การแต่งกายของคนภาคเหนือ


วัฒนธรรมการแต่งกายของชนภูเขาเผ่าลีซอ




การแต่งกาย
ลักษณะการแต่งกายของหญิงลีซอมีความโดดเด่นมาก ตั้งแต่ผ้าโพกหัว ที่เป็นทรงป้านกลม ตกแต่งด้วยลูกปัดและพู่ประดับหลากสี เวลาสวมใส่จะส่งให้ใบหน้าของผู้หญิงดูโดดเด่น สวยงาม เสื้อตัวยาวตัดเย็บด้วยผ้าสีสดใสตกแต่งด้วยริ้วผ้าเล็กๆ สลับสี สวมทับ กางเกงขายาว ครึ่งน่องสีดำ มีผ้าคาดเอวที่เมื่อคาดแล้วจะทิ้งชายไปทางด้านหลังเป็นพู่หางม้า ทำจากผ้าหลากสีเย็บเป็นไส้ไก่เส้นเล็กๆ จำนวนกว่า 100 เส้นขึ้นไปเมื่อเคลื่อนไหว พู่จะกวักแกว่งไปด้วยดูน่ารักสวยงามมากและสวมสนับแข้งสีสด
หญิงสาวและหญิงสูงอายุแต่งกายคล้ายกันต่างกันเฉพาะการใช้สี ซึ่งในกลุ่มหญิงสูงอายุจะใช้สีขรึมเข้มกว่า และผ้าโพกหัวก็ใช้ผ้าสีดำโพกพันไว้ ไม่มีลูกปัดและพู่ประดับ
ผู้ชายสวมกางเกงสีสด และสาวเสื้อสีดำตกแต่งด้วยเม็ดเงินคาดเอว ประดับด้วยพู่หางม้าทำจากผ้าเย็บเป็นไส้ไก่สลับสี เวลาคาดเอวจะทิ้งชายลงมาทางด้านหน้า เด็กๆ ยังคงสวมใส่ชุดประจำเผ่าให้เห็นโดยทั่วไป
ผ้าหม้อฮ่อม

หม้อฮ่อม เป็นคำในภาษาพื้นเมืองเหนือมาจากการรวมคำ 2 คำคือคำว่า “หม้อ” และคำว่า “ฮ่อม” เข้าไว้ด้วยกัน โดยหม้อเป็นภาชนะอย่างหนึ่งที่ใช้ในการบรรจุน้ำหรือของเหลวต่างๆ มีทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ส่วนฮ่อมนั้นเป็นพืชล้มลุกชนิดหนึ่ง ที่ชาวบ้านนำเอาลำต้นและใบมาหมักในน้ำตามกรรมวิธีที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ จะให้น้ำเป็นสีกรมท่า และได้สีที่จะนำมาใช้ในการย้อมผ้าขาว ให้เป็นสีกรมท่าที่เรียกกันว่า “ผ้าหม้อฮ่อม”

ผ้าหม้อฮ่อม เป็นชื่อผ้าย้อมพื้นเมืองสีกรมท่าที่สร้างชื่อเสียงให้กับเมืองแพร่มานานแล้ว ในอดีตผ้าหม้อฮ่อมเป็นผ้าฝ้ายทอมือ ที่นำดอกฝ้ายขาวมาทำเป็นเส้นใยแล้วทอด้วยกี่พื้นเมืองเป็นผ้าพื้นสีขาว หลังจากนั้นจึงนำไปตัดเย็บให้เป็นเสื้อแบบต่าง ๆ กางเกงเตี่ยวสะตอ จากนั้นนำมาย้อมในน้ำฮ่อม ที่ได้จากการหมักต้นฮ่อมเอาไว้ในหม้อในปัจจุบันมีการทอผ้าด้วยกี่แบบพื้นเมืองน้อยลงทำให้ผ้าทอมีราคาแพง ในการตัดเย็บเสื้อผ้าหม้อฮ่อมจึงมีการใช้ผ้าดิบจากโรงงานตัดเย็บ ย้อมด้วยน้ำฮ่อมธรรมชาติหรือสีหม้อฮ่อมวิทยาศาสตร์
ผ้าหม้อฮ่อมเป็นสิ่งหนึ่งที่แสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์ของชาวเมืองแพร่ซึ่งจะเห็นได้จากชุดการแต่งกายพื้นเมืองของชาวแพร่จะนิยมสวมใส่เสื้อผ้าหม้อฮ่อมโดยการแต่งกายของชายนั้นนิยมสวมเสื้อหม้อฮ่อมคอกลม แขนสั้น ผ่าอกติดกระดุมหรือใช้สายมัด ลักษณะคล้ายเสื้อกุยเฮงของชาวจีน และกางเกงหม้อฮ่อมขาก้วย ใช้ผ้าขาวม้ามัดเอว
ส่วนการแต่งกายพื้นเมืองของผู้หญิงเป็นเสื้อผ้าหม้อฮ่อมคอกลมแขนยาวทรงกระบอก ผ่าอกติดกระดุม และสวมผ้าถุงที่มีชื่อเรียกว่า “ซิ่นแหล้” ซึ่งเป็นพื้นสีดำมีแถบสีแดงคาดบริเวณใกล้เชิงผ้า ชาวพื้นเมืองต่าง ๆ ในภาคเหนือตั้งแต่อดีตจนปัจจุบันนิยมใช้เสื้อผ้าหม้อฮ่อมที่มาจากแพร่ และถ้าพูดถึงหม้อฮ่อมแท้ต้องเป็นหม้อฮ่อมแพร่เท่านั้น ซื่อเสียงของผ้าหม้อฮ่อมเมืองแพร่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป ทั้งนี้เนื่องจากมีคุณภาพ ความคงทนของเนื้อผ้าและสีหม้อฮ่อมที่ใช้ย้อมผ้า ตลอดจนรูปแบบเรียบง่ายสะดวกต่อการสวมใส่ได้ในหลายโอกาส
ในปัจจุบันแหล่งผลิตเสื้อผ้าหม้อฮ่อมที่บ้านทุ่งโฮ้ง ตำบลทุ่งโฮ้ง อำเภอเมืองแพร่ เป็นแหล่งผลิตที่ใหญ่ที่สุดและมีชื่อเสียงที่สุดประวัติของบ้านทุ่งโฮ้ง ตามคำบอกเล่าของคนแก่ในหมู่บ้าน เล่าว่าบ้านทุ่งโฮ้งเป็นหมู่บ้านของชาวไทพวนที่ถูกกวาดต้อน และอพยพมาจากแขวงเชียงขวาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เมื่อประมาณ พ.ศ. 2340 – 2350 โดยคนกลุ่มแรกได้เดินทางมาถึงเมืองแพร่และได้ตั้งบ้านเรือนอยู่นอกกำแพงเมืองแพร่ ทางทิศเหนือด้านประตูเลี้ยงมา ต่อมาจึงได้ย้ายจากที่เดิม มาตั้งหมู่บ้านขึ้นใหม่บริเวณที่เป็นตั้งบ้านทุ่งโฮ้งใต้ในปัจจุบัน และอยู่กันเรื่อยมา จนประมาณ พ.ศ. 2360 – 2380 จึงมีกลุ่มไทยพวนกลุ่มใหม่อพยพเข้ามาและตั้งหมู่บ้านห่างจากเดิมประมาณ 200 เมตร เป็นหมู่บ้านทุ่งโฮ้งเหนือในปัจจุบัน
ผู้ที่เข้ามาอาศัยอยู่เหล่านี้มีอาชีพทางด้านการตีเหล็ก โดยมีเตาตีเหล็กกันแทบทุกหลังคาเรือน ชาวบ้านที่ตีเหล็กมาเป็นเวลานานได้ตีเหล็กจน “ทั่ง” ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้รองรับการตีเหล็กลึกกร่อนลึกเป็นแอ่งซึ่งภาษาไทพวนเรียกว่า “โห้ง” จึงเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้านทั่งโฮ้ง และต่อมาได้เรียกเสียงเพี้ยนไปเป็นทุ่งโห้ง และทางการได้เขียนเป็นทุ่งโฮ้ง ซึ่งเป็นชื่อของหมู่บ้านในปัจจุบันส่วนอาชีพการตีเหล็กได้เลิกไปประมาณปี พ.ศ. 2450 – 2460 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีบริษัทอิสเชียติคเข้ามาทำไม้ในภาคเหนือ ชาวบ้านทุ่งโฮ้งจึงได้ไปรับจ้างในการชักลากซุงโดยใช้ ล้อเวิ้น เทียมด้วยควายไปชักลาก ชาวไทพวนทุ่งโฮ้งยังคงสืบทอดประเพณีวัฒนธรรมดั้งเดิมของตนหลายอย่างมาจนถึงปัจจุบัน เช่น ประเพณีกำฟ้า แหล่งผลิตเสื้อผ้าหม้อฮ่อมในเมืองแพร่ ผ้าหม้อฮ่อมในเมืองแพร่มีแหล่งผลิตที่สำคัญ 3 แหล่งใหญ่ ๆดังนี้ บ้านพระหลวง ตำบลพระหลวง อำเภอสูงเม่น บ้านเวียงทอง ตำบลเวียงทอง อำเภอสูงเม่น บ้านทุ่งโฮ้ง ตำบลทุ่งโฮ้ง อำเภอเมืองแพร่ การย้อมผ้าด้วยหม้อฮ่อม เพื่อใช้ตัดเย็บเป็นเครื่องนุ่งห่มสำหรับสวมใส่จึงเป็นที่มาของผ้าหม้อฮ่อมในปัจจุบัน วัตถุดิบที่ใช้ในการทำผ้าหม้อฮ่อมแบบโบราณ ใช้วัตถุดิบสำคัญ 2 อย่างดังนี้ คือ ต้นครามหรือต้นฮ่อม น้ำด่างจากขี้เถ้า แหล่งผลิตเสื้อผ้าหม้อฮ่อมในเมืองแพร่ ผ้าหม้อฮ่อมในเมืองแพร่มีแหล่งผลิตที่สำคัญ 3 แหล่งใหญ่ ๆดังนี้ บ้านพระหลวง ตำบลพระหลวง อำเภอสูงเม่น บ้านเวียงทอง ตำบลเวียงทอง อำเภอสูงเม่น บ้านทุ่งโฮ้ง ตำบลทุ่งโฮ้ง อำเภอเมืองแพร่ การย้อมผ้าด้วยหม้อฮ่อม เพื่อใช้ตัดเย็บเป็นเครื่องนุ่งห่มสำหรับสวมใส่จึงเป็นที่มาของผ้าหม้อฮ่อมในปัจจุบัน วัตถุดิบที่ใช้ในการทำผ้าหม้อฮ่อมแบบโบราณ ใช้วัตถุดิบสำคัญ 2 อย่างดังนี้ คือ ต้นครามหรือต้นฮ่อม น้ำด่างจากขี้เถ้า
แหล่งผลิตเสื้อผ้าหม้อฮ่อมในเมืองแพร่ ผ้าหม้อฮ่อมในเมืองแพร่มีแหล่งผลิตที่สำคัญ 3 แหล่งใหญ่ ๆดังนี้ บ้านพระหลวง ตำบลพระหลวง อำเภอสูงเม่น บ้านเวียงทอง ตำบลเวียงทอง อำเภอสูงเม่น บ้านทุ่งโฮ้ง ตำบลทุ่งโฮ้ง อำเภอเมืองแพร่ การย้อมผ้าด้วยหม้อฮ่อม เพื่อใช้ตัดเย็บเป็นเครื่องนุ่งห่มสำหรับสวมใส่จึงเป็นที่มาของผ้าหม้อฮ่อมในปัจจุบัน วัตถุดิบที่ใช้ในการทำผ้าหม้อฮ่อมแบบโบราณ ใช้วัตถุดิบสำคัญ 2 อย่างดังนี้ คือ ต้นครามหรือต้นฮ่อม น้ำด่างจากขี้เถ้า
ขั้นตอน ผ้าฝ้ายทอมือ หรือผ้าดิบ สำหรับตัดเย็บเสื้อ กางเกงแล้วนำมาย้อมด้วยน้ำฮ่อม ต้นครามหรือต้นฮ่อม เพื่อสกัดให้ได้สีสำหรับการย้อมผ้า โดยใช้วิธีการหมักให้เป็นน้ำฮ่อม น้ำด่าง โดยใช้ขี้เถ้าเป็นส่วนผสมของสีฮ่อมที่ได้จากต้นฮ่อม หม้อโอ่งขนาดใหญ่ สำหรับการหมักฮ่อมสำหรับย้อมผ้า ถังแช่ขี้เถ้าและหม้อน้ำด่าง สำหรับแช่ขี้เถ้าทำเป็นน้ำด่างเพื่อใช้ผสมสีฮ่อม หม้อโอ่งขนาดใหญ่ สำหรับการย้อมผ้า ตระกร้าตาห่างๆ ครอบปากหม้อโอ่งสำหรับใส่ผ้าที่จะย้อม ถุงมือเป็นเครื่องมือสมัยใหม่ที่ใช้ป้องกันไม่ให้สีดำติดมือ ในอดีตผู้ที่มีอาชีพย้อมผ้าจะใช้มือกลับผ้าที่ย้อมฮ่อม การย้อมที่ไม่สวมถุงมือทำให้มือของผู้ที่มีอาชีพนี้ติดสีย้อม ราวตากผ้าสำหรับตากผ้าที่ได้ทำการย้อมแล้วให้แห้ง
กรรมวิธี ตัดเย็บผ้าทอหรือผ้าดิบให้เป็นเสื้อกางเกงตามขนาดที่ต้องการให้เรียบร้อย จะได้เสื้อ กางเกง สีขาวที่จะนำไปย้อมฮ่อม โดยนำผ้าเหล่านี้ไปแช่น้ำธรรมดาเป็นเวลา 1 – 2 คืน แล้วนำขึ้นจากน้ำมาผึ่งให้หมาดๆ เตรียมผ้าที่จะย้อมโดยนำตระกร้าตาห่าง ๆ มาวางที่ปากหม้อโอ่ง นำผ้าลงย้อม โดยใส่ลงในตระกร้าตาห่างๆ สวมถุงมือแล้วขยำผ้าให้สีย้อมติดให้ทั่ว นำผ้าที่ย้อมฮ่อมจนทั่วแล้วไปผึ่งแดดจนแห้ง แล้วย้อมซ้ำอีก 5 ครั้ง เมื่อได้สีที่ย้อมติดดีติดทั่วผืน ให้มีความทนทาน ควรนำไปตากแดดจนแห้ง หลังจากการย้อมครั้งสุดท้าย เสื้อ กางเกง แห้งดีแล้ว ซักน้ำครั้งสุดท้ายแล้วลงแป้งข้าวเจ้าในเสื้อกางเกงผ้าหม้อฮ่อม เพื่อรีดให้เรียบได้ง่าย ๆ ก่อนนำไปพับและมัดเป็นมัดๆ เตรียมบรรจุถุงพลาสติก พร้อมที่จะส่งให้กับพ่อค้าที่รับไปจำหน่าย
ในปัจจุบันการตัดเย็บเสื้อผ้าหม้อฮ่อม นับได้ว่าสร้างงานและทำรายได้ ให้กับชาวบ้านทุ่ง โฮ้งเป็นอย่างมาก ทำให้หมู่บ้านนี้ประชาชนมีฐานะทางเศรษฐกิจดีบ้านทุ่งโฮ้งได้เป็นเขตสุขาภิบาลแห่งหนึ่งของจังหวัดแพร่ ซึ่งมีร้านตัดเย็บเสื้อผ้าหม้อฮ่อมตั้งอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งแต่ละร้านต่างก็มีเครื่องหมายและชื่อร้านแตกต่างกันออกไป ส่วนในด้านรูปแบบ ได้มีการปรับปรุงเสื้อผ้าหม้อฮ่อมให้มีแบบที่แตกต่างไปจากเดิมตามความต้องการของตลาดผู้บริโภค ตัดเย็บเป็นเสื้อซาฟารี เสื้อคอเชิร์ต มีทั้งที่เป็นแบบแขนสั้นและแขนยาว เป็นต้น
ตีนจกหม้อฮ่อม การพัฒนางานทอผ้าพื้นเมือง โดยเฉพาะตีนจกในจังหวัดแพร่ ในขณะนี้มีการพัฒนาผ้าตีนจกที่ใช้เส้นใยฝ้ายแท้ๆ ย้อมด้วยฮ่อม และสีธรรมชาติที่ได้จากเปลือกของต้นไม้หลายชนิด ถึงแม้ลวดลายยังไม่เข้าขั้น แต่ก็เคยได้รางวัลประเภทความคิดสร้างสรรค์มาแล้ว หากการทอผ้าตีนจกหม้อฮ่อมนำโดย นางรัตนา เรือนศักดิ์ จากกลุ่มอาชีพบ้านน้ำรัด ตำบลน้ำรัด อำเภอหนองม่วงไข่ จังหวัดแพร่ได้รับการพัฒนาลวดลายอย่างในอำเภอลอง ผ้าจกหม้อฮ่อมก็จะสวยงามและมีเอกลักษณ์ของท้องถิ่นอีกแห่งของจังหวัดแพร่ สีคราม ได้จากฮ่อม สีน้ำตาลอ่อน ได้จากเปลือกต้นลำใย เปลือกต้นสะเดา เปลือกต้นประดู่ สีน้ำตาลอมส้ม ได้จากเปลือกต้นกระท้อนและสีเสียด
ผ้าจกที่ย้อมสีธรรมชาติ บ้านน้ำรัด จ.แพร่
ขอขอบคุณหนังสือ ผ้าทอพื้นเมืองในภาคเหนือ มหาวิทยาศิลปากร




<

เครื่องแต่งกายชาติพันธุ์ล้านนา ไทยวน-โยนก

ไทยวน-โยนก เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในดินแดนล้านนามาเป็นเวลาช้านาน มักเรียกขาน ตัวเองว่า “คน เมือง” อาศัยอยู่แถวพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ในเขตจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน เชียงราย แม่ฮ่องสอน มีภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นเอกลักษณ์ของตน
การแต่งกายของสตรีไทยวน-โยนก สมัยก่อนนิยมเปลือยอกท่อนบน หรือมีการเคียน อก ด้วยผ้าสีเข้ม นิยมนุ่งผ้าที่เย็บเป็นลักษณะกระสอบ เรียกว่า ผ้าซิ่น และส่วนของผ้าซิ่นนั้น ถ้าใช้สวมใส่ในงานโอกาสสำคัญๆ ก็จะนิยมต่อด้วยตีนจก ซึ่งเป็นการทอลายที่เป็นเอกลักษณ์ของไทยวนโบราณ ทรงผมนิยมเกล้ามวยผมไว้กลางศรีษะ หรือส่วนของท้ายทอย นิยมเหน็บดอกไม้ต่างๆเพื่อเป็นการสักการะบูชาเทวดาที่คอยดูแลขวัญหัว เครื่องประดับนิยมเครื่องประดับที่ทำจากเงิน อาทิกำไลเงิน สร้อยเงิน ฯลฯ
การแต่งกายของบุรุษไทยวน-โยนก นิยมเปลือยอกบน นุ่งด้วยผ้าฝ้ายสีเข้ม ลักษณะการนุ่งเป็นการนุ่งแบบ แก๊ตม้าม หรือ แคทมั่ม เพื่อให้สะดวกในการเคลื่อนไหวร่างกาย หรือ คล่องตัวในการทำงานต่างๆที่อาจต้องใช้แรง ผู้ชายไทยวนสมัยโบราณนิยมการสัก ตามแขน ต้นขา เนื่องด้วยความเชื่อเกี่ยวกับไสยศาสตร์ ความคงกระพัน และเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจในการออกรบ



ขอขอบคุณข้อมูลจาก : กองส่งเสริมเสริมศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย



การแต่งกายประจำภาคเหนือภาคเหนือ
มีภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นของตนเอง หรือที่เรียกว่า “คำเมือง” จะใช้กันแพร่หลายในภาคเหนือตอนบน ส่วยภาคเหนือตอนล่างเคยอยู่ร่วมกับสุโขทัย อยุธยาทำให้ประเพณี และวัฒนธรรมมีลักษณะคล้ายกับภาคกลาง
ภาษาพูดจะมีลักษณะช้าและนุ่มนวล เช่น อู้ (พูด) เจ้า (ค่ะ) แอ่ว (เที่ยว) กิ๊ดฮอด (คิดถึง)
การแต่งกายภาคเหนือ ชาวพื้นเมืองจะแต่งกายตามเชื้อชาติโดยทั่วไป
ลักษณะการแต่งกายของคนภาคเหนือการแต่งกาย

เป็นสิ่งสำคัญสิ่งหนึ่ง ที่บ่งบอกเอกลักษณ์ของคนแต่ละพื้นถิ่น สำหรับในเขตภาคเหนือหรือดินแดนล้านนาในอดีต ปัจจุบันการแต่งกายแบบพื้นเมืองได้รับความสนใจมากขึ้น แต่เนื่องจากในท้องถิ่นนี้มีผู้คนหลากหลายชาติพันธุ์อาศัยอยู่ เช่น ไทยวน ไทลื้อ ไทเขิน ไทใหญ่ และอิทธิพลจากละครโทรทัศน์ ทำให้การแต่งกายแบบพื้นเมืองมีความสับสนเกิดขึ้น ดังนั้นคณะทำงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม กลุ่มสถาบันอุดมศึกษาภาคเหนือ จึงได้ระบุข้อไม่ควรกระทำในการแต่งกายชุดพื้นเมือง ของ “แม่ญิงล้านนา” เอาไว้ว่า






ที่มา : http://www.thainame.net/weblampang/fourthai/page2/nort.html

http://www.thaifolk.com/doc/northen.htm

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

calendar

สามารถติดต่อได้

ผู้ติดตาม

About this blog

phung

free counters