ นิยมสวมเสื้อแขนยาวและกว้าง สีน้ำเงิน สีฟ้า และเขียวอ่อนสลับกัน เป็นบั้งๆ บริเวณคอเสื้อทำเป็นเส้นสีขาวสลับดำเป็นชั้นๆ ตัวเสื้อยาวลงมาปิดเข่า ผ่าเอวทางด้านหน้าอกประดับด้วยสร้อยและเหรียญเงินเป็นแถวห้อยลงมา สวมกางเกงขายาวหลวมๆ ยาวถึงใต้เข่า คาดเอวด้วยผ้าสีดำ ด้านหลังมีพู่ห้อยลงมาโพกศีรษะด้วยผ้าสีดำ มีพู่สีสลับกันห้อยระย้าลงมา สวมสร้อยคอกำไล และห่วงเงินใส่คอหลายๆวง
ผู้ชายลีซอ สวมกางเกงขายาวเกินเข่าเล็กน้อยสีฟ้า ดำ หรือน้ำเงินที่น่องสวมสนับแข้ง ใช้ผ้าสีดำขลิบด้วยผ้าขาว สวมเสื้อแขนยาวถึงข้อมือแบบหลวมๆ ติดกระดุมโลหะเงินเป็นแผ่นใหญ่ บริเวณอก ด้านหลังมีกระดุมโลหะเงินติดห่างๆ คาดเอวด้วยเข็มขัดผ้าถักเป็นเส้นกลมๆสีแดง ตรงปลายมีพู่ด้ายสีดำเส้นเล็กๆ ยาวห้อยลงมาถึงเข่า โพกศีรษะด้วยผ้าสีขาวหรือสีดำ

อาข่า
ประวัติความเป็นมา
ชนกลุ่มนี้เรียกตนเองว่า "อาข่า" (Akha) ชาวไทยทั้งหลายในภูมิภาคนี้เรียกพวกเขาว่า "ก้อ" หรือ "อีก้อ" (ซึ่งเป็นชื่อที่เขาไม่ชอบเลย) ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวกลุ่มชนนี้ถูกเรียกว่า "ข่าก้อ" ในประเทศพม่าใช้คำว่า "ก้อ" ในมณฑลยูนนานของจีนแผ่นดินใหญ่และเวียดนาม ชนกลุ่มนี้ถูกเรียกว่า "ฮานี" หรือ "วูนี" (ซึ่งอาจจะกลายมาจากคำว่า "ซาญี" ซึ่งเขาเรียกตนเองในบทกวีและบทสวดภาวนา) ในวรรณกรรมล้านนามักเขียนชื่อชนกลุ่มนี้ว่า "ค้อ" หรือ "ข่าค้อ"
ในยูนนานมีกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ตั้งถิ่นฐานอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งทั้งหมดได้รวมกันเป็นกลุ่มมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองตาลี บริเวณทะเลสาปเอ๋อไห่ (ที่บางท่านว่าเป็น หนองแส) บรรพบุรุษของกลุ่มชาติพันธุ์ก้อ ได้เคยอาศัยอยู่ในขอบเขตของอาณาจักรแห่งนี้ ในบริเวณตอนใต้ระหว่างแม่น้ำดำและแม่น้ำแดง และอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของแคว้นสิบสองพันนา บริเวณนี้ประกอบไปด้วยกลุ่มคนที่พูดภาษาตระกูลโลโลจำนวนมาก ราวๆคริสตศตวรรษที่19 มีอาข่าจำนวนมากเข้าไปอยู่ในแคว้นเชียงตุง ซึ่งอยู่ชายแดนตะวันออกของรัฐฉานในประเทศพม่า และมีบางส่วนได้อพยพเข้าไปอยู่ในประเทศลาวและเวียดนาม
อาข่าที่อยู่ในประเทศไทยส่วนใหญ่จะอพยพเข้ามาจากประเทศพม่า หมู่บ้านอาข่าแห่งแรกในประเทศไทยคงจะตั้งขึ้นในราวพ.ศ.2446 บริเวณบ้านหินแตก (เทอดไทย) ใกล้ชายแดนพม่า ต่อมาก็อพยพเข้ามาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ปัจจุบันมีอาข่าอาศัยอยู่ในจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง แพร่ ตาก และกำแพงเพชร
กลุ่มย่อย
กลุ่มย่อยตามเกณฑ์ทางภาษา ตามความเข้าใจของก้อเองเฉพาะในประเทศไทย จะจำแนกออกเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มที่พูดภาษา เจ่อก่วย หรือ อู่โล ที่มีจำนวนมากที่สุดในประเทศไทย กลุ่มที่พูดภาษา ลาบือ หมายถึง กลุ่มก้อที่บ้านผาหมี และบริเวณดอยตุง อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ซึ่งมีประวัติการติดต่อสัมพันธ์กับชาวจีนมาเป็นเวลานาน ทำให้ภาษาจีนปะปนอยู่กับภาษาก้อเป็นจำนวนมาก บางครั้งกลุ่มนี้ก็ถูกเรียกว่า อีก้อจีน กลุ่มที่สามที่พบในประเทศไทยที่มีความแตกต่างในภาษาที่ใช้คือ อาเคอ บริเวณแรกที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศไทย คือ บริเวณใกล้เคียงบ้านดอยสะโง้ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย
กลุ่มย่อยตามเกณฑ์ของถิ่นที่อยู่ กลุ่มที่ถูกเรียกว่า ลอมี หรือ ลอมีซา มีวัฒนธรรมและภาษาที่แสดงถึงความสัมพันธ์ในอดีตกับก้อกลุ่มอื่นๆ แม้จะมีลักษณะการแต่งกาย รูปทรงหมวกของสตรีแตกต่างออกไปอย่างเห็นได้ชัด แต่คำว่า ลอมี หมายถึงชื่อสถานที่ คือ ดอยหมี หรือภูเขาทางตอนเหนือของเมืองเชียงตุง ลอมีซา เป็นชื่อภูเขาอีกลูกหนึ่งที่อยู่ใกล้ๆกัน
กลุ่มย่อยตามเกณฑ์ชื่อคน พบว่าในประเทศพม่ามีการใช้ชื่อคนเป็นคำเรียกชื่อกลุ่มย่อย คือ แลลึมโป และ จอบอง (จอบิยอง) คำว่า จอบอง คือชื่อกษัตริย์ของก้อในอดีต
กลุ่มย่อยตามเกณฑ์ชื่อตระกูล เช่นคำว่า เชอหมื่อ เป็นชื่อตระกูลสำคัญตระกูลหนึ่งที่พบในประเทศไทย คำว่า เชอหมื่อ ใช้เรียกชื่อกลุ่มย่อยของก้อในประเทศพม่า
กลุ่มย่อยตามลักษณะหมวกของผู้หญิง เช่น คำว่า อู่โล้ อู่เปี่ย และ อู่ชุ้ยชุ้ยฉู่ กลุ่มอู่โล้มีจำนวนมากที่สุดในประเทศไทย ลักษณะหมวกของสตรีมีลักษณะกลม มีแผงประดับด้านหลัง กลุ่มอู่เปี่ยมีแผงประดับหมวกใหญ่เห็นได้ชัด ส่วนกลุ่มอู่ชุ้ยชุ้ยฉู่ มีลักษณะหมวกกลมป้านเล็ก
การแต่งกาย
อาข่าใช้ฝ้ายทอเป็นผ้าเนื้อแน่นย้อมเป็นสีน้ำเงินเข้มเกือบดำหน้ากว้างประมาณ 17-20 ซม. โดยใช้กี่กระตุกแล้วนำไปย้อมครามซึ่งปลูกไว้เอง การย้อมต้องใช้เวลาเกือบหนึ่งเดือนและต้องย้อมซ้ำแล้วซ้ำอีก จึงจะได้สีน้ำเงินเข้มตามต้องการ
เครื่องแต่งกายของหญิงอาข่าประกอบด้วย เสื้อตัวสั้นแค่สะโพกเย็บด้วยผ้าสองชิ้นต่อตะเข็บกลางหลังด้านหน้าเปิดอก เย็บข้างและต่อแขนตรงไม่เว้า ด้านหน้าปล่อยเป็นผ้าพื้นเรียบๆ ด้านหลังและแขนเสื้อจะปักปะด้วยผ้าชิ้นเล็กชิ้นน้อยหลากหลายสี สวมกระโปรงสั้นเหนือเข่าให้เอวหล่นลงมาที่สะโพก ด้านหน้ารัดเรียบ ด้านหลังจีบจับเกล็ดถี่ลึก
หญิงอาข่าใช้ผ้าแถบพันห่อรอบอกแล้วผูกหรือติดกระดุมไว้ด้านข้าง มีสายบ่าเส้นเดียวช่วยยึด ผ้าคาดเอวจะหนาและกว้างพอใช้มีชายสองข้างปรกที่หน้าท้องและปักตกแต่งด้วยกระดุม เหรียญ และสายประคำ เวลานั่งจะตกลงมาคลุมเข่าและช่วยปกปิดได้มิดชิด รัดน่องนั้นจะเป็นผ้าฝ้ายสีเข้มมีลวดลายปักปะหลากสีสันเช่นกัน หมวกของหญิงอาข่ามีรูปแบบสวยแปลกและมีสีสันสะดุดตา ตกแต่งด้วยเบี้ยหอย เหรียญเงิน ลูกเดือย ลูกปัด แซมด้วยขนนก ขนไก่ ขนกระรอก และอื่นๆย้อมเป็นสีเหลือง สีแดง เป็นปุยย้อยลงมาข้างหู หมวกของหญิงอาข่าในไทยมี 3 แบบหลักๆ คือแบบทรงสูง รูปกรวยคว่ำหรือหมวกแหลม ใช้ในหญิงอูโล้อาข่า ส่วนหมวกทรงสูงมีแผงเงินตั้งขึ้นด้านหลัง ใช้ในกลุ่มหญิงโลมีอาข่า และหมวกแบบทรง 5 เหลี่ยมหรือหมวกแบน ใช้ในกลุ่มหญิงลาบืออาข่า
ชายอาข่าสวมเสื้อคอกลม แขนยาวผ่าหน้ามีลายละเอียดของแบบและการประดับประดาหลากหลาย ใช้ลวดลายและสีสันเช่นเดียวกับเสื้อผู้หญิง สวมกางเกงขาก๊วยไม่มีการตกแต่งในบางโอกาสจะใช้ผ้าดำโพกศีรษะ พันอย่างแน่นหนาเรียบร้อยจนถอดและสวมได้คล้ายหมวก ผู้อาวุโสจะใช้ผ้าไหมสีชมพูสดถึงแดงโพกศีรษะในโอกาสพิเศษ
เด็กหญิงแต่งกายคล้ายหญิงสาวแต่ไม่ใช้ผ้าแถบและผ้าคาดเอว หมวกที่สวมก็เป็นเพียงแบบเรียบๆ รัดแนบศีรษะแล้วจึงค่อยๆเพิ่มเครื่องประดับให้มากขึ้นตามอายุ เด็กชายแต่งตัวคล้ายผู้ใหญ่แต่สวมหมวกรัดศีรษะ
ความเชื่อ
เรื่องกำเนิดของสรรพสิ่ง ตามตำนานของอาข่า ธรณี (อึ่มมา) และท้องฟ้า (อึ่มก๊ะ) นั้นได้รับการเสกสรรขึ้นมาจากอำนาจของ อาเพอหมี่แย (อาจแปลได้คล้ายๆกับ พระผู้เป็นเจ้า) จากอึ่มก๊ะได้สืบทอดเผ่าพันธุ์ลงมาอีก 9 ชั่วเทพ คือ กาเน เนซ้อ ซ้อซือ ซือโถ โถหม่า หม่ายอ ยอเน้ เน้เบ่ และเบ่ซุม ตำนานนี้ระบุว่ามนุษย์คนแรกเป็นบุตรของ เบ่ซุม ชื่อ ซุมมิโอ ซึ่งถือเป็นบิดาของมนุษยชาติ สืบสายกันลงมาอีก 13 ชั่วโคตร จึงถึง โซตาป่า ซึ่งเป็นมหาบิดรของอาข่าทั้งปวง
จารีตบัญญัติอาข่า หรือ อาข่าซ็อง คือ วิถีปฏิบัติเพื่อให้ชีวิตดำเนินไปอย่างปกติสุข เนื่องจากไม่มีภาษาที่ใช้ในการบันทึก จารีตจึงถูกจดจำและถ่ายทอดผ่านทางวัฒนธรรมต่างๆ เช่น การประกอบพิธีกรรม เพลง คำพังเพย นิทาน ข้อห้าม และมีอยู่ในระบบคุณค่าต่างๆ ตามตำนานเล่าว่า อาเพอหมี่แย เรียกผู้แทนของชาวเผ่าทุกเผ่ามาชุมนุมกันที่วิมานของท่านแล้วมอบ "จารีตบัญญัติ" ให้แก่ทุกเผ่า เล่มที่มอบให้ผู้แทนเผ่าอาข่านั้นทำด้วยหนังควาย ระหว่างทางกลับหมู่บ้านได้ประสบเหตุพิสดารมากมาย และได้ลงความเห็นกันว่าเป็นเพราะ "จารีตบัญญัติ" เล่มนี้ จึงนำหนังควายนั้นไปเผาไฟกินกันหมด นับแต่วันนั้นเป็นต้นมาอาข่าจึงสูญเสียอักขระบันทึกไปหมด แต่ก็ได้รับ "จารีตบัญญัติ" ของ อาเพอหมี่แย เข้าไว้ในร่างกายสืบทอดเผ่าพันธุ์มาจนกระทั่งปัจจุบัน
เครือญาติ แม้จะไม่มีภาษาเขียน แต่ผู้ชายทุกคนสามารถที่จะจดจำชื่อบรรพบุรุษตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงชื่อบิดาของตัวเองได้ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีความยาวตั้งแต่ 50 ชื่อขึ้นไป ชื่อเหล่านี้เริ่มต้นจาก อึ่ม อึ่มมะ อึ่มก๊อง พระเจ้า สรรพสิ่ง เทพบริวาร จนถึงลำดับที่ 12 คือ ซึมมีโอ เทพที่เป็นบรรพบุรุษคนแรกของอีก้อทุกคน อาข่าเชื่อว่าทุกคนเป็นญาติพี่น้องกัน เนื่องจากเมื่อท่องชื่อบรรพบุรุษแล้ว จะสามารถทราบได้ทันทีว่ามีความสัมพันธ์ทางเครือญาติใกล้หรือไกลกันอย่างไร การร่ายรายชื่อบรรพบุรุษจนครบองค์นี้มิได้ทำกันอย่างพร่ำเพรื่อ แต่จะทำกันเฉพาะในพิธีสำคัญเท่านั้น เช่น หากหนุ่มสาวอาข่าต้องการจะแต่งงานอยู่กินกันนั้น พ่อแม่ทั้งสองฝ่ายจะต้องสืบไล่บรรพบุรุษขึ้นไปให้แน่ใจว่า ทั้งสองมิได้ร่วมบรรพบุรุษเดียวกันอย่างเจ็ดชั่วโคตร
ข้อควรปฏิบัติ
ห้ามตัดหรือฟันต้นไม้ในบริเวณรอบๆประตูหมู่บ้าน
ห้ามแตะต้องรูปตุ๊กตาและสิ่งแกะสลักต่างๆ ในบริเวณประตูหมู่บ้าน
ห้ามเข้าไปวิ่งเล่นหรือแสดงอาการลบหลู่ในบริเวณประตูหมู่บ้าน
ห้ามเข้าไปเล่นหรือใช้สิ่งมีคมตัดฟันเสาชิงช้าเล่น



เย้า (เมี่ยน)


ประวัติความเป็นมา
เย้า เรียกตัวเองว่า เมี่ยน (Mien) แปลว่า คน ราชวงศ์ซ่ง (Sung Dynasty) ของจีนมักเรียกว่า เย้า มาจากคำว่า ม่อเย้า หมายถึง ไม่อยู่ในอำนาจใคร เดิมเย้ามีแหล่งกำเนิดแถบตอนกลางของจีน บริเวณลุ่มแม่น้ำฉางเจียว และลุ่มน้ำฮั่นเจีย ต่อมากระจายตัวอยู่มณฑลยูนนาน กวางตุ้ง กวางสี และกุ้ยโจว และได้เคลื่อนเข้าสู่ภาคเหนือของเวียดนาม พม่า ลาว และอพยพจากลาวเข้าสู่ไทย เมื่อประมาณ 145 ปีมาแล้ว ระยะแรกตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณดอยหลวง อ.เชียงของ จ.เชียงราย เมื่อประชากรเพิ่มขึ้นจึงย้ายถิ่นฐานไปตามจังหวัดต่างๆ เช่น เชียงราย พะเยา เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน น่าน และลำปาง ในประเทศไทยมีเย้าอยู่กลุ่มเดียวคือ กลุ่ม เบี้ยนเย้า หรือ พ่านเย้า
การแต่งกาย
ผู้หญิงเย้า มีการแต่งกายที่ดูเด่น แปลกตา ด้วยการโพกศีรษะด้วยผ้าพิเศษมีทั้งสีแดง น้ำเงินปนดำ พันทับกันหลายชั้น และมีลายปักตรงปลายทั้งสองข้างอย่างงดงาม สวมใส่เสื้อคลุมยาวสีดำ ติดไหมพรมสีแดง เป็นแนวทางยาวรอบคอลงมาด้านหน้าถึงหน้าท้อง สวมกางเกงขายาวสีดำปนน้ำเงิน ด้านหน้าของกางเกงปักลวดลายที่ละเอียดประณีตมากมีหลายสีสลับกัน ใช้ผ้าพันคาดเอวหลายๆรอบ นิยมประดับด้วยเครื่องประดับเงิน เช่น ต่างหู สร้อยคอ สร้อยแขน กำไล และแหวน

ผู้ชายเย้านิยมนุ่งกางเกงจีนขายาวสีดำ สวมเสื้อดำอกไขว้แบบเสื้อคนจีน ติดกระดุมที่คอและรักแร้เป็นแนวถึงเอว
ความเชื่อ
ความเชื่อแบบดั้งเดิมของเย้าคือ ความเชื่อเกี่ยวกับผี (Animism) โดยเชื่อว่าทุกหนทุกแห่งมีผีสิงสถิตอยู่ทั้งสิ้น มีทั้งผีดีและผีร้าย แต่ผีที่สำคัญและศักดิ์สิทธิ์ที่สุดคือ ผีใหญ่ ซึ่งมีทั้งหมด 18 ตน ในพิธีใหญ่จะมีการนำภาพผีใหญ่มาประดิษฐานในพิธีนั้นๆ และหมอผีผู้ประกอบพิธีจะต้องแต่งตัวใส่ชุดใหญ่ด้วย เย้าเชื่อว่า มนุษย์เมื่อตายไปแล้ว วิญญาณจะเดินทางไปสู่โลกของความตาย ซึ่งมีทั้งแดนที่ดี คือแดนสวรรค์และแดนไม่ดีคือแดนนรก นอกจากนี้เย้ายังเชื่อว่าตามร่างกายของคนเรานั้น มีขวัญประจำตัวอยู่ตั้งแต่แรกเกิด เรียกว่า "ขวัญเปี้ยง" เมื่อเด็กอายุได้ 12 ปี จะมีพิธีรับขวัญของคนหนุ่มสาวเรียกว่า "ขวัญว่วน" ซึ่งเชื่อว่ามีจำนวน 11 ขวัญ ขวัญเหล่านี้จะอยู่กับร่างกายตลอดไปจนกระทั่งตาย เมื่อตายไปแล้วก็จะกลายเป็นวิญญาณไปเกิดในภพใหม่
เย้าได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมจีนเป็นอันมาก ไม่ว่าจะเป็นภาษาเขียน ภาษาพูด ปรัชญาชีวิต วรรณคดี และพิธีกรรมบางอย่างที่แฝงด้วยลัทธิเต๋า และมีคัมภีร์คำสอนที่จารึกด้วยอักษรจีนด้วย
พิธีกรรมสำคัญ
เย้ามีพิธีกรรมที่สำคัญหลายอย่าง เช่น
พิธีบวช จะจัดขึ้นในช่วงหลังจากเสร็จการเก็บเกี่ยวพืชผลเรียบร้อยแล้ว ให้กับกลุ่มผู้ชายที่อยู่ในสายสกุลเครือญาติเดียวกันและอยู่ในลำดับชั้นรุ่นเดียวกัน เพื่อเป็นการอุทิศบุญกุศลให้แก่บรรพบุรุษ บิดามารดา และสร้างเสริมคุณธรรมทางจิตวิญญาณให้สูงขึ้น การบวชมี 2 อย่างคือ การบวชน้อย จะใช้เวลา 2-3 วัน และการบวชใหญ่ (พิธีโตไซ) จะใช้เวลานานถึง 7 วัน นอกจากนี้ก็มีพิธีแต่งงาน พิธีวันปีใหม่ (ถือตามคติของจีน คือตรงกับตรุษจีนของทุกๆปี) พิธีขึ้นบ้านใหม่ พิธีกินข้าวใหม่ พิธีเลี้ยงผีบรรพบุรุษ (จะจัดขึ้นปีละ 4 ครั้งเป็นอย่างน้อย) และพิธีเลี้ยงผีฟ้า เป็นต้น
ข้อควรปฏิบัติ
ห้ามเข้าหมู่บ้านที่มีไม้กั้นตรงทางเข้าหมู่บ้าน (ปกติจะปิดกั้นในวันแรกของวันปีใหม่)
ห้ามเข้าบ้านที่มีเครื่องหมายเฉลว หรือ ตะแหลว ปักอยู่หน้าประตูบ้าน
ห้ามนำผลิตผลที่เย้าเก็บเกี่ยวได้ครั้งแรกมารับประทาน
ห้ามรับประทานเนื้อสุนัขในหมู่บ้าน
ห้ามยิงปืนในหมู่บ้าน
ห้ามจับหิ้งผี และห้ามถ่ายรูปหรือจับภาพผีใหญ่ ก่อนได้รับอนุญาต
ห้ามปีนยุ้งข้าวหรือยุ้งข้าวโพด

ม้ง




ประวัติความเป็นมา
ม้ง เรียกตนเองว่า "ม้ง" หรือ "ฮม้ง" แปลว่า อิสรชน อพยพมาจากทางเหนือลงทางใต้ของจีน ชนกลุ่มม้งทำการต่อสู้กับการรุกรานของชาวจีนเรื่อยมา กลุ่มหนึ่งยอมสวามิภักดิ์เข้ากับฝ่ายจีน ยอมรับและผสมผสานเข้ากับวัฒนธรรมประเพณีของจีน แต่อีกกลุ่มหนึ่งอพยพถอยร่นลงมาทางใต้ ถึงคาบสมุทรอินโดจีน เข้าสู่เวียดนาม ลาว พม่า และไทย ม้งในประเทศไทยส่วนใหญ่อพยพมาจากประเทศลาว เข้ามาทาง จังหวัดเชียงราย น่าน และเลย
กลุ่มย่อย
ม้งในประเทศไทยแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มย่อยคือ
ม้งน้ำเงินหรือ ม้งจั๊ว และยังมีชื่อเรียกจากชนกลุ่มอื่นแตกต่างไปอีกหลายชื่อ เช่น ม้งเขียว ม้งลาย ม้งดอก ม้งดำ
ม้งขาว เรียกตนเองว่า ม้งเด๊อว์
ม้งกั่วบั้ง หมายถึง ม้งที่สวมเสื้อแบบมีแขนเป็นปล้องๆ มีจำนวนน้อย อาศัยอยู่ในเขต จังหวัดน่าน ส่วนใหญ่ผสมกลมกลืนไปกับม้งน้ำเงินและม้งขาวแล้ว

การแต่งกาย
ในเทศกาลสำคัญม้งนิยมแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่มีเครื่องประดับเงิน ทำเป็นกำไลข้อมือหรือห่วงใส่คอ ผู้ชายม้งขาว นุ่งกางเกงจีบขาบานสีดำ หรือสีน้ำเงิน ผู้หญิงม้งขาว นุ่งกางเกงสีดำหรือน้ำเงิน เป้าไม่ยาน แต่ในพิธีปีใหม่ นุ่งกางเกงสีขาว ไม่ปักลวดลาย ผู้ชายม้งน้ำเงิน นุ่งกางเกงสีดำ มีเป้ายานถึงน่อง ปลายขากางเกงแคบ ส่วนผู้หญิงม้งน้ำเงิน นุ่งกระโปรงจีบ ปักลวดลายสีดำปนน้ำเงิน ขาว และแดง ยาวประมาณถึงเข่า

ความเชื่อ
ความเชื่อของม้ง คล้ายกับชนกลุ่มอื่นคือ เชื่อและนับถือผี ซึ่งมีทั้งผีฝ่ายดีที่ให้คุณแก่มนุษย์ และผีฝ่ายร้ายที่คอยให้โทษ ม้งมีความเชื่อในอำนาจเหนือธรรมชาติ 3 อย่างคือ
โซ้ว ได้แก่ เชื่อในอำนาจของเทพเจ้า หรือเทวดาผู้สร้างโลกและเทพต่างๆ
เน้ง ได้แก่ เชื่อในอำนาจผีดีที่คอยพิทักษ์รักษา
ด๊า ได้แก่ เชื่อในอำนาจของผีที่มีทั้งคุณและโทษ รวมทั้งผีบรรพบุรุษ ม้งเชื่อว่า เมื่อตายไปแล้วจะกลับไปอยู่กับบรรพบุรุษ และขวัญของผู้ตายจะไปเกิดในท้องของหญิงมีครรภ์ และจะเกิดเป็นเพศตรงข้าม
พิธีกรรมสำคัญ
ม้งมีพิธีกรรมสำคัญๆในรอบหนึ่งปี ดังนี้
พิธีวันขึ้นปีใหม่ จัดขึ้นในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 1 หรือ เดือน 2 (ทางจันทรคติ ซึ่งตรงกับประมาณปลายเดือนธันวาคมถึงต้นเดือนมกราคม) เป็นเวลา 5-7 วัน จะมีการเซ่นไหว้ผีและวิญญาณบรรพบุรุษ ผีเตาไฟเล็ก ผีเตาไฟใหญ่ มีการละเล่นรื่นเริงตามประเพณีนิยม เช่น การเล่นลูกช่วง การเล่นลูกข่าง สมาชิกของแซ่สกุลและครอบครัวต่างมาร่วมพิธีกันอย่างพร้อมหน้า
พิธีกรรม "ตู่ซู้" เป็นพิธีเก่าแก่ จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในช่วงเดือนกรกฎาคม-กันยายน และช่วงเทศกาลวันปีใหม่ เป็นพิธีกรรมเพื่อเสริมสร้างกำลังใจให้เข้มแข็ง และมีชีวิตที่เป็นปกติสุข
พิธีแต่งงาน โดยมากจะเป็นหลังช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยวและหลังเทศกาลปีใหม่ ญาติพี่น้องของทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง จะได้รับเชิญมาร่วมเป็นสักขีพยานในการสร้างความสัมพันธ์ทางเครือญาติผ่านการแต่งงานกัน
พิธีงานศพ เป็นงานยิ่งใหญ่งานหนึ่ง นิยมเก็บศพไว้หลายวัน เพื่อรอให้ญาติจากที่ไกลได้มาร่วมพิธี
ข้อควรปฏิบัติ
ห้ามตีกลอง ยิงปืนเล่นในหมู่บ้านในเวลาปกติ เนื่องจากเป็นสัญญาณบอกว่ามีคนในหมู่บ้านตาย
ห้ามเข้าไปในบ้านที่ปิดประตู หรือมีกิ่งไม้ ตะเหลวติดอยู่หน้าบ้าน เพราะเป็นเวลาที่เจ้าของบ้านกำลังอยู่กรรม 1-5 วัน หรือมารดาเด็กอยู่เดือนเป็นเวลา 30 วัน
ห้ามเหยียบธรณีประตู จะทำให้ผีไม่พอใจ และเกิดเจ็บป่วยได้
ห้ามนอนขนานกับหิ้งผี ซึ่งเป็นบริเวณทำพิธีกรรม เชื่อว่าจะนำเหตุร้ายมาสู่เจ้าของบ้าน


ปาดอง (กะเหรี่ยงคอยาว)



ประวัติความเป็นมา
ปาดอง มีชื่อเรียกตนเองว่า แลเคอ หรือ คะยา (Lae Kur or Kayan) คนไทยทั่วไปรู้จักในชื่อว่า กะเหรี่ยงคอยาว (Long Neck Karen) เป็นชนกลุ่มย่อยกลุ่มหนึ่งของกะเหรี่ยงคือ กลุ่มบะเว เดิมตั้งถิ่นฐานอยู่ในรัฐคะยา ทางภาคตะวันออกของพม่า ซึ่งเป็นเขตติดต่อกับประเทศไทย ในประเทศไทยพบว่ามีชาวกะเหรี่ยงคอยาวอาศัยอยู่ประมาณ 30,000 คน ในพื้นที่ อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน และมีบางส่วนถูกอพยพย้ายเข้ามาบริเวณ อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ เพื่อรองรับการท่องเที่ยว
การแต่งกาย
หญิงปาดองมีลักษณะการแต่งกายเป็นที่สะดุดตาแก่ผู้พบเห็นมาก โดยปกติผู้หญิงปาดองจะสวมใส่เสื้อทรงกระสอบสีขาว และสวมเสื้อแขนยาวสีดำทับอีกชั้นหนึ่ง สวมกระโปรงแคบสีดำยาวถึงเข่า นิยมไว้ผมยาวแล้วเกล้าเป็นมวยปักด้วยปิ่นหรือหวี ใช้ผ้าสีผูกปล่อยห้อยลงมา สิ่งที่สะดุดตามากได้แก่ เครื่องประดับห่วงทองเหลืองที่สวมใส่บริเวณรอบคอและน่อง บริเวณน่องจะใช้ผ้าแถบสีดำพันรอบอีกทีหนึ่ง จากการสวมใส่ห่วงทองเหลืองนี่เองจึงทำให้กระดูกส่วนไหล่และไหปลาร้าลู่ทรุดลงมา ทำให้ช่วงห่างระหว่างคอกว้าง จนดูเหมือนว่าคอยาวกว่าปกติ
ห่วงคอทองเหลือง
ตามปกติผู้หญิงปาดองจะเริ่มสวมห่วงคอตั้งแต่อายุ 5-9 ขวบ โดยหมอผีจะเป็นผู้ทำพิธีใส่ห่วงให้ โดยครั้งแรกจะสวมประมาณ 5 วง แล้วค่อยๆเพิ่มจำนวนขึ้นไปเรื่อยๆจนถึง 20 ห่วงหรือมากกว่านั้น ในแต่ละช่วงอายุจะถอดห่วงออกเพื่อเพิ่มขนาดวงให้ยาวขึ้น ประมาณว่าในช่วงชีวิตหนึ่งจะเปลี่ยนขนาดของห่วงประมาณ 9 ครั้ง
ความเชื่อและประเพณี
ปาดองส่วนใหญ่มีความเชื่อในธรรมชาติและนับถือผี (Animism) จะพบเห็นศาลผีอยู่ทั่วไปตามที่ต่างๆ เช่น บริเวณบ้าน ทุ่งนา ลำธาร ฯลฯ มีบางส่วนนับถือศาสนาพุทธและคริสต์ ประเพณีสำคัญของปาดองมักจะควบคู่กันไปกับพิธีกรรมเซ่นไหว้ผี ซึ่งจัดขึ้นในช่วงต้นฤดูฝน เพื่อความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ธัญญาหาร แล้วจึงจัดงานรื่นเริงควบคู่กันไป




ไทลื้อ

ประวัติความเป็นมา
ตามประวัติกล่าวว่าไทลื้อมีถิ่นฐานเดิมอยู่ในเขตสิบสองพันนา และได้ถูกกวาดต้อนมาสู่ล้านนาตั้งแต่ "ยุคเก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง" หรือยุคของการฟื้นฟูและสร้างเมืองลำพูนและเชียงใหม่ในสมัยพระเจ้ากาวิละ (พ.ศ.2325-2356) และตั้งรกรากอยู่ในล้านนาไทยมาจนปัจจุบัน ไทลื้อกระจายตัวอยู่ทั่วไปในหลายจังหวัดภาคเหนือ เช่น เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน ลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่
การแต่งกาย
การแต่งกายของหญิงไทลื้อแบบเดิมคือ การนุ่งซิ่นยาวกรอมเท้า ใส่เสื้อแขนกระบอกสีคล้ำเรียกตามภาษาไทลื้อว่า "เสื้อปั๊ดจ๊าง" แต่ในปัจจุบันก็มีการเลือกสีสันได้ตามใจชอบ ไว้ผมยาวถึงบั้นเอวและเกล้ามวยไว้ตามธรรมเนียมและโพกผ้าสีขาว วิธีมวยผมของหญิงไทลื้อจะเป็นเครื่องบ่งชี้ว่าเป็นหญิงโสดหรือแต่งงานแล้ว การแต่งกายของชายไทลื้อค่อนข้างเรียบง่าย เสื้อและกางเกงทอจากฝ้ายย้อมสีคล้ำอาจเป็นสีดำหรือน้ำเงินหรือสีฝ้ายธรรมชาติ ในการร่วมพิธีสำคัญก็จะมีผ้าโพกหัวเช่นเดียวกับหญิงไทลื้อ ปัจจุบันการแต่งกายได้เปลี่ยนแปลงและมีพัฒนาการไปต่างๆกันแล้วแต่ท้องถิ่น แต่ก็ยังคงรูปแบบหลักๆไว้เช่นเดิม และมักจะสวมใส่ชุดประจำเผ่าเฉพาะในโอกาสสำคัญๆเท่านั้น ในชีวิตประจำวันก็จะแต่งกายเหมือนคนไทยทั่วๆไป
ลักษณะบ้าน
ไทลื้อเรียกแบบบ้านของพวกเขาว่า "หงส์เฮือน" หรือ "เรือนหงส์" ซึ่งมีตำนานกล่าวไว้ว่ามีหงส์เทวดาบินลงมาจากสวรรค์เพื่อมาแนะนำให้บรรพบุรุษของไทลื้อสร้างบ้านใต้ถุนสูงหลังคาลาดต่ำ ซึ่งสามารถกันลมและฝนได้ดีตามลักษณะของหงส์ หลังคาบ้านไทลื้อจะมุงด้วยกระเบื้องไม้หรือ "แป้นเกล็ด" พื้นที่บนบ้านส่วนหนึ่งจะเป็นลานตากข้าวและพืชผัก ท่ามกลางกระแสความเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันทำให้บ้านไทลื้อแบบเดิมเหลืออยู่น้อยมาก ไทลื้ออยู่ผสมกลมกลืนกับชาวไทกลุ่มอื่นๆ และได้ดัดแปลงการสร้างบ้านไปตามสมัยนิยม ปัจจุบันมีเรือนไทลื้อที่ได้รับการอนุรักษ์ให้ชื่นชมได้ภายในบริเวณสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
พิธีกรรมสำคัญ
พิธีกินแขกแต่งดอง เป็นพิธีแต่งงานของไทลื้อ นิยมทำกันหลังเทศกาลออกพรรษา คือ เดือนเกี๋ยงหรือเดือนยี่ คือราวเดือนพฤศจิกายนหรือธันวาคมเป็นต้นไป นิยมทำในเดือนคู่ โดยให้พระสงฆ์หรือผู้รู้ในหมู่บ้านเลือกหามื้อจันวันดีให้ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่คู่บ่าวสาว ปกติงานกินดองจะใช้เวลา 2 วัน วันแรกเรียกว่า "อุ่นดอง" เป็นวันที่ฝ่ายหญิงจัดเตรียมสิ่งของเครื่องใช้และอาหารบางอย่างไว้ล่วงหน้าเพื่อเลี้ยงแขกในวันรุ่งขึ้น วันที่สองเป็นวัน "กินดอง" จะมีแขกซึ่งเป็นญาติของฝ่ายชายและฝ่ายหญิง รวมทั้งชาวบ้านที่มาร่วมงานกันพร้อมหน้า
พิธีทำบุญเสาใจบ้าน เสาใจบ้าน หรือเสาหลักของหมู่บ้าน ไทลื้อจะสร้างเสาใจบ้านขึ้นเมื่อแรกตั้งหมู่บ้านโดยมากมักตั้งอยู่ที่ศูนย์กลาง และถือเป็นที่เคารพของคนในหมู่บ้าน ชาวไทลื้อจะทำบุญเสาใจบ้านหลังสงกรานต์ของทุกปี โดยเชื่อว่าจะช่วยสร้างเสริมความเป็นสิริมงคลให้แก่ตนเองและหมู่บ้าน
พิธีฮ้องขวัญ การฮ้องขวัญ หรือ การเรียกขวัญของชาวไทลื้อ มีลักษณะคล้ายคลึงกับประเพณี ฮ้องขวัญโดยทั่วไปในล้านนา ซึ่งเชื่อว่าคนเรามีขวัญอยู่จำนวน 32 ขวัญ พิธีนี้ทำขึ้นเพื่อเรียกขวัญคนที่ไม่สบายหรือเพิ่งหายจากการเจ็บป่วย ใหม่ให้กลับมาสู่ตัวตน เพื่อมีขวัญและกำลังใจดีขึ้น
พิธีส่งเคราะห์ เป็นพิธีกรรมเพื่อส่งสิ่งชั่วร้ายต่างๆออกไปจากผู้มีเคราะห์หรือผู้ประสบเคราะห์กรรม เพื่อให้อยู่สบาย ปลอดภัยจากโรคภัยไข้เจ็บและอันตรายทั้งปวง
พิธีปูชาเทียน (อ่านว่า "ปู่จาเตียน") การปูชาเทียน หรือ บูชาเทียน เป็นประเพณีการสะเดาะเคราะห์อีกแบบหนึ่งของชาวไทลื้อ เพื่อบูชาหลีกเคราะห์ภัยต่างๆที่มีมาถึงตนเองและครอบครัวรวมทั้งญาติพี่น้อง นิยมประกอบพิธีในวันเข้าพรรษา ออกพรรษา และเทศกาลสงกรานต์ เทียนที่ใช้บูชาคือเทียนไขหรือเทียนขี้ผึ้งธรรมดา เขียนคาถาเป็นอักขระพื้นเมืองซึ่งเป็นอักษรล้านนาบนเทียนไข
พิธีเก็บขวันข้าว พิธีเก็บขวันข้าว หรือ เก็บขวัญข้าว เป็นประเพณีของชาวนาที่ประกอบพิธีภายหลังฤดูเก็บเกี่ยว เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ยุ้งฉางและครอบครัว โดยมีความเชื่อว่าเมื่อได้ทำพิธีเก็บขวัญข้าวแล้ว "กิ๋นอึ่มต๊ก จ๊กอึ่มลง" หมายถึง กินไม่สิ้นเปลือง
พิธีสู่ขวันฅวายพิธีสู่ขวันฅวาย หรือสู่ขวัญควาย เป็นประเพณีที่เตือนใจให้คนเราสำนึกถึงบุญคุณของ สัตว์ที่ได้ช่วยเหลือเกื้อกูลแก่มนุษย์ที่ได้ให้แรงงานไถนาพลิกแผ่นดินเพื่อปลูกข้าว บางครั้งถูกดุด่าเฆี่ยนตีขณะที่กำลังไถคราด เมื่อสิ้นฤดูกาลไถนาจึงประกอบพิธีสู่ขวัญควาย
พิธีแฮกนา การแฮกนา คือ การแรกนา แบ่งออกเป็น 2 ระยะคือ การแฮกนาตอนหว่านกล้าและแฮกนาวันปลูกนา (ดำนา) เพื่อกราบไหว้แม่พระธรณีรวมทั้งเจ้าที่เจ้าทางเพื่อขออนุญาตพลิกแผ่นดินทำกิน
พิธีทานข้าวใหม่และกินข้าวใหม่ การทานข้าวใหม่จะเริ่มในตอนเช้า โดยนึ่งข้าวเหนียวใหม่พร้อมทั้งอาหารไปทำบุญที่วัด เพื่ออุทิศส่วนกุศลของการกินข้าวใหม่ไปยังบุพการีผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว และเป็นการนำข้าวใหม่ไปถวายพระด้วย ภายหลังกลับจากการทำบุญที่วัดก็จะนำข้าวใหม่และอาหารไปให้บุพการีที่ยังมีชีวิตอยู่รับประทานก่อน เมื่อเสร็จแล้วจึงให้พรแก่ลูกหลาน
พิธีทำบุญเสาใจบ้าน
ยอง(ญอง)
คำว่า "ยอง" ซึ่งชาวล้านนาออกเสียงว่า "ญอง" นั้น มิใช่ชื่อเรียกกลุ่มชาติพันธุ์ แต่เป็นชื่อเรียกเมือง คือ "เมืองยอง" ในตำนานเมืองยอง อธิบายคำว่า "ยอง" ไว้ว่า หมายถึง หญ้าชนิดหนึ่งที่เคยขึ้นอยู่ทั่วไปในบริเวณเมืองยอง ต่อมามีนายพรานมาจากอาฬวีนคร (เชียงรุ่ง) เข้ามาเผาหญ้าแผ้วถางป่าเป็นที่เพาะปลูก ทำให้หญ้ายองปลิวไปทั่ว คนเมืองยองสืบเชื้อสายมาจากผู้คนที่อพยพมาจากเมืองเชียงรุ่งและเมืองอื่นๆในสิบสองพันนา ซึ่งเป็นคนลื้อหรือไทลื้อ และเมื่ออพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานครั้งใหญ่ในเมืองลำพูนในปี พ.ศ.2348 คนทั่วไปจึงเรียกว่า "คนเมืองยอง" เพราะในสมัยนั้นรัฐประชาชาติ หรือรัฐชาติ (Nation State) แบบตะวันตกยังไม่เกิดขึ้น ผู้คนต่างบ้านหลายเมืองที่มาอยู่ร่วมกัน จึงเรียกขานกันตามชื่อบ้านเมืองเดิม เช่น คนเมืองเชียงใหม่ คนเมืองลำปาง คนเมืองแพร่ คนเมืองน่าน คนเมืองเชียงตุง ในกรณีของคนเมืองยอง ต่อมาคำว่า เมือง ได้หายไป คงเหลืออยู่แต่คำว่า คนยอง ดังนั้น ยอง จึงมิใช่ชื่อเรียกชาติพันธุ์ และเมื่อวิเคราะห์จากพัฒนาการและภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ของเมืองแล้ว คนยอง ก็คือ คนเผ่าไทลื้อนั่นเอง
หนุ่ม - สาว ชาวยอง ยุค พ.ศ.2535
เมืองยองมีชื่อเป็นภาษาบาลีว่า "มหิยังคบุรี" "มหิยังคะปัพพตคีรี หมายถึง ภูเขาที่ชื่อมหิยังคะ (ดอยจอมยอง) ปัจจุบันเมืองยองตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองเชียงตุง ห่างกันประมาณ 80 กิโลเมตร ห่างจาก อ.แม่สาย จ.เชียงราย ประมาณ 157 กิโลเมตร บริเวณเมืองยองมีลักษณะเป็นแอ่งที่ราบกลางหุบเขา มีภูเขาล้อมรอบ ภูมิประเทศด้านตะวันตกสูงกว่าด้านตะวันออก แม่น้ำสายสำคัญคือ น้ำลาบ น้ำวัง และน้ำยอง จึงไหลไปทางทิศตะวันออก ตำนานเมืองยองได้กล่าวถึงสภาพทางภูมิศาสตร์ของเมืองยองในอดีตไว้ว่า เมืองยองตั้งอยู่ในแอ่งที่ราบลุ่มแม่น้ำยอง ขนาดและพื้นที่ของเมืองไม่กว้างใหญ่นัก ยังรกร้างว่างเปล่า แต่ค่อนข้างมีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเกษตร เพราะมีแหล่งน้ำธรรมชาติและหนองน้ำ จึงนับเป็นแหล่งการเพาะปลูกที่สำคัญแห่งหนึ่ง ทำให้มีผู้คนพากันอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานมาก
ที่ตั้งเมืองยองและอาณาเขตติดต่อ ในปัจจุบันมีคนยองกระจายตัวอยู่ทั่วไปในแถบเมืองต่างๆในรัฐฉานด้านตะวันออกของพม่า, ในเขตสิบสองพันนา มณฑลยูนนานของจีน และภาคเหนือของประเทศไทย โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดลำพูน
เมืองยองในยุคตำนาน
การก่อรูปของเมืองยองในยุคตำนาน น่าจะเริ่มขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 18 เริ่มต้นจากการตั้งถิ่นฐานและสร้างบ้านแปงเมืองของกลุ่มคนพื้นเมือง ได้แก่ พวกทมิล หรือลัวะ มีการสร้างชุมชนเป็นบ้านหรือเวียงขึ้นในบริเวณที่ราบแม่น้ำยอง มีหมู่บ้านลัวะ 7 แห่ง ตั้งกระจายตัวอยู่ในบริเวณแอ่งที่ราบเมืองยอง เริ่มมีการจัดตั้งทางสังคมโดยมีหัวหน้าชาวลัวะชื่อ "ท้าววิรู" (วิรูปักขะ) ต่อมาในระหว่างปี พ.ศ. 1773-1786 เป็นระยะที่เจ้าเมืองยองเป็นคนพื้นเมือง สมัยที่ "ท้าวงาม" เป็นเจ้าเมืองยองนั้น เป็นช่วงเวลาที่เจ้าสุนันทะ ราชบุตรเมืองเชียงรุ่งพาบริวารมาอยู่ที่เมืองยอง และได้ใช้เวลาอีกหลายปีในการออกอุบายกำจัดและสังหารท้าวงามผู้นำชาวลัวะและไพร่พลจำนวนมาก จนสามารถมีอำนาจเหนือพวกลัวะ โดยมีทั้งปัจจัยภายในเป็นสิ่งสนับสนุน ได้แก่ การผสมผสานระบบ ความเชื่อและพิธีกรรมที่มีอยู่แต่เดิมกับพุทธศาสนาที่เข้ามาภายหลังกับได้สร้างความสัมพันธ์กับคนพื้นเมือง ส่วนปัจจัยภายนอก ได้แก่ ความสัมพันธ์ทางเครือญาติและระบบบรรณาการกับกับเมืองเชียงรุ่ง เชียงตุง และการสร้างพันธมิตรทางการเมืองกับกลุ่มเมืองในที่ราบเชียงราย บนฝั่งแม่น้ำโขงตอนกลาง เช่น เชียงแสน เชียงของ เมืองยองในยุคต้นของตำนานจึงมีความสัมพันธ์ทางสังคมและวัฒนธรรมกับเมืองเชียงรุ่งอย่างใกล้ชิด เจ้าสุนันทะทำพิธีราชาภิเษกสถาปนาตนเองขึ้นเป็นเจ้าเมืองยอง โดยเชิญพระญาเชียงตุง เชียงรุ่ง และเชียงแสนมาร่วมด้วย การสถาปนาอำนาจของไทลื้อเชียงรุ่งในเมืองยอง ทำให้เมืองยองรับวัฒนธรรมไทลื้อ และกลายเป็นไทลื้อเมืองยองในเวลาต่อมา ส่วนชาวลัวะที่พ่ายแพ้ ส่วนหนึ่งหนีไปทางล้านช้าง ส่วนหนึ่งเหลืออาศัยอยู่ตามพื้นที่ดอย ในปัจจุบันมีชาวลัวะและชาวดอยเผ่าต่างๆเข้ามาติดต่อค้าขายกับชาวเมืองอยู่เป็นประจำ
ลักษณะบ้านเรือนและสภาพชุมชนเมืองยอง
เจ้าสุนันทะและเชื้อสายรวม 5 รัชกาล ปกครองเมืองยองจนในที่สุดก็สิ้นวงศ์หาเจ้าเมืองไม่ได้ เพราะเชื้อสายเจ้าเมืองมีใจศรัทธาศาสนาและออกบวชกันหมด ขุนนางต้องช่วยกันดูแลบ้านเมือง เมืองยองว่างเจ้าเมืองถึง 65 - 67 ปี
ที่ตั้งของเมืองยองมีสภาพเป็นนครรัฐที่เล็กมาก เนื่องจากมีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา มีพื้นที่ราบน้อย เศรษฐกิจของเมืองยองเป็นการผลิตผลทางการเกษตรเพื่อยังชีพที่มั่นคงถาวร ไม่ใช่เมืองการค้าจึงไม่ใช่เมืองที่มั่งคั่ง นอกจากนี้ที่ตั้งของเมืองยังอยู่บนเส้นทางผ่านของกองทัพ เช่น ทัพฮ่อที่เดินทางจากยูนนานมาเชียงใหม่จะใช้เส้นทางผ่านเมืองยองเพราะเป็นเส้นทางที่ใกล้ เมืองยองจึงเดือดร้อนจากภัยสงครามอยู่เสมอ
เมืองยองมีประตูเวียง 7 ประตู คือ ประตูเสื้อเมือง ประตูน้อย ประตูดินแดง ประตูม่อนแสน ประตูปางหิ่ง ประตูหูหูด และประตูผาบ่อง บริเวณใจกลางเมืองมีต้นสรี หรือต้นโพธิ์ มีไม้ค้ำโดยรอบ ซึ่งแสดงถึงความเชื่อเรื่อง "ไม้ค้ำสรี" เช่นเดียวกับคนเมืองในล้านนา ซึ่งมีความเชื่อว่าธรรมชาติ เช่น ต้นไม้และหนองน้ำ ถือเป็นรากฐานสำคัญในชีวิตมนุษย์ จึงถูกนำมาปรับเป็นคติความเชื่อ ถือว่าเป็นสรี เป็นมิ่งของเมือง หรือของชุมชน ชุมชนคนไทลื้อแถบสิบสองปันนาในปัจจุบัน ยังคงเห็นร่องรอยของการที่ชุมชนให้ความสำคัญแก่ต้นไม้ เช่น ต้นไทร หรือไม้นิโครธ ซึ่งในท้องถิ่นเรียกว่า ต้นลุง โดยชุมชนจะกันพื้นที่บริเวณที่มีต้นไม้ใหญ่เอาไว้ และเรียกบริเวณนั้นว่า ใจบ้าน ซึ่งถือเป็นสถานที่ของส่วนรวม เมื่อมีงานปอยประจำหมู่บ้านก็จะใช้สถานที่ดังกล่าวจัดพิธีกรรมแทนการใช้บริเวณวัด ในตำนานเมืองยอง ได้กล่าวถึงความเชื่อนี้ว่า ในสมัยพญาสุรังควุฒิ เจ้าเมืองยองลำดับที่ 8 (พ.ศ.1945-1984) มีพระอรหันต์ 4 องค์ นำไม้มหาโพธิ์มาปลูก เพื่อหื้อเป็นมิ่งเมือง พร้อมกับปลูกต้นเดื่อไว้คู่กัน เพื่อให้คนและเทวดาได้ไหว้และบูชา เขตเมืองยองในปัจจุบันยังปรากฎไม้สรีใจเมืองหรือต้นโพธิ์ 2 ต้น ที่ชาวเมืองยังคงให้ความสำคัญกับเมืองและความเชื่ออยู่ ต้นแรกอยู่ที่กลางข่วงเมืองหน้าหอคำเจ้าเมืองแต่เดิม และอีกต้นหนึ่งอยู่ที่วัดหัวข่วง
แนวกำแพงเก่าของเมืองยอง
เขตกำแพงเมืองยองมีลักษณะกลมรี ตั้งอยู่บนเนินสูง มีคูน้ำคันดิน ที่ตั้งประกอบด้วยประตูเมืองทั้ง 4 ด้านคือ
ด้านเหนือ ติดกับดอยปางหนาว มีประตูม่อนแสน
ด้านใต้ ติดที่ราบมีแม่น้ำยองไหลผ่าน มีประตูเสื้อเมือง
ด้านตะวันออก ติดที่ราบ มีประตูป่าแดง และประตูน้อย
ด้านตะวันตก ติดเทือกเขา มีประตูปางหิ่ง
ความสัมพันธ์ระหว่างเมืองยองกับเมืองเชียงใหม่
เชียงใหม่มีความสัมพันธ์กับเมืองยองในฐานะที่เป็นฝ่ายแผ่อิทธิพลเข้าครอบครองเมืองยอง เมืองยองตกเป็นเมืองขึ้นของเชียงใหม่ในสมัยพระเจ้าติโลกราช อาณาจักรล้านนาได้แผ่แสนยานุภาพออกไปอย่างกว้างขวาง ได้เมืองยองและเชียงรุ่งเป็นเมืองขึ้น เมืองยองเป็นเมืองขนาดเล็กตั้งอยู่ระหว่างแคว้นสิบสองพันนากับล้านนา เมื่อเชียงใหม่ขยายอำนาจสู่เชียงรุ่ง จำเป็นต้องปราบเมืองยองและเชียงตุงเสียก่อน เมื่อพระเจ้าติโลกราชยึดได้เมืองยองแล้ว ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง โดยเฉพาะพระธาตุจอมยองศูนย์รวมจิตใจของชาวยอง ทรงบูรณะโดยสร้างวิหาร ถวายผู้คนและยกเมืองยองเป็นทานแก่พระธาตุจอมยองทั้งสิ้น ชาวยองที่เป็นข้าทำงานรับใช้พระธาตุ จะได้รับการยกเว้นไม่เสียส่วยหรือภาษี ปัจจุบันยังมีชาวบ้านกอมเป็น "ข้าพระธาตุ" ช่วยกันหาบน้ำขึ้นดอยเพื่อถวายพระธาตุอันแสดงถึงความเชื่อดั้งเดิมที่ยังดำรงอยู่ตลอดมา เมื่อเชียงใหม่ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า เมืองเล็กเมืองน้อยที่เคยเป็นเมืองขึ้นของเชียงใหม่ก็ตกเป็นเมืองของพม่า นับตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 22 เป็นต้นมา เมืองยองขึ้นกับพม่าเกือบตลอดเวลา มีบางเวลาที่พม่าอ่อนแอ จึงเกิดช่องว่างทำให้เมืองอื่นที่เข้มแข็งกว่าเข้ามาแทรกแซง สภาพเมืองยองจึงเดือดร้อนจากศึกสงครามมาก เพราะตั้งอยู่บนทางผ่านของกองทัพ จึงยากที่จะหลีกเลี่ยงภัยสงครามได้
ในสมัยพระเจ้ากาวิละฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่ ได้กวาดต้อนผู้คนจากเมืองยองและเมืองใกล้เคียงลงมาไว้ที่ลำพูน สภาพในเมืองยองจึงมีผู้คนหลงเหลืออยู่จากการถูกกวาดต้อนน้อยเต็มที นโยบายกวดต้อนผู้คนจนกลายเป็นเมืองร้าง สร้างความไม่พอใจแก่เจ้ามหาขนานเชื้อสายเมืองเชียงตุงและเจ้าพุทธวงศาเมืองยอง จึงร่วมกันหันไปขึ้นกับพม่า เพราะเห็นว่าพม่าไม่เคยกวาดต้อนผู้คน ประกอบกับคิดว่าอย่างไรพม่าก็ต้องปราบปรามไว้ในอำนาจอยู่แล้ว ต่อมาเจ้าพุทธวงศาจึงรวบรวมผู้คน 150 หลังคาเศษกลับมาตั้งเมืองใหม่ เมืองยองจึงคืนเป็นบ้านเมืองสืบต่อมาจนปัจจุบัน
คนยองเมืองลำพูน ในระหว่างปี พ.ศ.2325-2347 ก่อนการรื้อฟื้นเมืองลำพูน พระเจ้ากาวิละยังไม่ได้แต่งตั้งให้ผู้ใดเป็นเจ้าเมืองลำพูน จึงยังคงมีสภาพเป็นส่วนหนึ่งของเมืองเชียงใหม่ จนถึงปี พ.ศ.2348 พระเจ้ากาวิละเห็นความจำเป็นที่จะต้องจัดตั้งและฟื้นฟูเมืองลำพูนอันเป็นนโยบายการเตรียมกำลังคนเพื่อสนับสนุนเชียงใหม่เมื่อมีการสงคราม เมืองลำพูนจึงอยู่ในสภาพที่จะรองรับผู้คนที่มาจากเมืองยองและเมืองต่างๆ นอกจากนี้เมืองลำพูนยังอยู่ติดกับเมืองเชียงใหม่ ทำให้สามารถควบคุมดูแลได้โดยง่าย ต่อมาในราวเดือนเมษายน ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 7 พ.ศ.2348 พระเจ้ากาวิละได้มอบหมายให้เจ้าคำฝั้นและบริวารจากเมืองเชียงใหม่ เจ้าบุญมาน้องคนสุดท้องและบริวารจากเมืองลำปาง เจ้าเมืองยองพร้อมด้วยบุตรภรรยา น้องทั้ง 4 ญาติพี่น้อง ขุนนาง พระสงฆ์และไพร่พลจากเมืองยองนับได้ 19,999 คน เข้ามาแผ้วถางเมืองลำพูนที่ร้างอยู่ ต่อมาจึงรื้อฟื้นเมืองลำพูนได้ เจ้าเมืองยอง บุตรภรรยา ญาติพี่น้อง ขุนนาง และพระสงฆ์ระดับสูง ได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณเวียงยอง ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำกวง ส่วนไพร่พลต่างแยกย้ายกันออกไปตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ต่างๆของลำพูน
การที่ชาวยองเข้ามาตั้งถิ่นฐานในเมืองลำพูนอย่างเป็นกลุ่มก้อนเป็นจำนวนมาก ทำให้กลุ่มเจ้าเจ็ดตนที่ปกครองเมืองลำพูนอยู่ ยินยอมให้เจ้าเมืองยองและญาติพี่น้องมีบทบาทและมีส่วนร่วมในการปกครองบ้านเมือง ซึ่งแตกต่างจากเจ้าเมืองอื่นๆที่อพยพเข้ามาในคราวเดียวกัน
แสดงการกระจายตัวของคนยองในภาคเหนือของไทย
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ.2444-2445 ได้จัดทำสำมะโนประชากรเมืองลำพูนเป็นครั้งแรก ในสมัยของเจ้าอินทยงยศโชติ เจ้าผู้ครองนครลำพูนลำดับที่ 9 พบว่ามีประชากรทั้งหมด 199,394 คน ส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมาจากผู้คนที่อพยพมาจากเมืองยองและเมืองอื่นๆที่อยู่ใกล้เคียง เช่น เมืองยู้ เมืองหลวย ซึ่งปัจจุบันอยู่ในสหภาพพม่า และสิบสองพันนาของจีน เมืองลำพูนจึงมีประชากรส่วนใหญ่มากกว่าร้อยละ 89 เป็น คนยอง หรือ ชาวยอง องค์ประกอบด้านประชากรจึงแตกต่างไปจากหัวเมืองอื่นๆในล้านนา การผสมผสานและการปรับตัวของคนยองในเมืองลำพูน จึงไม่ใช่เป็นลักษณะของคนส่วนน้อยในสังคม ดังเช่น กลุ่มชาวเขิน ลื้อ ลัวะ กะเหรี่ยง ยางแดง ไทใหญ่หรือเงี้ยว จีนหรือฮ่อ ที่อพยพเข้ามาในช่วงระยะเวลาเดียวกัน ด้วยเหตุนี้ คนยอง ในเมืองลำพูน จึงยังคงรักษาลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรมบางอย่าง เช่น ภาษาไว้ได้ค่อนข้างยาวนานจนถึงปัจจุบัน

สรุปเหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวกับเมืองยอง

กลุ่มชาวลัวะหรือทมิล ได้จัดตั้งชุมชนในบริเวณหนองน้ำด้านตะวันตกเฉียงเหนือของ เมืองยอง ในราวพุทธศตวรรษที่ 18
ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 18-19 เจ้าสุนันทะ บุตรชายเจ้าเมืองเชียงรุ่ง พาบริวารมาตั้ง ถิ่นฐานและอยู่ร่วมกับคนพื้นเมืองคือชาวทมิลต่อมาได้มีอำนาจปกครองเมืองยอง
พุทธศาสนาจากเมืองเชียงรุ่งได้เผยแผ่เข้ามาถึงเมืองยอง สมัยพระยาสุรังควุฒิ เจ้า เมืองยองลำดับที่ 8 (พ.ศ.1945-1984) มีการนำเอาพระธาตุมาบรรจุและสร้างพระธาตุบนเนินเขาด้านทิศใต้บนฝั่งแม่น้ำยอง เรียก "พระธาตุจอมยอง" และมีการปลูกต้นโพธิ์หรือไม้สรีด้านทิศตะวันออกของตัวเมือง เพื่อเป็นสรีเมือง ปัจจุบันเรียก "ไม้สรีคำ"
พระญาติโลกราชแห่งเมืองเชียงใหม่ ซึ่งในตำนานเมืองยองระบุเป็น พระเจ้าอโศกธัม มิกราช ปกครองเมืองยองเป็นลำดับที่ 9 อยู่ในช่วงสั้นๆ พระพุทธศาสนาได้รับการทำนุบำรุง บ้านเมืองสงบปราศจากศึกสงคราม
ระหว่างปี พ.ศ. 2030-2038 เมืองยองส่งบรรณาการให้ทั้งเมืองเชียงใหม่และเชียงรุ่ง
พ.ศ. 2050-2100 เมืองยองไปขึ้นกับพม่า
พ.ศ.2191 เมืองยองขึ้นกับเมืองเชียงแขง ภายใต้การดูแลของเชียงรุ่ง
หลังปี พ.ศ. 2191 เมืองยองกลับไปขึ้นกับพม่าอีกครั้งหนึ่ง และได้รับมอบหมายให้ดู แลหัวเมืองต่างๆทางตอนบน เจ้าเมืองยองหลายคนพยายามแยกตัวเป็นอิสระจากพม่า แต่ไม่สำเร็จ
พ.ศ. 2348 สมัยเจ้าฟ้าหลวงเมืองยองลำดับที่ 33 เชียงใหม่ได้ส่งกองทัพมากวาดต้อน ผู้คนนับได้ 19,999 คน จากเมืองยองลงมาตั้งถิ่นฐานที่เมืองลำพูน
พ.ศ. 2356 พระเจ้ากาวิละได้พาเจ้าสุริยวงศา เจ้าเมืองลำดับที่ 34 และไพร่พลที่เหลือ อยู่ลงมาที่เชียงใหม่ ลำพูน
พ.ศ.2484 ทหารจีนกองพล 93 กรมที่ 278 จากสิบสองพันนา ยกเข้าตั้งที่เมืองยอง ผู้ คนแตกตื่นหนีออกจากเมืองไปเป็นจำนวนมาก
ระหว่างปี พ.ศ. 2487-2488 กองทัพไทยได้ยกเข้าไปตั้งที่เมืองยองแทนทหารจีนกองพล 93 จนสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ถอยกลับลงมา
สมัยเจ้าหม่อมหงส์คำ เจ้าเมืองลำดับสุดท้ายถึงปี พ.ศ. 2497 รัฐบาลพม่าได้ยกเลิก ตำแหน่งเจ้าเมือง ให้เมืองยองมีฐานะเป็นอำเภอ ขึ้นกับจังหวัดเชียงตุงจนถึงปัจจุบัน
เมืองยองเมื่อปี พ.ศ. 2541 ประกอบด้วยหมู่บ้านประมาณ 79 หมู่บ้าน มีประชากรราว 11,999-13,999 คน ส่วนใหญ่เป็นคนไทลื้อที่อพยพมาจากเมืองต่างๆ ในสิบสองพันนาปะปนกับชาวดอย เช่น แอ่น ว้า อีก้อ ประกอบอาชีพด้านการเกษตร เช่น ทำนา ทำสวน ทำไร่





สถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดร้อยเอ็ด

สถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดร้อยเอ็ด

บึงพลาญชัย

ตั้งอยู่บริเวณกลางเมืองร้อยเอ็ด ถือเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัด มีลักษณะเป็นเกาะอยู่กลางบึงน้ำขนาดใหญ่ มีเนื้อที่ประมาณ 2 แสนตารางเมตร เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ตกแต่งเป็นสวนไม้ดอกขนาดใหญ่ มีพันธุ์ไม้ต่างๆ ร่มรื่น และในบึงน้ำมีปลาชนิดต่างๆ หลายพันธุ์มากมาย มีเรือสำหรับให้ประชาชนได้พายเล่นในบึง นอกจากนั้นยังใช้เป็นสถานที่จัดงานเทศกาลของจังหวัด รวมทั้งจัดมหรสพต่างๆ ภายในบึงพลาญชัยยังมีสิ่งก่อสร้างที่น่าสนใจคือ
ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง เป็นที่เคารพบูชาของชาวร้อยเอ็ด
พระพุทธรูปปางลีลาขนาดใหญ่ กลางสวนดอกไม้
พานรัฐธรรมนูญ และนาฬิกาดอกไม้
ภูพลาญชัย มีลักษณะเป็นสวนสัตว์และน้ำตกจำลอง
สนามเด็กเล่น นกชนิดต่างๆ สวนสุขภาพ เป็นสวนออกกำลังกาย เพื่อให้ประชาชนได้ออกกำลังกาย อันเป็นการเสริมสร้างพลานามัยแก่ชาวร้อยเอ็ด










พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติร้อยเอ็ด

เป็นพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติที่จัดตั้งขึ้นตามโครงการการจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติประจำเมืองเป็นสถานที่จัดแสดงและรวบรวมเรื่องราวน่ารู้ทุกด้านของจังหวัดแห่งนี้ เดิมทีเดียวนั้น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติร้อยเอ็ด จัดตั้งขึ้นตามดำริของท่านศาสตราจารย์ ดร.ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์ ในอันที่จะเป็นพิพิธภัณฑ์ฯ ศิลปหัตถกรรมอีสาน โดยเฉพาะผ้าไหมและผ้าพื้นเมือง ต่อมาเมื่อกรมศิลปากร มีนโยบายในการจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติประจำเมืองจึงได้ทำการปรับปรุงเพิ่มเติมเนื้อหาในการจัดแสดงให้ครอบคลุมข้อมูลเรื่องราวของจังหวัดทุกด้านทั้งด้านภูมิศาสตร์ทรัพยากรธรณีโบราณคดี ประวัติศาสตร์ บุคคลสำคัญ วิถีชีวิต ประเพณี และศิลปหัตถกรรม เริ่มโครงการจัดตั้งมาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2536 ซึ่งเป็นปีที่ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารต่อเนื่องมาจนกระทั่งปี 2540 จึงดำเนินการได้แล้วเสร็จสมบูรณ์ ประกอบด้วยงบประมาณด้านการจัดแสดงนิทรรศการถาวร ปรับสภาพภูมิทัศน์ ติดตั้งระบบไฟฟ้าและระบบปรับอากาศ จัดทำห้องประชุมและนิทรรศการพิเศษปรับปรุงบ้านพักเจ้าหน้าที่ ทั้งนี้เฉพาะการจัดแสดงได้มีการนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่ได้แก่ ระบบสารสนเทศ การทำหุ่นจำลอง และฉากวิถีชีวิตต่าง ๆ เข้ามาประกอบการนำเสนอเรื่องราว ทำให้อาจกล่าวได้ว่าเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งในความดูแลของกรมศิลปากร พิพิธภัณฑ์นี้ตั้งอยู่ที่ถนนเพลินจิต ต. ในเมือง อ. เมือง จ. ร้อยเอ็ด 45000 เปิดทุกวันเวลา 09.00-16.00 น. เว้นวันจันทร์-อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่โทร. 0 4351 4456 หรือ
www.thailandmuseum.com




สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด
สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ตั้งอยู่ที่ถนนสุนทรเทพ (หน้าวัดบึงพระลานชัย) ตำบลในเมือง อำเภอเมือง เป็นอาคาร 2 อาคารเชื่อมต่อกัน อาคารแรกประกอบด้วยห้องโถง ห้องบรรยาย ห้องนิทรรศการ สำนักงาน ห้องจำหน่ายบัตรและของที่ระลึก ส่วนอาคารที่ 2 เป็นอาคารสองชั้น ชั้นล่างเป็นส่วนแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ บางชนิดเกือบจะสูญพันธุ์หรือเป็นพันธุ์ที่หายาก ประกอบด้วยตู้ปลาขนาดเล้กที่ฝังอยู่ในผนังรอบๆอาคาร จำนวน 24 ตู้ กลางอาคารเป็นตู้ปลาขนาดใหญ่ 1 ตู้ กว้าง 8 เมตร ยาว 16 เมตร มีอุโมงค์แก้ว ผ่านกลางตู้สำหรับให้ผู้เข้าชมเดินชมได้อย่างใกล้ชิด ชั้นบนของอาคารเป็นบ่อพักน้ำ ถังกรองน้ำ บ่อพักและสำรองพันธุ์สัตว์น้ำไว้สำหรับสับเปลี่ยนหมุนเวียนกับตู้แสดงพันธุ์สัตว์น้ำที่ป่วยด้านนอกของตัวอาคารจะมีการจัดภูมิทัศน์ให้เหมาะสมแก่ตัวอาคาร โดยจัดเป็นสวนหย่อมและปลูกไม้ดอกไม้ประดับโดยรอบของตัวอาคารพร้อมทั้งจัดให้มีลานจอดรถสำหรับผู้เข้าชมอีก 2 จุด สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำเทศบาลเมืองร้อยเอ็ดนี้เปิดทุกวันเว้นวันจันทร์ อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ระหว่างเวลา 08.30-16.30 น. สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 4351 1286





ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

อินเตอร์เน็ต



อินเตอร์เน็ต : คือ ระบบเน็ตเวิร์กขนาดใหญ่ ที่ต่อเชื่อมระบบต่างๆ ทั่วโลก เข้าด้วยกัน เปรียบเสมือนห้องสมุด สาธารณะชน ขนาดมหึมา ที่ใหญ่ที่สุด ในโลก ก็ว่าได้ ที่มีข้อมูลต่างๆมากมาย และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่างๆ ได้ไม่ว่าจะเป็นการ ค้นคว้าวิจัย หรือ เพื่อความ บันเทิง เป็นต้น
อินเตอร์เนต เป็นคำ ที่หลายคนคุ้นหูและเป็นที่รู้จักกันดีในขณะนี้ นอกจากนั้นมัน ไม่ใช่เป็นแค่ระบบ เน็ตเวิร์กขนาดใหญ่ธรรมดา เท่านั้น แต่มันเป็น อภิมหาเน็ตเวิร์กโลก ( เน็ตเวิร์ก ที่เชื่อต่อกันหลายๆ เน็ตเวิร์ก จาก ทั่วทุกมุมโลกเข้าไว้ด้วยกัน ) ที่ๆ เสมือนถนนที่จะพาผู้ที่เป็นสมาชิกบน เน็ตเวิร์ก ไปได้ ทุกแห่งทุกหนบนโลก อินเตอร์เนต




กว่าจะมาเป็น อินเตอร์เน็ต

อินเตอร์เนต มีการพัฒนาการมาจาก อาร์พาเน็ต ( ARPAnet หรือที่เรียกกัน สั้นๆว่า อาร์พา ที่ตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2512 เป็นเครือข่าย คอมพิวเตอร์ ของกระทรวงกลาโหม ที่ใช้กันในงานวิจัยทางด้าน การทหาร ( ARPA : Advanced Research Project Agency ) จนกระทั่ง มาถึงในปี พ.ศ. 2515 หลังจากที่เครือข่าย ทดลอง ของ อาร์พา ประสบกับความสำเร็จเป็นอย่างมาก ก็ได้มีการปรับปรุง หน่วยงาน จาก อาร์พา มาเป็น ดาร์พา ( Defence Comunication Agency ) และ ในปี พ.ศ. 2526 อาร์พาเน็ต ก็ได้แบ่งออกเป็น 2 เครือข่ายด้วยกัน คือ เครือข่ายด้านงานวิจัย ใช้ชื่อ อาร์พาเน็ต เหมือนเดิม ส่วนเครือข่ายของกองทัพใช้ มิลเน็ต ( MILNET : Military Network ) ซึ่งมีการเชื่อมต่อ โดยใช้ โพรโตคอล TCP / IP ( Transmission Control Protocol / Internet Protocol ) เป็น ครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2528 โดย มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ของ อเมริกา NSF ได้ให้เงิน ทุนในการสร้าง ศูนย์ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ จำนวน 6 แห่ง และให้ใช้ชื่อว่า NSFNET แลพจนกระทั่งพอมาถึงปี พ.ศ. 2533 อาร์พาเน็ต รองรับ ภาระที่เป็น กระดูกสันหลัง ( BackBone ) ของระบบ ไม่ได้ จึงได้ยุติ อาร์พาเน็ต และเปลี่ยนไปใช้ NSFNET และ เครือข่ายอื่นๆ แทน จนมาเป็นเครือข่ายขนาดมหึมา จนกระทั่งถึงทุกวันนี้ และเรียก เครือข่ายนี้ว่า อินเตอร์เนต ( Internet ) โดย เครือข่ายส่วนใหญ่จะอยู่ในประเทศ สหรัฐอเมริกา และ ปัจจุบันนี้ได้มี เครือข่ายย่อย มากถึง 25,000 เครือข่ายเลยทีเดียว







สิ่งที่จำเป็นต้องรู้บนอินเตอร์เน็ต

ที่อยู่บนอินเตอร์เนต หรือ Internet Address จะประกอบด้วยชื่อของผู้ใช้ คอมพิวเตอร์ ( User ) และ ชื่อของ อินเตอร์เนต ( Internet Name ) โดยจะมีรูปแบบคือ ....

ชื่อผู้ใช้@ชื่อของอินเตอร์เนต , yourname@domain.xxx

ตัวอย่างเช่น tick@mail.ksc.net จะหมายถึงว่า ผู้ใช้ ใช้ชื่อ tick เป็นสมาชิก ของศูนย์บริการ หรือ ศูนย์คอมพิวเตอร์ ชื่อ mail ที่มีชื่ออินเตอร์เนตเป็น ksc.net.th หรือ thanop@thaiware.com หมายถึงว่าผู้ใช้ ใช้ชื่อ thanop เป็นสมาชิกของศูนย์คอมพิวเตอร์ที่มีชื่อเป็น thaiware.com หมายเลขอินเตอร์เนต หรือ IP Address จะเป็นรหัสประจำตัวของคอมพิวเตอร์ที่ต่อเข้ากับอินเตอร์เนต โดยหมายเลขนี้จะมีรหัสไม่ซ้ำกัน ประกอบไปด้วยตัวเลขจำนวน 4 ชุด ด้วยกัน ที่คั่นด้วย เครื่องหมายจุด (.) ยกตัวอย่างเช่น 203.151.217.158 ครับ จะเป็นหมายเลข IP Address ของเครื่อง thaiware.com

ชื่ออินเตอร์เนต ( DNS : Domain Name Server ) จะเป็นชื่อที่อ้างถึง คอมพิวเตอร์ ที่ต่อเข้ากับ อินเตอร์เนต เนื่องจาก IP Address เป็น ตัวเลข 4 ชุด ซึ่งเป็นที่ยากในการจำเป็นอย่างมาก และ ไม่ได้สะดวกต่อผู้ใช้ ซึ่ง DNS นี้จะทำให้จดจำได้ง่ายยิ่งขึ้น เป็น mail.ksc.net.th , comnet3@ksc.net.th ( mail คือ ชื่อ คอมพิวเตอร์ , ksc คือชื่อ เครือข่ายท้องถิ่น , net คือ ซับโดเมน , th คือ ชื่อโดเมน )
http://

ประโยชน์ของอินเตอร์เน็ต
อินเตอร์เน็ตเปรียบเสมือนชุมชนเมืองแห่งใหม่ของโลก เป็นชุมชนของคนทั่วมุมโลก จึงมีบริการต่างๆเกิดขึ้นใหม่ตลอดเวลา

1.ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์(Electronic mail=E-mail) ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-mail เป็นการส่งจดหมายผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตโดยผู้ส่งสสามารถส่งข้อความไปยังที่อยู่ของผู้รับ ในรูปแบบของอีเมล์ เมื่อผู้ส่งเขียนจดหมาย แล้วส่งไปยังผู้รับ ผู้รับจะได้รับจดหมายภายในเวลาไม่กี่วินาที แม้จะอยู่ห่างกันคนละซีกโลกก็ตาม นอกจากนี้ยังสามารถส่งแฟ้มข้อมูลหรือไฟล์แนบไปกับอีเมล์ได้ด้วย
2.กรขอเข้าระบบจากระยะไกลหรือเทลเน็ต(Telnet) เป็นบริการอินเน็ตรูปแบบหนึ่งโดยที่เราสามารถเข้าไปใช้งานคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งที่อยู่ไกลๆได้ด้วยตนเอง เช่น ถ้าเราอยู่ที่โรงเรียนทำงานโดยใช้อินเตอร์เน็ตของโรงเรียนแล้วกลับไปที่บ้าน เรามีคอมพิวเตอร์ที่บ้านและต่ออินเตอร์เน็ตไว้เราสามารถเรียกข้อมูลจากที่โรงเรียนมาทำที่บ้านได้ เสมือนกับเราทำงานที่โรงเรียนนั่นเอง
3.การโอนถ่ายข้อมูล(File Transfer Protocol หรือ FTP) เป็นบริการอีกรูปแบบหนึ่งของระบบอินเตอร์เน็ต เราสามารถค้นหาและเรียกข้อมูลจากแหล่งต่างๆมาเก็บไว้ในเครื่องของเราได้ ทั้งข้อมูลประเภทตัวหนังสือ รูปภาพและเสียง
4.การสืบค้นข้อมูล(Gopher,Archie,World wide Web) หมายถึง การใช้เครื่อข่ายอินเตอร์เน็ตในการค้นหาข่าวสารที่มีอยู่มากมายแล้วช่วยจัดเรียงข้อมูลข่าวสารหัวข้ออย่างมีระบบ เป็นเมนู ทำให้เราหาข็อมูลได้ง่ายหรือสะดวกมากขึ้น
5.การแลกเปลี่ยนข่าวสารและความคิดเห็น(Usenet) เป็นการให้บริการแลกเปลี่ยนข่าวสารและแสดงความคิดเห็นที่ผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตทั่วโลกสามารถพบปะกัน แสดงความคิดเห็นของตน โดยมีการจัดการผู้ใช้เป็นกลุ่มข่าวหรือนิวกรุ๊ป(Newgroup)แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเป็นหัวข้อต่างๆ เช่น เรื่องหนังสือ เรื่องการเลี้ยงสัตว์ ต้นไม้ คอมพิวเตอร์และการเมือง เป็นต้น ปัจจุบันมี Usenet มากกว่า15,000 กลุ่ม นับเป็นเวทีขนาดใหญ่ให้ทุกคนจากทั่วมุมโลกแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง
6.การสื่อสารด้วยข้อความ(Chat,IRC-Internet Relay chat) เป็นการพูดคุยกันระหว่างผู้ใช้อินเตอร์เน็ต โดยพิมพ์ข้อความตอบกัน ซึ่งเป็นวิธีการสื่อสารที่ไดัรับความนิยมมากอีกวิธีหนึ่ง การสนทนากันผ่านอินเตอร์เน็ตเปรียบเสมือนเรานั่งอยู่ในห้องสนทนาเดียวกัน แต่ละคนก็พิมพ์ข้อความโต้ตอบกันไปมาได้ในเวลาเดียวกัน แม้จะอยู่คนละประเทศหรือคนละซีกโลกก็ตาม
7.การซื้อขายสินค้าและบริการ(E-Commerce = Eletronic Commerce) เป็นการจับจ่ายซื้อ - สินค้าและบริการ เช่น ขายหนังสือ คอมพิวเตอร์ การท่องเที่ยว เป็นต้น ปัจจุบันมีบริษัทใช้อินเตอร์เน็ตในการทำธุรกิจและให้บริการลูกค้าตลอด24ชั่วโมง ในปี2540 การค้าขายบนอินเตอร์เน็ตมีมูลค่าสูงถึง1แสนล้านบาท และจะเพิ่มเป็น1ล้านล้านบาทในอีก5ปีข้างหน้า ซึ่งเป็นโอกาสทางธุรกิจแบบใหม่ที่น่าสนใจและเปิดทางให้ทุกคนเข้ามาทำธุรกิจได้โดยใช้ทุรไม่มากนัก
8.การให้ความบันเทิง(Entertain) ในอินเตอร์เน็ตมีบริการด้านความบันเทิงในทุกรูปแบบต่างๆ เช่น เกมส์ เพลง รายการโทรทัศน์ รายการวิทยุ เป็นต้น เราสามารถเลือกใช้บริการเพื่อความบันเทิงได้ตลอด24ชั่วโมงและจากแหล่งต่างๆทั่วทุกมุมโลก ทั้งประเทศไทย อเมริกา ยุโรปและออสเตรเลีย เป็นต้น
ที่มา : http://nursejah.multiply.com/journal/item/2





โทษของอินเทอร์เน็ต
ทุกสรรพสิ่งในโลกย่อมมีทั้งด้านที่เป็นคุณประโยชน์และด้านที่เป็นโทษ เปรียบเหมือนเหรียญที่มี 2 ด้านเสมอ ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเลือกใช้อย่างไรให้เกิดผลดีต่อเรา ขอยกตัวอย่างโทษที่อาจจะเกิดขึ้นได้จากการใช้งานอินเทอร์เน็ตดังนี้
โรคติดอินเทอร์เน็ต (Webaholic)
อินเทอร์เน็ตก็เป็นสิ่งเสพติดหรือ?
หากการเล่นอินเทอร์เน็ตทำให้คุณเสียงานหรือแม้แต่ทำลายสุขภาพ นักจิตวิทยาชื่อ Kimberly S. Young ได้ศึกษาพฤติกรรม ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตอย่างมากเป็นจำนวน 496 คน โดยเปรียบเทียบกับบรรทัดฐานซึ่งใช้ในการจัดว่า ผู้ใดเป็นผู้ที่ติดการพนัน การติดการพนันประเภทที่ถอนตัวไม่ขึ้น มีลักษณะคล้ายคลึงกับการติดอินเทอร์เน็ต เพราะทั้งสองอย่างเกี่ยวข้องกับการล้มเหลวในการควบคุมความต้องการของตนเอง โดยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสารเคมีใดๆ (อย่างสุรา หรือยาเสพติด)
คำว่า อินเทอร์เน็ต ในการศึกษาวิจัยเรื่องนี้ หมายรวมถึง ตัวอินเทอร์เน็ตเอง ระบบออนไลน์ (อย่างเช่นบริการ AmericaOn-line, Compuserve, Prodigy) หรือระบบ BBS (Bulletin Board Systems) และการศึกษาวิจัยครั้งนี้ได้ระบุว่า ผู้ที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้อย่างน้อย 4 อย่าง เป็นเวลานานอย่างน้อย 1 ปีถือได้ว่า มีอาการติดอินเทอร์เน็ต
รู้สึกหมกมุ่นกับอินเทอร์เน็ต แม้ในเวลาที่ไม่ได้ต่อกับอินเทอร์เน็ต
มีความต้องการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเวลานานขึ้น
ไม่สามารถควบคุมการใช้อินเทอร์เน็ตได้
รู้สึกหงุดหงิดเมื่อต้องใช้อินเทอร์เน็ตน้อยลงหรือหยุดใช้
ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นวิธีในการหลีกเลี่ยงปัญหาหรือคิดว่าการใชอินเทอร์เน็ตทำให้ตนเองรู้สึกดีขึ้น
หลอกคนในครอบครัวหรือเพื่อน เรื่องการใช้อินเทอร์เน็ตของตัวเอง
การใช้อินเทอร์เน็ตทำให้เกิดการเสี่ยงต่อการสูญเสียงาน การเรียน และความสัมพันธ ์ ยังใช้อินเทอร์เน็ตถึงแม้ว่าต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก
มีอาการผิดปกติ อย่างเช่น หดหู่ กระวนกระวายเมื่อเลิกใช้อินเทอร์เน็ต
ใช้เวลาในการใช้อินเทอร์เน็ตนานกว่าที่ตัวเองได้ตั้งใจไว้
สำหรับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่ไม่เข้าข่ายข้างต้นเกิน 3 ข้อในช่วงเวลา 1 ปี ถือว่ายังเป็นปกติ จากการศึกษาวิจัยผู้ที่ใช้อินเทอร์เน็ตอย่างหนัก 496 คน มี 396 คนซึ่งประกอบไปด้วย เพศชาย 157 คน และเพศหญิง 239 คน เป็นผู้ที่เรียกได้ว่า "ติดอินเทอร์เน็ต" ในขณะที่อีก 100 คนยังนับเป็นปกติ ประกอบด้วยเพศชาย และเพศหญิง 46 และ 54 คนตามลำดับ
สำหรับผู้ที่จัดว่า "ติดอินเทอร์เน็ต" นั้นได้แสดงลักษณะอาการของการติด (คล้ายกับการติดการพนัน) และการใช้อินเทอร์เน็ต อย่างหนักเหมือนกับการเล่นการพนัน ความผิดปกติในการกินอาหารหรือสุราเรื้อรัง มีผลกระทบต่อการเรียน อาชีพ สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของคนคนนั้น ถึงแม้ว่าการวิจัยที่ผ่านมาได้แสดงให้เห็นว่า การติดเทคโนโลยีอย่างเช่น การติดเล่นเกมส์ ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับเพศชายแต่ผลลัพธ์ข้างต้น แสดงให้เห็นว่า ผู้ที่ติดอินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง วัยกลางคนและไม่มีงานทำ
เรื่องอนาจารผิดศีลธรรม(Pornography/Indecent Content)
เรื่องของข้อมูลต่างๆ ที่มีเนื้อหาไปในทางขัดต่อศีลธรรม ลามกอนาจาร หรือรวมถึงภาพโป๊เปลือยต่างๆ นั้นเป็นเรื่องที่มีมานานพอสมควรแล้วบนโลกอินเทอร์เน็ต แต่ไม่โจ่งแจ้งเนื่องจากสมัยก่อนเป็นยุคที่ WWW ยังไม่พัฒนามากนัก ทำให้ไม่มีภาพออกมา แต่ในปัจจุบันภาพเหล่านี้เป็นที่โจ่งแจ้งบนอินเทอร์เน็ตและสิ่งเหล่านี้สามารถเข้าสู่เด็ก และเยาวชนได้ง่ายโดยผู้ปกครองไม่สามารถที่จะให้ความดูแลได้เต็มที่ เพราะว่าอินเทอร์เน็ตนั้นเป็นโลกที่ไร้พรมแดนและเปิดกว้างทำให้สื่อเหล่านี้สามรถเผยแพร่ไปได้รวดเร็วจนเรา ไม่สามารถจับกุมหรือเอาผิดผู้ที่ทำสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาได้
ไวรัส ม้าโทรจัน หนอนอินเตอร์เน็ต และระเบิดเวลา
ไวรัส : เป็นโปรแกรมอิสระ ซึ่งจะสืบพันธุ์โดยการจำลองตัวเองให้มากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อที่จะทำลายข้อมูล หรืออาจทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานช้าลงโดยการแอบใช้สอยหน่วยความจำหรือพื้นที่ว่างบนดิสก์โดยพลการ
ม้าโทรจัน : ม้าโทรจันเป็นตำนานนักรบที่ซ่อนตัวอยู่ในม้าไม้ แล้วแอบเข้าไปในเมืองจนกระทั่งยึดเมืองได้สำเร็จ โปรแกรมนี้ก็ทำงานคล้ายๆ กัน คือโปรแกรมนี้จะทำหน้าที่ไม่พึงประสงค์ มันจะซ่อนตัวอยู่ในโปรแกรมที่ไม่ได้รับอนุญาต มันมักจะทำในสิ่งที่เราไม่ต้องการ และสิ่งที่มันทำนั้นไม่มีความจำเป็นต่อเราด้วย เช่น การแอบส่งรหัสผ่านต่างๆ ภายในเครื่องของเราไปให้ผู้เขียนโปรแกรม
หนอนอินเตอร์เน็ต : ถูกสร้างขึ้นโดย Robert Morris, Jr. จนดังกระฉ่อนไปทั่วโลก มันคือโปรแกรมที่จะสืบพันธุ์โดยการจำลองตัวเองมากขึ้นเรื่อยๆ จากระบบหนึ่ง ครอบครองทรัพยากรและทำให้ระบบช้าลง
ระเบิดเวลา : คือรหัสซึ่งจะทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นรูปแบบเฉพาะของการโจมตีนั้นๆ ทำงานเมื่อสภาพการโจมตีนั้นๆ มาถึง ยกตัวอย่างเช่น ระเบิดเวลาจะทำลายไฟล์ทั้งหมดในวันที่ 31 กรกฎาคม 2542
นอกจากนี้ ยังมีเรื่องหลอกหลวงต่างๆ อีกมากมายที่กลายเป็นข่าวให้เราได้รับทราบอยู่เสมอ การพยายามในการเจาะทำลายระบบเพื่อล้วงความลับหรือข้อมูลต่างๆ ดังนั้น การใช้งานเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจึงต้องมีความระมัดระวังในการใช้งาน มีวิจารณญาณในการรับข้อมูลข่าวสาร กลั่นกรองจากหลายๆ แหล่งเพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อจากเหล่ามิจฉาชีพไฮเทคเหล่านี้


http://www.sci.nu.ac.th/information-it/index.php?topic=5297.0

calendar

สามารถติดต่อได้

ผู้ติดตาม

About this blog

phung

free counters