ฟ้อนโยคีถวายไฟ เป็นกระบวนฟ้อนชุดหนึ่งที่เกิดขึ้นจากดำริของเจ้าแก้วนวรัฐฯ ซึ่งเป็นเจ้าผู้ครองนครองค์สุดท้ายของเชียงใหม่ เป็นการคิดขึ้นเพื่อเตรียมรับเสด็จฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิจฯ เมื่อปีพ.ศ. 2463 โดยจ้างครูฟ้อนชาวพม่ามาถ่ายทอดให้ แล้วมอบหมายหน้าที่ให้ พ่อเลี้ยงน้อยสม สมุทรนาวี คหบดีชาวเชียงใหม่ดำเนินการทั้งหมด การฟ้อนครั้งแรกคราวนั้นใช้ผู้แสดงเป็นชายทั้งหมดเพราะเพลงที่ใช้ร้องเป็นบทร้องของผู้ชาย และท่าฟ้อนเกือบทั้งหมดจะใช้การเคลื่อนไหว ด้วยการเต้นเป็นส่วนใหญ่ มีการแสดงเพียงครั้งเดียว
ต่อมาประมาณปีพ.ศ. 2477 จังหวัดเชียงใหม่ได้รับเชิญไปร่วมแสดงในงานเผยแพร่ วัฒนธรรมประจำภาคที่ท้องสนามหลวง กรุงเทพมหานคร เจ้าแก้วนวรัฐฯ จึงได้ฟื้นฟูการแสดงชุดนี้ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง โดยมอบหมายให้พ่อเลี้ยงน้อยสมเป็นผู้จัดการเช่นเดิม พ่อเลี้ยงน้อยสมได้มอบหมายให้ นางทวีลักษณ์ สามะบุตร หลานสาวเป็นผู้ฝึกหัดช่างฟ้อนชุดใหม่โดยเปลี่ยนเป็น “หญิง” ทั้งหมด เพราะนางเป็นคนหนึ่งที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากครูพม่าคนแรก จุดประสงค์ครั้งแรกของพ่อเลี้ยงน้อยสม สมุทรนาวี (เดิมชื่อ อูลานดู่) ต้องการให้บุตรหลานแสดงต้อนรับกรมพระนครสวรรค์ฯ แต่แม่เลี้ยงบุญปั๋น ผู้เป็นภรรยาไม่ยอมให้บุตรหลานสาวๆ ออกแสดงฟ้อนโยคีถวายไฟ โดยช่างฟ้อนหญิงนี้ เคยจัดให้มีขึ้นอีกก่อนไปแสดงที่กรุงเทพฯ ในงานประจำปีที่โรงเรียนดาราวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2475 ทางโรงเรียนทูลเชิญพระราชชายาฯ เสด็จไปเป็นประธานฯ ทรงทอดพระเนตรชุดนี้ด้วย และทรงพอพระทัยจึงเรียกนางทวีลักษณ์ไปสอนให้ตัวละครของพระองค์ อันได้แก่ นางสมพันธ์ โชตนา นางขิมทอง ณ เชียงใหม่ นางยุพดี สุขเกษม นางอัญชัน ปิ่นทอง นางนวลฉวี เสนาคำ นางสมหมาย ยุกตยุตร นางสมพร สุรจินดา เป็นเหตุให้แพร่หลายมาจนทุกวันนี้
ลักษณะ
การแต่งกายของผู้แสดงชุดนี้ แต่งเป็นชายพม่า โพกผ้า นุ่งโสร่งป้าย (ข้าง) หน้า มือถือไม้เท้า ใช้วงปี่พาทย์บรรเลงประกอบการฟ้อน แต่ไม่มีการร้อง และมักจัดผู้แสดงฟ้อนเป็นคู่ จัดรูปการแสดงแบบปกติ คือ คู่หน้าหรือคู่ที่หนึ่ง อยู่หน้าสุดติดขอบเวที คู่ที่สอง แสดงอยู่ต่ำลงมา ผู้แสดงทั้งสองจะยืน (ระยะ) แคบลงมา คู่ที่สาม แสดงอยู่ต่ำกว่าคู่ที่สอง ยืนแสดงแคบกว่าคู่ที่สอง ในวงการนักแสดงนักวิชาการนาฏศิลป์ เรียกว่า “ยืนเป็นรูปปาก (ปลา) ฉลาม” ท่ารำส่วนมากเป็นการเต้นตามจังหวะเพลงมากกว่ารำ
การฟ้อนโยคีถวายไฟดังกล่าว จะเห็นได้ว่าก่อนนั้นเป็นการแสดงเชิงนาฏศิลป์ทั่วไป ภายหลังพบว่ามีการนำไปแสดงหน้าเมรุก่อนมีการเผาศพ ด้วยเห็นว่ามีคำว่า “ถวายไฟ” และได้เห็นตัวอย่างจากการแสดงโขนหน้าไฟของภาคกลางด้วย
ปัจจุบันฟ้อนชนิดนี้หาดูได้ยาก อาจเป็นเพราะคิดกันไปว่าเป็นการแสดงหน้าศพซึ่งเป็นงานอวมงคล จึงเป็นสาเหตุให้ลดความนิยมลงไป
ต่อมาพ่อครูโม ใจสม ชาวมอญพระประแดงซึ่งเป็นนักดนตรีนาฏศิป์ไทยจากเชียงใหม่ ได้อพยพไปอยู่ในละแวกเดียวกันด้วย ซึ่งพ่อครูโมก็ได้ช่วยฟื้นฟู "วงกลองเต่งถิ้ง" ของวัด สอนนาฏศิลป์ และดนตรีไทยจนมีนักดนตรีไทยฝีมือดีหลายคน ในช่วงเวลานั้นแม่ครูบัวเรียวได้ฝึกนาฏศิลป์กับพ่อครูโมด้วย เมื่อมีงานฉลองในวัดที่เกี่ยวข้องกับวัดศรีทรายมูลแล้ว เจ้าอาวาสและคณะศรัทธาก็มักจะนำดนตรีและช่างฟ้อนมาร่วมในงาน ซึ่งแม่ครูบัวเรียวก็ได้ไปร่วมฟ้อนด้วย โดยเพาะแม่ครูมักจะฟ้อนสาวไหมเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งแม่ครูได้ดัดแปลงลีลาการฟ้อนสาวไหมเชิงต่อสู้แบบชายให้เข้ากับบุคลิกของสตรี คือให้อ่อนช้อยงดงามและให้ลงจังหวะดนตรี แบบนาฏศิลป์ไทย ขณะเดียวกันดนตรีประกอบการฟ้อนแต่เดิมใช้ดนตรีพื้นเมืองประเภทใดก็ได้นั้น ก็เริ่มใช้วงกลองเต่งถิ้ง บรรเลงเพลงพื้นเมือง เช่น ปราสาทไหว และฤๅษีหลงถ้ำ ซึ่งต่อมาเห้นว่าไม่กระชับ จึงเลือกใช้เพลง"สาวไหม" แทนซึ่งเพลงนี้ ท่านผู้รู้บางท่าน ก็ว่าเป็นเพลงที่พ่อครูโมดัดแปลงจากเพลง"ลาวสมเด็จ"เพื่อใชประกอบการฟ้อนสาวไหม
แต่ถึงกระนั้นการฟ้อนแบบต้นฉบับของแม่ครูบัวเรียวยังเป็นที่นิยมถ่ายทอดแก่ลูกศิษย์อยู่อย่างต่อเนื่อง
ท่าฟ้อนต้นฉบับแม่ครูบัวเรียว
โดยท่าฟ้อนของแม่ครูบัวเรียวที่เป็นมาตรฐาน มี ๑๖ ท่าฟ้อน ดังนี้
1.ไหว้ (เทพนม)
2.บิดบัวบาน
3.พญาครุฑบิน
4.สาวไหมช่วงยาว
5.ม้วนไหมซ้าย
6.ม้วนไหมขวา
7.ตากฝ้าย (เป็นท่าใหม่ที่แม่ครูบัวเรียว ได้เพิ่มเติม ประมาณปี พ.ศ. ๒๕๔๔)
8.ม้วนไหมใต้เข่า
9.ม้วนไหมใต้ศอก
10.พุ่งหลอดไหม
11.สาวไหมรอบตัว
12.คลี่ปมไหม
13.ปูเป็นผืนผ้า
14.พับผ้า
15.พญาครุฑบิน
16.ไหว้ ตอนจบ
(เพิ่มและเปลี่ยนแปลงท่าฟ้อนที่ ๑,๗,๑๒,๑๓,๑๔,๑๕,๑๖ โดยนายรัตนะ ตาแปง)
ท่าฟ้อนของแม่ครูพลอยศรี
โดยท่าฟ้อนของแม่ครูพลอยศรี มี ๒๑ ท่าฟ้อนดังนี้
1.ไหว้
2.บิดบัวบาน
3.บังสุริยา
4.ม้วนไหมศอซ้าย
5.ม้วนไหมศอกขวา
6.ม้วนไหมซ้ายล่าง
7.ม้วนไหมขวาล่าง
8.สาวไหมกับเข่าซ้าย
9.ม้วนไหมวงศอก
10.สาวไหมช่วงสั้นรอบตัว
11.ว้นไหมซ้าย
12.สาวไหมช่วงยาวรอบตัว
13.คลี่ปมไหม
14.พุ่งกระสวยเล็ก
15.สาวขึ้นข้างหน้า
16.ขึงไหมข้างหน้า
17.ม้วนไหมเป็นขดโดยใช้ศอกซ้าย
18.ม้วนไหมเป็นขดโดยใช้ศอกขวา
19.สาวรอบตัวอีกครั้ง
20.เอามาม้วนใต้ศอกซ้ายอีก
21.ไหว้
เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
การฟ้อนสาวไหมนี้ เป็นท่าหนึ่งของเชิงสาวไหมที่มักเรียกกันในภายหลังว่า "สาวไหมลายเจิง" แม่ครูบัวเรียวได้เล่าว่าเมื่อครั้งเล็ก พ่อครูกุยได้สอนเชิงสาวไหมให้กับหนุ่มๆ ในละแวกบ้าน และได้ปรับเอาท่าสาวไหมในเชิงนั้นมาคิดประดิษฐ์เป็นฟ้อนสำหรับผู้หญิง โดยนำไปผสมผสานกับวิถีชีวิตของชาวบ้านที่ปลูกฝ้ายเพื่อนำมาทอผ้า จึงได้นำวิถีชีวิต กระบวนการทอผ้ามาผสมผสานกับเชิงสาวไหมจนกลายเป็น "ฟ้อนสาวไหม" ให้กับลูกสาวคือแม่ครูบัวเรียวนั่นเอง
แต่ปัจจุบันนี้ มีผู้เข้าใจผิดคิดว่าการฟ้อนสาวไหมนั้น 'ประดิษฐ์มาจากการปลูกหม่อน เลี้ยงไหม เพื่อนำมาทอเป็นผ้าไหม' อยู่มากมายรวมไปถึงวิทยาลัยนาฏศิลป์เชียงใหม่ที่ได้นำการฟ้อนสาวไหมมาปรับปรุงด้วยเช่นกัน อาจจะเป็นเพราะความไม่เข้าใจในภาษาล้านนาอย่างลึกซึ้ง จึงตีความว่าเป็นการฟ้อนที่เลียนแบบการทอผ้าไหม ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว คำว่า "ไหม" ในภาษาล้านนา หมายถึงเส้นด้าย รวมถึงสิ่งที่มีลักษณะเป็นเส้นเล็กบาง เช่น ฝ้ายไหมมือ ก็คือเส้นด้ายที่ใช้ผูกข้อมือให้ศีลให้พร เป็นต้น
หลักฐานที่สนับสนุนว่าการฟ้อนสาวไหม หมายถึงการฟ้อนที่ประดิษฐ์มาจากกระบวนการทอผ้าฝ้ายไม่ใช่ผ้าไหม ก็คือ สภาพความเป็นอยู่ การปลูกต้นฝ้ายเพื่อใช้ทอเป็นผ้าฝ้ายของชาวล้านนาตั้งแต่อดีตนั่นเอง ในล้านนามีการเลี้ยงไหมอยู่น้อยมากจนไม่อาจจะเรียกได้ว่าการปลูกหม่อน เลี้ยงไหมเป็นวัฒนธรรมของล้านนา
อีกทั้งได้สอบถามยังครูเชิงหลายท่าน ทุกท่านต่างยืนยันว่าท่าสาวไหมในเชิงของล้านนา ไม่ได้หมายถึงการสาวเส้นไหมอย่างแน่นอน
แม่ครูบัวเรียว รัตนมณีภรณ์ ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมในชื่อของฟ้อนสาวไหมว่า พ่ออุ้ยกุย สุภาวสิทธิ์ เห็นว่าคำว่าฟ้อนสาวไหม มีรูปภาษาที่สวยงามกว่าคำว่า ฟ้อนสาวฝ้าย ดังนั้นจึงเห็นว่าควรใช้ สาวไหม จะมีความงามทางด้านภาษามากกว่า
ฟ้อนยอง เป็นฟ้อนที่ประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่เมื่อพ.ศ. 2534 โดยโครงการอนุรักษ์และเผยแพร่วัฒนธรรมท้องถิ่น (ฟ้อนยอง) ซึ่งเป็นกิจกรรมหนี่งในโครงการโรงเรียมัธยมศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม(มพชส.)ของโรงเรียนวชิรป่าซางร่วมกับสภาตำบลนครเจดีย์ และกรรมการนำสตรีตำบลนครเจดีย์ อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมของชาวยอง เนื่องจากพื้อนที่อำเภอป่าซางประชากรส่วนใหญ่มีเชื้อสายยองหรือเรียกว่า "คนยอง" ซึ่งมีประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของตนสืบทอดกันมาช้านานดังนั้นจึงสร้างรูปแบบทางวัฒนธรรมของชาวยองขึ้นมาในรูปของการฟ้อนรำ เพื่อเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวทางวัฒนธรรมร่วมกันของชาวยองและเผยแพร่ให้ปรากฏแก่คนทั่วไป
การแต่งกาย
ผู้ฟ้อนจะแต่งกายแบบกุลสตรีชาวยอง โดยสวมเสื้อแบบปกป้าย ผูกมัดชายข้างคล้ายเสื้อของชาวจีนในมณฑลยูนาน ประเทศจีน นุ่งผ้าซิ่นลายน้ำไหล ต่อชายซิ่นสีเขียว โพกผ้าขาวเคียนรอบศีรษะ เกล้าผมมวย และประดับด้วยเครื่องเงิน
ท่าฟ้อน
ท่าฟ้อนยองประกอบด้วยท่าต่าง ๆ15 ท่า ซึ่งมีชื่อเรียกในภาษายองและชื่อแปลเป็นไทยกลางดังนี้
ภาษายอง
1.ผะกาศักดิ์ศรี
2.แม่ยิงจาวยอง
3.จ๋าฮีตยิ่งใหญ่
4.สิบสองปันนา
5.ฮักสาจ๋าฮีต
6.อิ่นดูขุนนา
7.จ๋าฮีตดีแต้
8.หั่กปี่หั่กน้อง
9.จาวยองหั่กกั๋น
10.น้ำใจ๋ใยดี
11.ป้อมเปงฮงหน้า
12.ไหว้สาพระธาตุ
13.หั่กสาความจิ่ง
14.ความดีตี่ปึ่ง
15.ยอบเข่าไหว้สา
ภาษาไทยกลาง
1.(ประกาศศักดิ์ศรี)
2.(สตรีชาวยอง)
3.(ผุดผ่องวัฒนธรรม)
4.(ล้ำเลิศบรรพบุรุษ)
5.(สูงสุดประเพณี)
6.(เอื้ออารีมาแท้)
7.(เผยแพร่วัฒนธรรม)
8.(รักล้ำพี่น้อง)
9.(ชาวยองสามัคคี)
10.(ไมตรีเป็นเลิศ)
11.(ประเสริฐงานบุญ)
12.(เพิ่มพูนกุศล)
13.(ผู้คนรักษาสัตย์)
14.(ปฏิบัติความดี)
15.(อัญชลีกราบไหว้)
เพลงบรรเลงประกอบการฟ้อน
ใช้เพลง "ฝ้ายคำ" ซึ่งแต่งโดยนายสุชาติ กันชัย เมื่องครั้งยังเป็นนักศึกษาและเป็นสมาชิกของชมรมพื้นบ้าล้านนาสโมสรนักศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เนื่องจากคณะผู้จัดทำฟ้อนยองเห็นว่า ทำนองเพลงฝ้ายคำเหมาะสมกับลักษณะของชาวยองคือ รักความสงบ ชอบสันโด นุ่นวลอ่อนหวาน ทำให้มองเห็นภาพพจน์ของชาวยองได้อย่า
ฟ้อนกลายลาย (อ่านฟ้อนก๋ายลาย)หรือฟ้อนเมืองกลายลาย ชื่อของการฟ้อนแบบนี้ น่าจะหมายถึงฟ้อนพื้นบ้านที่มีการปรับปรุงเปลี่ยนท่าฟ้อนโดยนำลีลาท่าฟ้อนเชิง (ลาย) เข้าไปผสมผสานกับท่าฟ้อนรำ ทั้งนี้เพระ ฟ้อนเมือง หมายถึง การฟ้อนพื้นเมืองล้านนากลายหมายถึงการเปลี่ยนแปลง (ลีลาท่าฟ้อน) และ ลาย มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า เชิง ในที่นี้หมายถึงลีลาการร่ายรำ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวของชาวล้านนา
ฟ้อนลายได้มีการค้นพบโดยนายสุชาติ กันชัย และนายสนั่นธรรมธิ อดีตสมาชิกของชมรมพื้นบ้านล้านนาสโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อปลายปี พ.ศ. ๒๕๓๑ ที่ บ้านแสนตอง ตำบลสะเมิงใต้ จังหวัดเชียงใหม่
ฟ้อนเมืองลายนี้ ไม่ได้มีหลักฐานอ้างอิงแน่ชัดว่าเป็นฟ้อนของกลุ่มชาวไทลื้อ บ้านแสนตองที่มีมาแต่เดิมหรือไมเท่าที่ทราบกันในบรรดาช่างฟ้อนที่เหลือในปัจจุบัน จึงมีการสันนิฐานกันว่าคงมีมานานกว่า ๑๒๐ ปีมาแล้ว ยุคที่จำความกันได้ก็คือ ยุคแม่หม่อนดี (ไม่ทราบนามสกุล) ซึ่งได้สอนฟ้อนชนิดนี้ให้กับลูกหลานชาวบ้านแสนตองในสมัยนั้น (ปัจจุบันนี้ผู้ที่ฟ้อนเป็นเหลือไม่ถึง ๑๐ คน) คาดว่าฟ้อนดังกล่าวคงมีมาก่อนสมัยแม่หม่อนดี และคงเป็นฟ้อนที่ได้รับการยอมรับกันในสังคมมาก่อนแล้ว ที่สำคัญก็คือ แม่หม่อนดีและเพื่อน ๆ ช่างฟ้อนในยุคนั้นได้เคยไปฟ้อนต้อนรับการเสด็จเลียบมณฑลพายัพของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ มาแล้ว จากรุ่นหม่อนมาจนถึงรุ่นหลานในปัจจุบันนี้ชาวบ้านเหล่าแสนตองยังคงสืบสานฮีตฮอยที่เป็นแก่นแท้ของตนเอง เป็นที่น่าภูมิใจที่ปัจจุบันนี้ยังมีลูกหลานที่ยังสืบทอดตำนานฟ้อน ลาย ที่เป็นลายแท้ ไม่ได้แต่งเติมให้ออกมาสวยตามยุคตามสมัย ในช่วงเวลาที่วัดแสนตองมีงานตอนเย็นๆจะมีเด็กมาซ้อมฟ้อนลาย มีเสียงกลองจากเด็กผู้ชายที่มาเล่นที่วัด มีชาวบ้านที่อยู่ใกล้ๆออกมาดู มาคุยกันตามประสาของคนที่ยึดเอาวัดเป็นศูนย์กลาง ภาพเหล่านี้เรามักไม่ค่อยได้เห็นกันนักในสังคมเมือง แต่ที่นี่ ที่บ้านเหล่าแสนตอง ยังคงรักษาไว้ไม่เสื่อมคลาย สมกับคำพูดที่ว่า " ฮ่อมหนูก่หนูไต่ ฮ่อมไหน่ก๋ไหน่เตียว "
ท่าฟ้อน
การฟ้อนเมืองลาย ในสมัยก่อนไม่ได้มีการกำหนดไว้ตายตัวว่าต้องฟ้อนท่าไหนก่อน หรือท่าไหนหลัง ผู้ฟ้อนแต่ละคนจะฟ้อนท่าไหนก่อนก็ได้ แต่เมื่อจะแลกลาย(ใส่ลีลาลูกเล่น)กับผู้ฟ้อนอื่น ก็อาจเปลี่ยนท่าฟ้อนให้เหมือน ๆ กัน แต่ก็ไม่ได้เคล่งคัดมากนัก ท่าฟ้อนมีดังนี้
1.ไหว้
2.บิดบัวบาน
3.เสือลากหาง
4.ลากลง
5.แทงบ่วง
6.กาตากปีก
7.ใต้ศอก
8.เท้าแอว
9.ยกเข่า
10.ยกแอว
11.เต็กลาย(แลกลาย)
12.เล่นศอก
13.เต็กลายลุกยืน
14.บัวบานกว้าง
ส่วนท่าฟ้อนที่ชมรมพื้นบ้านล้านนา สโมสรสักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ไปสัมภาษณ์จากบุคลากรในท้องถิ่น พบว่ามีทั้งหมด ๒๐ ท่า ท่าฟ้อนบางท่าก็มีชื่อเรียกอยู่ มีหลายท่าที่ศิลปฺนท้องถิ่นลืมชือ จึงเรียกตามลักษณะท่าฟ้อน ซึ่งทางชมรมพื้นบ้านล้านนาได้นำมาตั้งชื่อขึ้นใหม่ให้ใกล้เคียงกับท่าฟ้อน เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจและฝึกซ้อม โดยมีท่าต่าง ๆ ดังนี้
1.ไหว้
2.บิดบัวบาน
3.เสือลากหาง
4.แทงบ่วง
5.กาตากปีก
6.ใต้ศอก
7.ไล่ศอก
8.จีบข้างเอกหมุน
9.บัวบานคว่ำหงาย
10.ยกเอวสูง
11.แลกลาย
12.ใต้ศอก(นั่ง-ยืน)
13.แลกลาย
14.ยกเอวต่ำ
15.บัวบานคว่ำหงาย
16.ม้วนไหม(เข่า)
17.ใต้ศอกนั่ง
18.ตวัดเกล้า
19.ใต้ศอกลุก
20.ไหว้
เนื่องจากฟ้อนเมืองกลายลาย เป็นฟ้อนที่สันนิฐานกันว่ากำเนิดมาจากการฟ้อน อันเกิดมาจากความปีติยินดีของชาวบ้านในโอกาสงานบุญ เช่น ฟ้อนนำขบวนแห่ครัวทาน เข้าวัดในขณะที่แห่ครัวทานผู้ที่ชอบฟ้อนก็จะฟ้อนเต็มที่ ส่วนคนอื่น ๆ ที่ฟ้อนเมืองได้ก็จะถูกขอร้องให้ฟ้อนร่มขบวนด้วย ดังนั้นการแต่งกายแบบชาวบ้านสมัยก่อนจะไม่มีรูปแบบ สวมเสือมาอย่างไรก็ฟ้อนชุดนั้นเลย
ดนตรีประกอบการฟ้อน
ฟ้อนเมืองกลายลายในอดีตนั้นใช้กลองสิ้งมหม้องแห่ประโคมประกอบการฟ้อนนำขบวนครัวทาน บางทีเรียก "แห่มองซิงมอง"บางครั้งก็ใช้กลองกลองตึ่งนง(กลองแอว) ปัจจุบันใช้กลองมองเซิงแห่ประโคใกรฟ้อน ซึ่งเริ่มมาประมาณ ๔๐ ปีมานี้เอง
ปัจจุบันฟ้อนเมืองกลายลายได้เป็นที่ยอมรับและแพร่หลายให้อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งถือเป็นการเผยแพร่ในระดับท้องถิ่นเท่านั้น ยังไม่เป็นที่แพร่หลายกันทั่วไป
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%8F%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B9%8C
http://www.banramthai.com/html/puenmuang.html
www.openbase.in.th/files/u10/art-culture_chia
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น