วันครู 16 มกราคม 2553

ความหมายของครู
ครู หมายถึง ผู้อบรมสั่งสอน ผู้ถ่ายทอดความรู้ ผู้สร้างสรรค์ภูมิปัญญา และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองของสังคมและประเทศชาติ

ความสำคัญของครู

ในชีวิตของคนเราถือว่า บิดามารดา เป็นผู้มีพระคุณอันสูงสุด เพราะท่านเป็นผู้ให้ชีวิต ให้ความรัก ให้ความเมตตา มีความห่วงใย และเสียสละเพื่อลูก นอกจาก บิดามารดา แล้ว ก็มีครูเป็นผู้มีพระคุณคล้าย บิดามารดา คือ เป็นผู้อบรมสั่งสอนถ่ายทอดวิชาความรู้ให้ รวมทั้งให้ความรัก ความเมตตาต่อศิษย์ทุกคน นับได้ว่าครูเป็นผู้เสียสละที่ไม่แพ้บุพการี

ครูจึงนับเป็นปูชนียบุคคลที่มีความสำคัญอย่างมาก ในการให้การศึกษาเรียนรู้ ทั้งในด้านวิชาการ และประสบการณ์ ตลอดเป็นผู้มีความเสียสละ ดูแลเอาใจใส่ สั่งสอนอบรมให้เด็กได้พบกับแสงสว่างแห่งปัญญา อันเป็นหนทางแห่งการประกอบอาชีพเลี้ยงดูตนเอง รวมทั้งนำพาสังคมประเทศชาติ ก้าวไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง ฉะนั้นวันที่ 6 ตุลาคม จึงได้เป็นวันครูสากล เพื่อคนที่เป็นครูทั่วโลกที่เสียสละนำพาเราทุก ๆคน ไปถึงฝั่งฝันนั่นเองประวัติความเป็นมา

วันครู ได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2500 สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อปี พ.ศ.2488 ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า คุรุสภา เป็นนิติบุคคลให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกัน ก็ทำหน้าที่ให้ความเห็นเรื่องนโยบายการศึกษา และวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษาธิการ ควบคุมจรรยาและวินัยของครู รักษาผลประโยชน์ ส่งเสริมฐานะของครู จัดสวัสดิการให้ครู และครอบครัวได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้ และความสามัคคีของครู
ทุกปีคุรุสภาจะจัดให้มีการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูทั่วประเทศแถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา และซักถามปัญหาข้อข้องใจต่างๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภา เป็นผู้ตอบข้อสงสัย สถานที่ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุมสามัคคยาจารย์ หอประชุมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในระยะหลังใช้หอประชุมคุรุสภา

พ.ศ.2499 ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป.พิบูล สงคราม นายกรัฐมนตรี และประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติศักดิ์ ได้กล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า

"ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือว่า เนื่องจากผู้เป็นครูมีบุญคุณเป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าวันครูควรมีสักวันหนนึ่งสำหรับให้บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลายได้แสดงความเคารพสักการะต่อวันสงกรานต์ เราก็นำเอาอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือครูผู้เสียสละทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการ ทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง"

จากแนวความคิดนี้ กอปรกับความเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่นๆ ที่ล้วนเรียกร้องให้มีวันครูเพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึกถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดีเพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมาก ในปีเดียวกันที่ให้มีวันครูเพี่อเสนอคณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพจารย์ ส่งเสริมความสามัคคีธรรมระหว่างครูและพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างครูกับประชาชน

คณะมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2499 ให้วันที่ 16 มกราคมของทุกปีเป็น "วันครู" โดยถือเอาวันที่ประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2488 เป็นวันครู และให้กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดังกล่าว


งานวันครูได้จัดเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2500 ในส่วนกลางใช้สถานที่ของกรีฑาสถานแห่งชาติเป็นที่จัดงาน ได้กำหนดเป็นหลักการให้มีอนุสรณ์งานวันครูไว้แก่อนุชนรุ่นหลังทุกปี อนุสรณ์ที่สำคัญ คือ หนังประวัติครู หนังสือที่ระลึกวันครู และสิ่งก่อสร้างที่เป็นถาวรวัตถุ




บทสวดเคารพครู

(สวดนำ) ปาเจราจริยาโหนฺติ (รับพร้อมกัน) คุณุตฺตรานุสาสกา

ปญฺญาวุฑฺฒิกเร เต เต ทินฺโนวาเท นมามิหํ

(สวดทำนองสรภัญญะ)

(สวดนำ) อนึ่งข้าคำนับน้อม (รับพร้อมกัน) ต่อพระครูผู้การุณย์

โอบเอื้อและเจือจุน อนุศาสน์ทุกสิ่งสรรพ์

ยัง บ ทราบก็ได้ทราบ ทั้งบุญบาปทุกสิ่งอัน

ชี้แจงและแบ่งปัน ขยายอรรถให้ชัดเจน

จิตมากด้วยเมตตา และกรุณา บ เอียงเอน

เหมือนท่านมาแกล้งเกณฑ์ ให้ฉลาดและแหลมคม

ขจัดเขลาบรรเทาโม หะจิตมืดที่งุนงม

กังขา ณ อารมณ์ ก็สว่างกระจ่างใจ

คุณส่วนนี้ควรนับ ถือว่าเลิศ ณ แดนไตร

ควรนึกและตรึกใน จิตน้อมนิยมชม

(กราบ)

การจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมในวันครู

เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจในบทบาท และหน้าที่ของครู ตลอดจนจรรยามารยาทและวินัยตามระเบียบประเพณีครู และบทบาทหน้าที่ของศิษย์ที่พึงปฏิบัติต่อครู คลอดจนการจัดกิจรรมได้เหมาะสม และมีประสิทธภาพ

กิจกรรมวันครู

การจัดงานวันครูได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกิจกรรมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมตลอดเวลาในปัจจุบันได้จัดรูปแบบการจัดงานวันครูจะมีกิจกรรม 3 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้

1. กิจกรรมทางศาสนา

2. พิธีรำลึกพระคุณบูรพาจารย์ ประกอบด้วยพิธีปฏิญาณตนการกล่าวคำระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์

3. กิจกรรมเพื่อความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบอาชีพครู ส่วนมากเป็นการแข่งขันกีฬา หรือการจัดงานรื่นเริงในตอนเย็น

ปัจจุบันการจัดงานวันครู ได้มีการกำหนดให้จัดพร้อมกันทั่วประเทศ สำหรับส่วนกลางจัดที่หอประชุมคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการจัดงานวันครู ซึ่งมีปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน ประกอบด้วย บุคคลหลายอาชีพร่วมกันเป็นผู้จัด สำหรับส่วนภูมิภาคมอบให้จังหวัดเป็นผู้ดำเนินการ โดยตั้งคณะกรรมการจัดงานวันครูขึ้นเช่นเดียวกับ ส่วนกลางจะจัดรวมกันที่จังหวัดหรือแต่ละอำเภอ

รูปแบบการจัดงานในส่วนกลาง (หอประชุมคุรุสภา) พิธีจะเริ่มตั้งแต่เช้า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภา คณะกรรมการอำนวยคุรุสภา คณะกรรมการการจัดงานวันครูพร้อมด้วยครูอาจารย์และประชาชนร่วมกันใส่บาตรพระสงฆ์จำนวน 1,000 รูป

หลังจากนั้นทุกคนที่มาร่วมงานจะเข้าร่วมพิธีในหอประชุมคุรุสภา นายกรัฐมนตรีเดินทางมาเป็นประธานในงาน ดนตรีบรรเลงเพลงมหาฤกษ์ นายกรัฐมนตรีบูชาพระรัตนตรัย ประธานสงฆ์ให้ศีล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการกล่าวรายงานต่อนายกรัฐมนตรีกล่าวนำพิธีสวดคำฉันท์รำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์

จากนั้นประธานจัดงานวันครู จะเชิญผู้ร่วมประชุมยืนสงบ 1 นาที เพื่อรำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ที่ล่วงลับไปแล้ว ต่อด้วยครูอาวุโสในประจำการ ผู้นำร่วมประชุมกล่าวปฏิญาณ

http://hilight.kapook.com/view/19311
http://www.kroobannok.com/blog/26229
http://blog.eduzones.com/ezine/16419


ส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ 2553













งานรื่นเริงปีส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ 2553 ขอให้มีความสุข ความเจริญ คิดหวังสิ่งใด ขอให้สมดั่งปรารถนาทุกประการ ด้วยความเคารพรักยิ่ง ประวัติความเป็นมา วันปีใหม่ ความหมายของ วันขึ้นปีใหม่ความหมายของวันขึ้นปีใหม่ ตามพจนานุกรม ฉบับราชตบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายของคำว่า " ปี" ไว้ดังนี้ ปี หมายถึง เวลา ชั่วโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครั้งหนึ่งราว 365 วัน : เวลา 12 เดือนตามสุริยคติ ประวัติความเป็นมา วันปีใหม่ มีประวัติความเป็นมาซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยและความเหมาะสม ตั้งแต่ในสมัยเริ่มแรกเมื่อชาวบาบิโลเนียเริ่มคิดค้นการใช้ปฏิทิน โดยอาศัยระยะต่าง ๆ ของดวงจันทร์เป็นหลักในการนับ เมื่อครบ 12 เดือนก็กำหนดว่าเป็น 1 ปี และเพื่อให้เกิดความพอดีระหว่างการนับปีตามปฏิทินกับปีตามฤดูกาล จึงได้เพิ่มเดือนเข้าไปอีก 1 เดือน เป็น 13 เดือนในทุก 4 ปี ต่อมาชาวอียิปต์ กรีก และชาวเซมิติค ได้นำปฏิทินของชาวบาบิโลเนียมาดัดแปลงแก้ไข อีกหลายคราวเพื่อให้ตรงกับฤดูกาลมากยิ่งขึ้นจนถึงสมัยของกษัตริย์จูเลียต ซีซาร์ ได้นำความคิดของนักดาราศาสตร์ชาวอียิปต์ชื่อ โยซิเยนิส มาปรับปรุง ให้ปีหนึ่งมี 365 วัน ในทุก ๆ 4 ปี ให้เติมเดือนที่มี 28 วัน เพิ่มขึ้นอีก 1 วัน เป็น 29 วัน คือเดือนกุมภาพันธ์ เรียกว่า อธิกสุรทิน เมื่อเพิ่มในเดือนกุมภาพันธ์มี 29 วันในทุก ๆ 4 ปี แต่วันในปฏิทินก็ยังไม่ค่อยตรงกับฤดูกาลนัก คือเวลาในปฏิทินยาวกว่าปีตามฤดูกาล เป็นเหตุให้ฤดูกาลมาถึงก่อนวันในปฏิทิน และในวันที่ 21 มีนาคมตามปีปฏิทินของทุก ๆ ปี จะเป็นช่วงที่มีเวลากลางวันและกลางคืนเท่ากัน คือเป็นวันที่ดวงอาทิตย์จะขึ้นตรงทิศตะวันออก และลับลงตรงทิศตะวันตกเป๋ง วันนี้ทั่วโลกจึงมีช่วงเวลาเท่ากับ 12 ชั่วโมง เท่ากัน เรียกว่า วันทิวาราตรีเสมอภาคมีนาคม (Equinox in March) แต่ในปี พ.ศ. 2125 วัน Equinox in March กลับไปเกิดขึ้นในวันที่ 11 มีนาคม แทนที่จะเป็นวันที่ 21 มีนาคม ดังนั้น พระสันตะปาปาเกรกอรี่ที่ 13 จึงทำการปรับปรุงแก้ไขหักวันออกไป 10 วันจากปีปฏิทิน และให้วันหลังจากวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2125 แทนที่จะเป็นวันที่ 5 ตุลาคม ก็ให้เปลี่ยนเป็นวันที่ 15 ตุลาคมแทน (เฉพาะในปี 2125 นี้) ปฏิทินแบบใหม่นี้จึงเรียกว่า ปฏิทินเกรกอเรี่ยน จากนั้นได้ปรับปรุงประกาศใช้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันเริ่มต้นของปีเป็นต้นมา

ความเป็นมาของ วันขึ้นปีใหม่ไทยในอดีต วันขึ้นปีใหม่ของไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงมาแล้ว 4 ครั้งคือ ครั้งแรกถือเอาวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ซึ่ง ตรงกับเดือนมกราคม ครั้งที่ 2 กำหนดให้วันขึ้นปีใหม่ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ตามคติพราหมณ์ ซึ่งตรงกับเดือนเมษายน การกำหนดวันขึ้นปีใหม่ใน 2 ครั้งนี้ ถือเอาทางจันทรคติเป็นหลัก ต่อมาได้ถือเอาทางสุริยคติแทน โดยกำหนดให้วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ.2432 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่โดยเฉพาะตามชนบทยังคงยึดถือเอาวันสงกรานต์เป็น วันขึ้นปีใหม่อยู่ ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ทางราชการเห็นว่าวันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ไม่สู้จะมีการรื่นเริงอะไรมากนัก สมควรที่จะฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ จึงได้ประกาศให้มีงานรื่นเริงวันขึ้นปีใหม่ในวันที่ 1 เมษายน 2477 ขึ้นใน กรุงเทพฯเป็นครั้งแรก การจัดงานวันขึ้นปีใหม่ที่ได้เริ่มเมื่อวันที่ 1 เมษายน ได้แพร่หลายออกไปต่างจังหวัดในปีต่อๆมา และในปี พ.ศ.2479 ก็ได้มีการ จัดใหม่ทั่วทุกจังหวัด วันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ในสมัยนั้นทางราชการเรียกว่า วันตรุษสงกรานต์ ต่อมาได้มีการพิจารณาเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยคณะรัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้น ซึ่งมีหลวงวิจิตรวาทการ เป็นประธานกรรมการ ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 มกราคม โดยกำหนดให้วันที่ 1 มกราคม 2484 เป็น วันขึ้นปีใหม่เป็นต้นไป เหตุผลที่ทางราชการได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ 1 เมษายนมาเป็นวันที่ 1 มกราคม ก็คือ 1. ไม่ขัดกับพุทธศาสนาในด้านการนับวัน เดือน และการร่วมฉลองปีใหม่ด้วยการทำบุญ 2. เป็นการเลิกวิธีนำเอาลัทธิพราหมณ์มาคร่อมพระพุทธศาสนา 3. ทำให้เข้าสู่ระดับสากลที่ใช้อยู่ในประเทศทั่วโลก 4. เป็นการฟื้นฟูวัฒนธรรม คตินิยม และจารีตประเพณีของชาติไทย กิจกรรมที่ชาวไทยส่วนใหญ่มักจะยึดถือปฏิบัติในวันขึ้นปีใหม่ได้แก่ 1. การทำบุญตักบาตร โดยอาจตักบาตรที่บ้าน หรือไปที่วัดหรือตามสถานที่ต่างๆที่ทางราชการเชิญชวนไปร่วมทำบุญ 2. การกราบขอพรจากผู้ใหญ่ และอวยพรเพื่อนฝูง การมอบของขวัญ การมอบช่อดอกไม้ หรือการส่งบัตรอวยพร 3. การจัดงานรื่นเริง การจัดเลี้ยงในหมู่เพื่อนฝูง ญาติพี่น้องหรือตามหน่วยงานต่างๆ วันขึ้นปีใหม่นับเป็นโอกาสดีที่จะทำให้เราได้ทบทวนถึงการดำเนินชีวิตในอดีต เพื่อจะได้แก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในอดีตให้ดีขึ้น กิจกรรมใน วันขึ้นปีใหม่ วันที่ 1 มกราคม ของทุกปี จะมีการทำบุญตักบาตรและอุทิศส่วนกุศลผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ฟังเทศน์ ปล่อยปลา ปล่อยนก อวยพรซึ่งกันและกัน หรืออาจจะส่งการ์ดบัตรอวยพร ของขัวญไหว้ผู้ใหญ่เพื่อรับพร และสรงน้ำพระพุทธรูป ประดับธงชาติ และจะเตรียมทำความสะอาดบ้าน และที่พักอาศัย

เพลงวันปีใหม่ (เพลงพรปีใหม่ เพลงพระราชนิพนธ์ในหลวง)ทำนอง: พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช คำร้อง: พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ สวัสดีวันปีใหม่พา ให้บรรดาเราท่านรื่นรมย์ ฤกษ์ยามดีเปรมปรีดิ์ชื่นชม ต่างสุขสมนิยมยินดี ข้าวิงวอนขอพรจากฟ้า ให้บรรดาปวงท่านสุขศรี โปรดประทานพรโดยปรานี ให้ชาวไทยล้วนมีโชคชัย ให้บรรดาปวงท่านสุขสันต์ ทุกวันทุกคืนชื่นชมให้สมฤทัย ให้รุ่งเรืองในวันปีใหม่ ผองชาวไทยจงสวัสดี ตลอดปีจงมีสุขใจ ตลอดไปนับแต่บัดนี้ ให้สิ้นทุกข์สุขเกษมเปรมปรีดิ์ สวัสดีวันปีใหม่เทอญ เกี่ยวกับ เพลงพรปีใหม่ เพลงพระราชนิพนธ์ พรปีใหม่ เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 13 ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2494 เมื่อเสด็จนิวัตพระนคร และประทับ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต มีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานพรปีใหม่ แก่บรรดาพสกนิกรไทยด้วยเพลง จึงทรงพระราชนิพนธ์เพลง "พรปีใหม่" และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ นิพนธ์คำร้องเป็นคำอำนวยพรปีใหม่ แล้วพระราชทานแก่วงดนตรี 2 วง คือ วงดนตรีนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำออกบรรเลง ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และวงดนตรีสุนทราภรณ์ นำออกบรรเลง ณ ศาลาเฉลิมไทย ในวันปีใหม่ วันอังคารที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2495

งานเทศกาลปีใหม่เมืองพัทยา (Pattaya Countdown 2010)

วันจัดงาน : วันที่ 25 — 31 ธันวาคม 2552
สถานที่จัดงาน : ท่าเทียบเรือท่องเที่ยว(แหลมบาลีฮาย) พัทยาใต้เมืองพัทยา จ.ชลบุรี
กิจกรรม
- กิจกรรมวันคริสต์มาส เปิดไฟประดับถนน
- กิจกรรม Pattaya Countdown 20010
- การออกร้านจากร้านค้าชั้นนำ
- การเล่นเกมส์รับของรางวัล
- การแสดงศิลปะวัฒนธรรมไทย
- การประกวด ร้อง/เต้น
- การเปิดแผ่นของดีเจทั่วฟ้าเมืองไทย
- คอนเสิร์ตจากศิลปินชั้นนำ และชมการจุดพลุสุดอลังการ

สอบถามรายลtเอียดเพิ่มเติม
ททท. สำนักงานพัทยา โทรศัพท์ 038-428-750 , 038-427-667
เมืองพัทยา โทรศัพท์ 038-253-100





ที่มา : http://www.baanmaha.com/web/hothit/62-happynewyear/

http://www.ryt9.com/s/prg/724599

http://www.ryt9.com/s/prg/765117

อาชีพและวิถีชีวิตของคนภาคเหนือ

คนไทยในอาณาจักรล้านนามีชีวิตและความเป็นอยู่โดยการประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา หุบเขา มีพื้นที่ราบจำนวนน้อย คือ ประมาณ1/4 ของพื้นที่ทั้งหมด ชาวบ้านทำนาแบบนาทดน้ำ พื้นที่สูงปลูกข้าวไร่ พื้นที่ที่ราบในแอ่งเขาอุดมสมบูรณ์ ปลูกข้าว และพืชอื่น ๆ ได้ดี คือ พื้นที่ราบแอ่งเชียงใหม่ ลำพูน และแอ่งเชียงราย ส่วนลำปาง แพร่ น่าน ผลิตข้าวได้น้อย ระบบเศรษฐกิจเป็นแบบผลิตเพื่อให้พออยู่พอกิน การติดต่อค้าขายระหว่างกันก็จะเป็นประเภทวัวต่าง สินค้ามีของป่า เกลือ ผ้า อัญมณี เป็นต้น ส่วนการค้าขายในหมู่บ้านก็จะมี “กาดมั่ว” ใครมีของอะไรก็นำมาวางขายได้

คนไทยภาคเหนือนิยมปลูกบ้านอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม เป็นหมู่บ้าน หากพื้นที่ใดอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การทำนา มีแม่น้ำไหลผ่าน ก็จะมีหมู่บ้านตั้งเป็นระยะ ๆ เรื่อยไปตามแม่น้ำ ลักษณะบ้านจะเป็นบ้านไม้ยกสูง มีใต้ถุนโล่ง เป็นที่เก็บของเครื่องมือทำเกษตร และเป็นที่ทำงานหรือพักผ่อนยามว่างได้ด้วย บ้านของชาวเหนือนิยมมุงกระเบื้องหรือชาวบ้านเรียกว่าดินขอ หรือบางครั้งก็มุงด้วยแผ่นไม้สักซึ่งทำเป็นแผ่นเล็ก ๆ แต่โตกว่าแผ่นกระเบื้อง แผ่นไม้สักนี้จะทนแดดทนฝน ถ้าคัดเลือกไม้อย่างดีจะอยู่ได้เกิน 50 ปีขึ้นไปเลยทีเดียว

ถัดจากบ้านก็จะเป็นยุ้งข้าวขนาดใหญ่เล็กตามฐานะ นอกจากนั้นก็จะมีสัตว์เลี้ยง เช่น ไก่ เป็ด วัว ควาย ม้า ถัดบ้านก็เป็นสวนผลไม้ซึ่งรวมถึงพืชผักที่ใช้ประกอบอาหารด้วย

ชาวล้านนามีลักษณะเหมือนคนไทยทั่วไป แต่เป็นเชื้อสายไทยยวน หรือโยนก คนล้านนาเองเรียกคนกลุ่มเดียวกันว่า “คนเมือง” ลักษณะเด่นกว่าคนไทยกลุ่มอื่นคือ ผิวค่อนข้างขาว รูปร่างสันทัดไม่สูง ไม่เตี้ยเกินไป ส่วนใหญ่รูปร่างผอมบาง มีภาษาที่เป็นภาษาถิ่นของตัวเอง หรือที่เข้าใจกันว่า “คำเมือง” ภาษาไทยเหนือมีระบบตัวอักษรบันทึกที่เรียกว่า “อักษรล้านนา” บันทึกเรื่องราวทางพุทธศาสนา คัมภีร์ต่าง ๆ ตลอดจนกฎหมายและความรู้ภูมิปัญญาชาวบ้าน อักษรล้านนานี้ดัดแปลงมาจากอักษรมอญเดิม มีอายุรุ่นเดียวกับอักษรพ่อขุนรามคำแหง หรืออาจเก่ากว่านั้นอีก

ชาวเหนือส่วนใหญ่มีอาชีพทำนา ทำไร่ การทำนาส่วนใหญ่จะเป็นนาดำ ที่ลุ่มมาก ๆ จึงทำนาหว่าน คนเหนือปลูกข้าวเหนียวกันเป็นส่วนใหญ่ เพราะบริโภคข้าวเหนียว ข้าวเหนียวภาคเหนือถือเป็นข้าวที่มีคุณภาพดี นึ่งสุกแล้วขาวสะอาด อ่อนและนิ่มน่ารับประทาน ข้าวพันธ์ที่มีชื่อเสียง คือ ข้าวสันป่าตอง นอกจากทำนาแล้วยังปลูกพืชไร่อื่น ๆ เช่น หอม กระเทียม ถั่ว ยาสูบ เป็นต้น นอกจากปลูกข้าวแล้ว อาชีพทำสวนก็เป็นที่นิยมกัน โดยเฉพาะทำสวนลำไย และลิ้นจี่ นอกจากจะขายให้คนไทยได้รับประทานแล้ว ยังส่งขายต่างประเทศอีกด้วย

ยังมีอาชีพอีกอย่างหนึ่งซึ่งเป็นวัฒนธรรมของชาวเหนือ คือ การทำเมี่ยง ชาวเหนือชอบกินหมากและอมเมี่ยง โดยเอาใบเมียงที่เป็นส่วนใบอ่อนมาหมักให้มีรสเปรี้ยวอมฝาด เมื่อหมักนานได้ที่ เวลาจะเอาใบเมี่ยงมาอม ก็ผสมเกลือเม็ดหรือของกินอย่างอื่นแล้วแต่ชอบ

นอกจากการอมเมี่ยง คนล้านนาทั้งหญิงและชายจะสูบบุหรี่ที่มวนด้วยใบตองกล้วย มวนหนึ่งขนาดเท่านิ้วมือ และยาวเกือบคืบ ชาวบ้านเรียกบุหรี่ชนิดนี้ว่า “ขี้โย” หรือ “บุหรี่ขี้โย” ที่นิยมสูบกันมากอาจเนื่องมาจากอากาศหนาวเย็น การสูบบุหรี่คงทำให้ร่างกายอบอุ่นขึ้น

นอกจากอาชีพเกษตรกรรม ชาวเหนือยังประกอบอาชีพอื่น อาจเรียกได้ว่าเป็นหัตถกรรมหรืออุตสาหกรรมในครัวเรือนก็ได้ คือ ผู้หญิงจะทอผ้าเมื่อเสร็จจากการทำนา นอกจากนั้นยังมีการแกะสลัก การทำเครื่องเงิน เครื่องเขิน และการทำเครื่องเหล็ก เป็นต้น








http://www.thaifolk.com/doc/northen.htm

การแสดงของภาคเหนือ


ฟ้อนโยคีถวายไฟ เป็นกระบวนฟ้อนชุดหนึ่งที่เกิดขึ้นจากดำริของเจ้าแก้วนวรัฐฯ ซึ่งเป็นเจ้าผู้ครองนครองค์สุดท้ายของเชียงใหม่ เป็นการคิดขึ้นเพื่อเตรียมรับเสด็จฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิจฯ เมื่อปีพ.ศ. 2463 โดยจ้างครูฟ้อนชาวพม่ามาถ่ายทอดให้ แล้วมอบหมายหน้าที่ให้ พ่อเลี้ยงน้อยสม สมุทรนาวี คหบดีชาวเชียงใหม่ดำเนินการทั้งหมด การฟ้อนครั้งแรกคราวนั้นใช้ผู้แสดงเป็นชายทั้งหมดเพราะเพลงที่ใช้ร้องเป็นบทร้องของผู้ชาย และท่าฟ้อนเกือบทั้งหมดจะใช้การเคลื่อนไหว ด้วยการเต้นเป็นส่วนใหญ่ มีการแสดงเพียงครั้งเดียว
ต่อมาประมาณปีพ.ศ. 2477 จังหวัดเชียงใหม่ได้รับเชิญไปร่วมแสดงในงานเผยแพร่ วัฒนธรรมประจำภาคที่ท้องสนามหลวง กรุงเทพมหานคร เจ้าแก้วนวรัฐฯ จึงได้ฟื้นฟูการแสดงชุดนี้ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง โดยมอบหมายให้พ่อเลี้ยงน้อยสมเป็นผู้จัดการเช่นเดิม พ่อเลี้ยงน้อยสมได้มอบหมายให้ นางทวีลักษณ์ สามะบุตร หลานสาวเป็นผู้ฝึกหัดช่างฟ้อนชุดใหม่โดยเปลี่ยนเป็น “หญิง” ทั้งหมด เพราะนางเป็นคนหนึ่งที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากครูพม่าคนแรก จุดประสงค์ครั้งแรกของพ่อเลี้ยงน้อยสม สมุทรนาวี (เดิมชื่อ อูลานดู่) ต้องการให้บุตรหลานแสดงต้อนรับกรมพระนครสวรรค์ฯ แต่แม่เลี้ยงบุญปั๋น ผู้เป็นภรรยาไม่ยอมให้บุตรหลานสาวๆ ออกแสดงฟ้อนโยคีถวายไฟ โดยช่างฟ้อนหญิงนี้ เคยจัดให้มีขึ้นอีกก่อนไปแสดงที่กรุงเทพฯ ในงานประจำปีที่โรงเรียนดาราวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2475 ทางโรงเรียนทูลเชิญพระราชชายาฯ เสด็จไปเป็นประธานฯ ทรงทอดพระเนตรชุดนี้ด้วย และทรงพอพระทัยจึงเรียกนางทวีลักษณ์ไปสอนให้ตัวละครของพระองค์ อันได้แก่ นางสมพันธ์ โชตนา นางขิมทอง ณ เชียงใหม่ นางยุพดี สุขเกษม นางอัญชัน ปิ่นทอง นางนวลฉวี เสนาคำ นางสมหมาย ยุกตยุตร นางสมพร สุรจินดา เป็นเหตุให้แพร่หลายมาจนทุกวันนี้
ลักษณะ
การแต่งกายของผู้แสดงชุดนี้ แต่งเป็นชายพม่า โพกผ้า นุ่งโสร่งป้าย (ข้าง) หน้า มือถือไม้เท้า ใช้วงปี่พาทย์บรรเลงประกอบการฟ้อน แต่ไม่มีการร้อง และมักจัดผู้แสดงฟ้อนเป็นคู่ จัดรูปการแสดงแบบปกติ คือ คู่หน้าหรือคู่ที่หนึ่ง อยู่หน้าสุดติดขอบเวที คู่ที่สอง แสดงอยู่ต่ำลงมา ผู้แสดงทั้งสองจะยืน (ระยะ) แคบลงมา คู่ที่สาม แสดงอยู่ต่ำกว่าคู่ที่สอง ยืนแสดงแคบกว่าคู่ที่สอง ในวงการนักแสดงนักวิชาการนาฏศิลป์ เรียกว่า “ยืนเป็นรูปปาก (ปลา) ฉลาม” ท่ารำส่วนมากเป็นการเต้นตามจังหวะเพลงมากกว่ารำ
การฟ้อนโยคีถวายไฟดังกล่าว จะเห็นได้ว่าก่อนนั้นเป็นการแสดงเชิงนาฏศิลป์ทั่วไป ภายหลังพบว่ามีการนำไปแสดงหน้าเมรุก่อนมีการเผาศพ ด้วยเห็นว่ามีคำว่า “ถวายไฟ” และได้เห็นตัวอย่างจากการแสดงโขนหน้าไฟของภาคกลางด้วย
ปัจจุบันฟ้อนชนิดนี้หาดูได้ยาก อาจเป็นเพราะคิดกันไปว่าเป็นการแสดงหน้าศพซึ่งเป็นงานอวมงคล จึงเป็นสาเหตุให้ลดความนิยมลงไป















การฟ้อนสาวไหม เป็นการฟ้อนที่ประดิษฐ์ขึ้นโดย พ่อครูกุย สุภาวสิทธิ์ ชาวบ้านตำบลแม่ก๊ะ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเรียนเชิงมาจากพ่อครูปวน คำมาแดง บ้านร้องวัวแดง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งพ่อครูกุย สุภาวสิทธิ์ ได้เป็นครูเชิง หรือผู้สอนฟ้อนเชิง คือการฟ้อนด้วยมือเปล่าของผู้ชายในลีลาท่ารำในเชิงต่อสู้ ต่อมาประมาณ พ.ศ. ๒๔๙๕ "พ่อครูกุย"ได้ย้ายไปตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ละแวกวัดศรีทรายมูล ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย และพ่อครูกุย ได้ถ่ายทอดการฟ้อนให้แก่บุตรสาว คือ แม่ครูบัวเรียว(สุภาวสิทธิ์)รัตนมณีภรณ์ เมื่อแม่ครูอายุราว ๗ ขวบ
ต่อมาพ่อครูโม ใจสม ชาวมอญพระประแดงซึ่งเป็นนักดนตรีนาฏศิป์ไทยจากเชียงใหม่ ได้อพยพไปอยู่ในละแวกเดียวกันด้วย ซึ่งพ่อครูโมก็ได้ช่วยฟื้นฟู "วงกลองเต่งถิ้ง" ของวัด สอนนาฏศิลป์ และดนตรีไทยจนมีนักดนตรีไทยฝีมือดีหลายคน ในช่วงเวลานั้นแม่ครูบัวเรียวได้ฝึกนาฏศิลป์กับพ่อครูโมด้วย เมื่อมีงานฉลองในวัดที่เกี่ยวข้องกับวัดศรีทรายมูลแล้ว เจ้าอาวาสและคณะศรัทธาก็มักจะนำดนตรีและช่างฟ้อนมาร่วมในงาน ซึ่งแม่ครูบัวเรียวก็ได้ไปร่วมฟ้อนด้วย โดยเพาะแม่ครูมักจะฟ้อนสาวไหมเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งแม่ครูได้ดัดแปลงลีลาการฟ้อนสาวไหมเชิงต่อสู้แบบชายให้เข้ากับบุคลิกของสตรี คือให้อ่อนช้อยงดงามและให้ลงจังหวะดนตรี แบบนาฏศิลป์ไทย ขณะเดียวกันดนตรีประกอบการฟ้อนแต่เดิมใช้ดนตรีพื้นเมืองประเภทใดก็ได้นั้น ก็เริ่มใช้วงกลองเต่งถิ้ง บรรเลงเพลงพื้นเมือง เช่น ปราสาทไหว และฤๅษีหลงถ้ำ ซึ่งต่อมาเห้นว่าไม่กระชับ จึงเลือกใช้เพลง"สาวไหม" แทนซึ่งเพลงนี้ ท่านผู้รู้บางท่าน ก็ว่าเป็นเพลงที่พ่อครูโมดัดแปลงจากเพลง"ลาวสมเด็จ"เพื่อใชประกอบการฟ้อนสาวไหม
ประมาณ พ.ศ. ๒๕๐๓ คณะศรัทธาจากวัดศรีทรายมูลได้ไปช่วยการฟ้อนที่วัดถ้ำปุ่มถำปลา อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ครั้งนั้น นายอินทร์หล่อ สรรพศรี ซึ่งเป็นนักดนตรีไทยชั้นครูของเชียงรายได้ไปเห็นการฟ้อนของแม่ครูบัวเรียวด้วย ต่อมานายอินทร์หล่อ ได้ชมการฟ้อนของแม่ครูบัวเรียวที่งานวัดพระแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย และได้เชิญให้พบกับภรรยาของตนคือ แม่ครูพลอยศรี สรรพศรี ซึ่งเป็นช่างฟ้อนในคุ้มของเจ้าแก้วนวรัฐฯ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งได้รับการถ่ายทอดจากพระราชชายาเจ้าดารารัศมีด้วย "แม่ครูพลอยศรี" ได้ปรับปรุงแก้ไขท่าฟ้อนของแม่บัวเรียว จากเดิม มี๑๓ ท่าฟ้อนให้เป็น ๒๑ ท่าฟ้อน
แต่ถึงกระนั้นการฟ้อนแบบต้นฉบับของแม่ครูบัวเรียวยังเป็นที่นิยมถ่ายทอดแก่ลูกศิษย์อยู่อย่างต่อเนื่อง
ท่าฟ้อนต้นฉบับแม่ครูบัวเรียว
โดยท่าฟ้อนของแม่ครูบัวเรียวที่เป็นมาตรฐาน มี ๑๖ ท่าฟ้อน ดังนี้
1.ไหว้ (เทพนม)
2.บิดบัวบาน
3.พญาครุฑบิน
4.สาวไหมช่วงยาว
5.ม้วนไหมซ้าย
6.ม้วนไหมขวา
7.ตากฝ้าย (เป็นท่าใหม่ที่แม่ครูบัวเรียว ได้เพิ่มเติม ประมาณปี พ.ศ. ๒๕๔๔)
8.ม้วนไหมใต้เข่า
9.ม้วนไหมใต้ศอก
10.พุ่งหลอดไหม
11.สาวไหมรอบตัว
12.คลี่ปมไหม
13.ปูเป็นผืนผ้า
14.พับผ้า
15.พญาครุฑบิน
16.ไหว้ ตอนจบ
(เพิ่มและเปลี่ยนแปลงท่าฟ้อนที่ ๑,๗,๑๒,๑๓,๑๔,๑๕,๑๖ โดยนายรัตนะ ตาแปง)
ท่าฟ้อนของแม่ครูพลอยศรี
โดยท่าฟ้อนของแม่ครูพลอยศรี มี ๒๑ ท่าฟ้อนดังนี้
1.ไหว้
2.บิดบัวบาน
3.บังสุริยา
4.ม้วนไหมศอซ้าย
5.ม้วนไหมศอกขวา
6.ม้วนไหมซ้ายล่าง
7.ม้วนไหมขวาล่าง
8.สาวไหมกับเข่าซ้าย
9.ม้วนไหมวงศอก
10.สาวไหมช่วงสั้นรอบตัว
11.ว้นไหมซ้าย
12.สาวไหมช่วงยาวรอบตัว
13.คลี่ปมไหม
14.พุ่งกระสวยเล็ก
15.สาวขึ้นข้างหน้า
16.ขึงไหมข้างหน้า
17.ม้วนไหมเป็นขดโดยใช้ศอกซ้าย
18.ม้วนไหมเป็นขดโดยใช้ศอกขวา
19.สาวรอบตัวอีกครั้ง
20.เอามาม้วนใต้ศอกซ้ายอีก
21.ไหว้
เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
การฟ้อนสาวไหมนี้ เป็นท่าหนึ่งของเชิงสาวไหมที่มักเรียกกันในภายหลังว่า "สาวไหมลายเจิง" แม่ครูบัวเรียวได้เล่าว่าเมื่อครั้งเล็ก พ่อครูกุยได้สอนเชิงสาวไหมให้กับหนุ่มๆ ในละแวกบ้าน และได้ปรับเอาท่าสาวไหมในเชิงนั้นมาคิดประดิษฐ์เป็นฟ้อนสำหรับผู้หญิง โดยนำไปผสมผสานกับวิถีชีวิตของชาวบ้านที่ปลูกฝ้ายเพื่อนำมาทอผ้า จึงได้นำวิถีชีวิต กระบวนการทอผ้ามาผสมผสานกับเชิงสาวไหมจนกลายเป็น "ฟ้อนสาวไหม" ให้กับลูกสาวคือแม่ครูบัวเรียวนั่นเอง
แต่ปัจจุบันนี้ มีผู้เข้าใจผิดคิดว่าการฟ้อนสาวไหมนั้น 'ประดิษฐ์มาจากการปลูกหม่อน เลี้ยงไหม เพื่อนำมาทอเป็นผ้าไหม' อยู่มากมายรวมไปถึงวิทยาลัยนาฏศิลป์เชียงใหม่ที่ได้นำการฟ้อนสาวไหมมาปรับปรุงด้วยเช่นกัน อาจจะเป็นเพราะความไม่เข้าใจในภาษาล้านนาอย่างลึกซึ้ง จึงตีความว่าเป็นการฟ้อนที่เลียนแบบการทอผ้าไหม ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว คำว่า "ไหม" ในภาษาล้านนา หมายถึงเส้นด้าย รวมถึงสิ่งที่มีลักษณะเป็นเส้นเล็กบาง เช่น ฝ้ายไหมมือ ก็คือเส้นด้ายที่ใช้ผูกข้อมือให้ศีลให้พร เป็นต้น
หลักฐานที่สนับสนุนว่าการฟ้อนสาวไหม หมายถึงการฟ้อนที่ประดิษฐ์มาจากกระบวนการทอผ้าฝ้ายไม่ใช่ผ้าไหม ก็คือ สภาพความเป็นอยู่ การปลูกต้นฝ้ายเพื่อใช้ทอเป็นผ้าฝ้ายของชาวล้านนาตั้งแต่อดีตนั่นเอง ในล้านนามีการเลี้ยงไหมอยู่น้อยมากจนไม่อาจจะเรียกได้ว่าการปลูกหม่อน เลี้ยงไหมเป็นวัฒนธรรมของล้านนา
อีกทั้งได้สอบถามยังครูเชิงหลายท่าน ทุกท่านต่างยืนยันว่าท่าสาวไหมในเชิงของล้านนา ไม่ได้หมายถึงการสาวเส้นไหมอย่างแน่นอน
แม่ครูบัวเรียว รัตนมณีภรณ์ ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมในชื่อของฟ้อนสาวไหมว่า พ่ออุ้ยกุย สุภาวสิทธิ์ เห็นว่าคำว่าฟ้อนสาวไหม มีรูปภาษาที่สวยงามกว่าคำว่า ฟ้อนสาวฝ้าย ดังนั้นจึงเห็นว่าควรใช้ สาวไหม จะมีความงามทางด้านภาษามากกว่า
ฟ้อนสาวไหม เป็น ฟ้องที่แฝงด้วยปรัชญาชีวิต ว่า ชีวิตทุกชีวิตต้องมีอุปสรรค ดั่งการสาวไหมต้องเจอปม เมื่อคลี่ปมไหมให้ดี และถักทอเป็นผืนผ้าได้สวยงามก็ เปรียบดังชีวิตที่ต้องต่อสู้ฝ่าฟันด้วยความเพียรและอดทนผ่านพ้นอุปสรรคปัญหาต่างๆ มาได้ เป็นต้น























ฟ้อนยอง เป็นฟ้อนที่ประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่เมื่อพ.ศ. 2534 โดยโครงการอนุรักษ์และเผยแพร่วัฒนธรรมท้องถิ่น (ฟ้อนยอง) ซึ่งเป็นกิจกรรมหนี่งในโครงการโรงเรียมัธยมศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม(มพชส.)ของโรงเรียนวชิรป่าซางร่วมกับสภาตำบลนครเจดีย์ และกรรมการนำสตรีตำบลนครเจดีย์ อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมของชาวยอง เนื่องจากพื้อนที่อำเภอป่าซางประชากรส่วนใหญ่มีเชื้อสายยองหรือเรียกว่า "คนยอง" ซึ่งมีประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของตนสืบทอดกันมาช้านานดังนั้นจึงสร้างรูปแบบทางวัฒนธรรมของชาวยองขึ้นมาในรูปของการฟ้อนรำ เพื่อเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวทางวัฒนธรรมร่วมกันของชาวยองและเผยแพร่ให้ปรากฏแก่คนทั่วไป
การแต่งกาย
ผู้ฟ้อนจะแต่งกายแบบกุลสตรีชาวยอง โดยสวมเสื้อแบบปกป้าย ผูกมัดชายข้างคล้ายเสื้อของชาวจีนในมณฑลยูนาน ประเทศจีน นุ่งผ้าซิ่นลายน้ำไหล ต่อชายซิ่นสีเขียว โพกผ้าขาวเคียนรอบศีรษะ เกล้าผมมวย และประดับด้วยเครื่องเงิน
ท่าฟ้อน
ท่าฟ้อนยองประกอบด้วยท่าต่าง ๆ15 ท่า ซึ่งมีชื่อเรียกในภาษายองและชื่อแปลเป็นไทยกลางดังนี้
ภาษายอง
1.ผะกาศักดิ์ศรี
2.แม่ยิงจาวยอง
3.จ๋าฮีตยิ่งใหญ่
4.สิบสองปันนา
5.ฮักสาจ๋าฮีต
6.อิ่นดูขุนนา
7.จ๋าฮีตดีแต้
8.หั่กปี่หั่กน้อง
9.จาวยองหั่กกั๋น
10.น้ำใจ๋ใยดี
11.ป้อมเปงฮงหน้า
12.ไหว้สาพระธาตุ
13.หั่กสาความจิ่ง
14.ความดีตี่ปึ่ง
15.ยอบเข่าไหว้สา
ภาษาไทยกลาง
1.(ประกาศศักดิ์ศรี)
2.(สตรีชาวยอง)
3.(ผุดผ่องวัฒนธรรม)
4.(ล้ำเลิศบรรพบุรุษ)
5.(สูงสุดประเพณี)
6.(เอื้ออารีมาแท้)
7.(เผยแพร่วัฒนธรรม)
8.(รักล้ำพี่น้อง)
9.(ชาวยองสามัคคี)
10.(ไมตรีเป็นเลิศ)
11.(ประเสริฐงานบุญ)
12.(เพิ่มพูนกุศล)
13.(ผู้คนรักษาสัตย์)
14.(ปฏิบัติความดี)
15.(อัญชลีกราบไหว้)
เพลงบรรเลงประกอบการฟ้อน
ใช้เพลง "ฝ้ายคำ" ซึ่งแต่งโดยนายสุชาติ กันชัย เมื่องครั้งยังเป็นนักศึกษาและเป็นสมาชิกของชมรมพื้นบ้าล้านนาสโมสรนักศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เนื่องจากคณะผู้จัดทำฟ้อนยองเห็นว่า ทำนองเพลงฝ้ายคำเหมาะสมกับลักษณะของชาวยองคือ รักความสงบ ชอบสันโด นุ่นวลอ่อนหวาน ทำให้มองเห็นภาพพจน์ของชาวยองได้อย่า








































ฟ้อนกลายลาย (อ่านฟ้อนก๋ายลาย)หรือฟ้อนเมืองกลายลาย ชื่อของการฟ้อนแบบนี้ น่าจะหมายถึงฟ้อนพื้นบ้านที่มีการปรับปรุงเปลี่ยนท่าฟ้อนโดยนำลีลาท่าฟ้อนเชิง (ลาย) เข้าไปผสมผสานกับท่าฟ้อนรำ ทั้งนี้เพระ ฟ้อนเมือง หมายถึง การฟ้อนพื้นเมืองล้านนากลายหมายถึงการเปลี่ยนแปลง (ลีลาท่าฟ้อน) และ ลาย มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า เชิง ในที่นี้หมายถึงลีลาการร่ายรำ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวของชาวล้านนา
ประวัติ
ฟ้อนลายได้มีการค้นพบโดยนายสุชาติ กันชัย และนายสนั่นธรรมธิ อดีตสมาชิกของชมรมพื้นบ้านล้านนาสโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อปลายปี พ.ศ. ๒๕๓๑ ที่ บ้านแสนตอง ตำบลสะเมิงใต้ จังหวัดเชียงใหม่
ฟ้อนเมืองลายนี้ ไม่ได้มีหลักฐานอ้างอิงแน่ชัดว่าเป็นฟ้อนของกลุ่มชาวไทลื้อ บ้านแสนตองที่มีมาแต่เดิมหรือไมเท่าที่ทราบกันในบรรดาช่างฟ้อนที่เหลือในปัจจุบัน จึงมีการสันนิฐานกันว่าคงมีมานานกว่า ๑๒๐ ปีมาแล้ว ยุคที่จำความกันได้ก็คือ ยุคแม่หม่อนดี (ไม่ทราบนามสกุล) ซึ่งได้สอนฟ้อนชนิดนี้ให้กับลูกหลานชาวบ้านแสนตองในสมัยนั้น (ปัจจุบันนี้ผู้ที่ฟ้อนเป็นเหลือไม่ถึง ๑๐ คน) คาดว่าฟ้อนดังกล่าวคงมีมาก่อนสมัยแม่หม่อนดี และคงเป็นฟ้อนที่ได้รับการยอมรับกันในสังคมมาก่อนแล้ว ที่สำคัญก็คือ แม่หม่อนดีและเพื่อน ๆ ช่างฟ้อนในยุคนั้นได้เคยไปฟ้อนต้อนรับการเสด็จเลียบมณฑลพายัพของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ มาแล้ว จากรุ่นหม่อนมาจนถึงรุ่นหลานในปัจจุบันนี้ชาวบ้านเหล่าแสนตองยังคงสืบสานฮีตฮอยที่เป็นแก่นแท้ของตนเอง เป็นที่น่าภูมิใจที่ปัจจุบันนี้ยังมีลูกหลานที่ยังสืบทอดตำนานฟ้อน ลาย ที่เป็นลายแท้ ไม่ได้แต่งเติมให้ออกมาสวยตามยุคตามสมัย ในช่วงเวลาที่วัดแสนตองมีงานตอนเย็นๆจะมีเด็กมาซ้อมฟ้อนลาย มีเสียงกลองจากเด็กผู้ชายที่มาเล่นที่วัด มีชาวบ้านที่อยู่ใกล้ๆออกมาดู มาคุยกันตามประสาของคนที่ยึดเอาวัดเป็นศูนย์กลาง ภาพเหล่านี้เรามักไม่ค่อยได้เห็นกันนักในสังคมเมือง แต่ที่นี่ ที่บ้านเหล่าแสนตอง ยังคงรักษาไว้ไม่เสื่อมคลาย สมกับคำพูดที่ว่า " ฮ่อมหนูก่หนูไต่ ฮ่อมไหน่ก๋ไหน่เตียว "
ท่าฟ้อน
การฟ้อนเมืองลาย ในสมัยก่อนไม่ได้มีการกำหนดไว้ตายตัวว่าต้องฟ้อนท่าไหนก่อน หรือท่าไหนหลัง ผู้ฟ้อนแต่ละคนจะฟ้อนท่าไหนก่อนก็ได้ แต่เมื่อจะแลกลาย(ใส่ลีลาลูกเล่น)กับผู้ฟ้อนอื่น ก็อาจเปลี่ยนท่าฟ้อนให้เหมือน ๆ กัน แต่ก็ไม่ได้เคล่งคัดมากนัก ท่าฟ้อนมีดังนี้
1.ไหว้
2.บิดบัวบาน
3.เสือลากหาง
4.ลากลง
5.แทงบ่วง
6.กาตากปีก
7.ใต้ศอก
8.เท้าแอว
9.ยกเข่า
10.ยกแอว
11.เต็กลาย(แลกลาย)
12.เล่นศอก
13.เต็กลายลุกยืน
14.บัวบานกว้าง
ส่วนท่าฟ้อนที่ชมรมพื้นบ้านล้านนา สโมสรสักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ไปสัมภาษณ์จากบุคลากรในท้องถิ่น พบว่ามีทั้งหมด ๒๐ ท่า ท่าฟ้อนบางท่าก็มีชื่อเรียกอยู่ มีหลายท่าที่ศิลปฺนท้องถิ่นลืมชือ จึงเรียกตามลักษณะท่าฟ้อน ซึ่งทางชมรมพื้นบ้านล้านนาได้นำมาตั้งชื่อขึ้นใหม่ให้ใกล้เคียงกับท่าฟ้อน เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจและฝึกซ้อม โดยมีท่าต่าง ๆ ดังนี้
1.ไหว้
2.บิดบัวบาน
3.เสือลากหาง
4.แทงบ่วง
5.กาตากปีก
6.ใต้ศอก
7.ไล่ศอก
8.จีบข้างเอกหมุน
9.บัวบานคว่ำหงาย
10.ยกเอวสูง
11.แลกลาย
12.ใต้ศอก(นั่ง-ยืน)
13.แลกลาย
14.ยกเอวต่ำ
15.บัวบานคว่ำหงาย
16.ม้วนไหม(เข่า)
17.ใต้ศอกนั่ง
18.ตวัดเกล้า
19.ใต้ศอกลุก
20.ไหว้
การแต่งกาย
เนื่องจากฟ้อนเมืองกลายลาย เป็นฟ้อนที่สันนิฐานกันว่ากำเนิดมาจากการฟ้อน อันเกิดมาจากความปีติยินดีของชาวบ้านในโอกาสงานบุญ เช่น ฟ้อนนำขบวนแห่ครัวทาน เข้าวัดในขณะที่แห่ครัวทานผู้ที่ชอบฟ้อนก็จะฟ้อนเต็มที่ ส่วนคนอื่น ๆ ที่ฟ้อนเมืองได้ก็จะถูกขอร้องให้ฟ้อนร่มขบวนด้วย ดังนั้นการแต่งกายแบบชาวบ้านสมัยก่อนจะไม่มีรูปแบบ สวมเสือมาอย่างไรก็ฟ้อนชุดนั้นเลย
ดนตรีประกอบการฟ้อน
ฟ้อนเมืองกลายลายในอดีตนั้นใช้กลองสิ้งมหม้องแห่ประโคมประกอบการฟ้อนนำขบวนครัวทาน บางทีเรียก "แห่มองซิงมอง"บางครั้งก็ใช้กลองกลองตึ่งนง(กลองแอว) ปัจจุบันใช้กลองมองเซิงแห่ประโคใกรฟ้อน ซึ่งเริ่มมาประมาณ ๔๐ ปีมานี้เอง
ปัจจุบันฟ้อนเมืองกลายลายได้เป็นที่ยอมรับและแพร่หลายให้อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งถือเป็นการเผยแพร่ในระดับท้องถิ่นเท่านั้น ยังไม่เป็นที่แพร่หลายกันทั่วไป







http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%8F%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B9%8C

http://www.banramthai.com/html/puenmuang.html
www.openbase.in.th/files/u10/art-culture_chia

calendar

สามารถติดต่อได้

ผู้ติดตาม

About this blog

phung

free counters